krusunsanee


เพลงพื้นบ้าน
                                                     เพลงพื้นบ้าน

        
เป็นร้อยกรองที่นำมาจัดจังหวะของคำ และใส่ทำนองเพื่อ ขับร้องในท้องถิ่นสืบทอดต่อกันมาด้วยวิธีจดจำ
         ที่มาของ เพลงพื้นบ้าน เกิดจากนิสัยชอบบทกลอน หรือทีเรียกว่า “ความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน” ของคนไทยในท้องถิ่นต่างๆ ที่เรียงร้อยถ้อยคำมีสัมผัสคล้องจอง และประดิษฐ์ทำนองที่ ร้องง่ายแล้วนำมาร้องเล่นในยามว่าง หรือระหว่างทำงาน ร่วมกัน เช่น ลงแขกเกี่ยวข้าว นวดข้าว เพื่อผ่อนคลายความ เหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน เพื่อความสนุกสนาน และเพื่อความสามัคคีในกลุ่มชน
        การใช้ถ้อยคำในเพลง พื้นบ้านนั้น มีลักษณะตรงไปตรงมา นิยมใช้ภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน บางครั้งก็แฝงนัยให้คิดในเชิง สองแง่สองง่าม บางเพลงก็ร้องซ้ำไปมาชวนให้ขับขัน เพลงพื้นบ้าน จึงเป็นเพลงที่ชาวบ้านร้องเล่น เพื่อความสนุกสนานบันเทิงใจ และเพื่อผ่อน คลายความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน รวมทั้งเพื่อรวมกลุ่มกันประกอบการงานและพิธีกรรม
        ที่มาของเพลงพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้านของไทยถ่ายทอด โดยทางมุขปาฐะ จำต่อๆ กันมาหลายชั่วอายุคน เชื่อกันว่า มีกำเนิด ก่อนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ต่อ มาค่อยมีชื่อ เสียง มีแบบสัมผัสคล้องจอง ท่วงทำนองไป ตามภาษาถิ่นนั้นๆ ใน การขับร้องเพื่อความบันเทิงต่างๆ จะมีจังหวะดนตรีท้องถิ่น (Folk music) เข้ามา และมีการร้อง รำทำเพลงไปด้วยจึงเกิดเป็นระบำชาวบ้าน (Folk dance) ใช้ร้องรำในงานบันเทิงต่างๆ มีงานลงแขกเกี่ยวข้าว ตรุษสงกรานต์ ฯลฯ ในสมัยอยุธยา มีการกล่าวถึงเพลงพื้น บ้านอยู่ 2 ประการ คือ เพลงเรือ และเพลงเทพทอง ต่อมาใน สมัยรัตนโกสินทร์ เป็นสมัยที่มีหลักฐานเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านชนิดต่าง มากที่สุด ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 เป็น “ยุคทอง” ของเพลงพื้นบ้านที่เป็นเพลงปฏิพากย์ (ร้อง โต้ตอบกัน) เช่น เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงส่งเครื่อง หรือเพลงทรงเครื่อง หลังสมัย รัชกาลที่ 5 อิทธิ พลวัฒนธรรมตะวันตกทำให้เกิดเพลงไทยสากลขึ้น เพลงพื้นบ้านจึงเริ่มหมดความนิยมลงทีละน้อยๆ ปัจจุบันเพลงพื้นบ้าน ได้รับการฟื้นฟูบ้าง จากหน่วยงานที่เห็นคุณค่า แต่ก็เป็นไปในรูปของการอนุรักษ์ไว้ เท่านั้น ปัญหาเนื่องมาจากขาดผู้สนใจสืบทอด เพลงพื้นบ้านจึงเสื่อมสูญไปพร้อมๆ กับผู้เล่น เมื่อพิจารณาเพลงพื้นบ้านของไทยที่ร้องเล่นเพื่อความสนุกนานในเทศกาลแล้วอาจสรุปได้ว่า ในระยะแรกเพลงพื้นบ้านนั้น ๆ คงเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเพื่อความเจริญงอกงาม ต่อมาเมื่อ ความเชื่อของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป ความเข้าใจต่อความหมายดั้งเดิมก็แปรเปลี่ยนเป็น เพลงที่ร้องเล่นสนุกตามประเพณีแต่เพียงอย่างเดียวลักษณะการร้องเล่นเป็นกลุ่มหรือเป็นวง เพลงในลานนวดข้าว เพลงที่ร้องเล่น ในเทศกาลสงกรานต์ เทศกาลออกพรรษา เพลงเจรียงที่ร้องในงานบุญของชาวสุรินทร์ ล้วนเป็นเพลงที่ เกิดจากการรวมกลุ่มชายหญิง เพื่อประโยชน์ในการทำงาน และแสวงหาความสนุกเพลิดเพลินร่วมกัน

         เพลงพื้นบ้านโดยทั่วไปนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แบ่งประเภทได้ดังนี้ คือแบ่งตามผู้เล่นได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
          1.เพลงเด็ก การเล่น เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งในกลุ่มชน จะแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม และเมื่อ มีการเล่นเกิดขึ้นก็มักมีบทเพลงประกอบการเล่นด้วย เพลงที่ร้องก็ง่าย ๆ สั้น ๆ สนุกสนาน เช่น รี รี ข้าว สาร, มอญซ่อนผ้า, จ้ำจี้มะเขือเปราะ , แมงมุมขยุ้มหลังคา เพลงเด็ก จำแนกย่อย ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
             เพลงร้องเล่น เช่น โยกเยกเอย, ฝนตกแดดออก นกกระจอกเข้ารัง
             เพลงหยอกล้อ เช่น ผมจุก, ผมม้า, ผมเปีย, ผมแกละ
             เพลงขู่ ปลอบ เช่น แม่ใครมา น้ำตาใครไหล, จันทร์เจ้าขา, แต่ช้าแต่ เขาแห่ยายมา
             เพลงประกอบการเล่น เช่น จ้ำจี้มะเขือเปราะ, รี รี ข้าวสาร, มอญซ่อนผ้า

          2. เพลงผู้ใหญ่ เพลงผู้ใหญ่มีหลายประเภทดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น นอกจากจะให้ความสนุกสนาน บันเทิงใจแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสามัคคีร่วมใจกันทำสิ่งต่าง ๆ ของสังคมไทย สภาพวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ ไว้อย่างน่าศึกษาอีกด้วย เช่น เพลงกล่อมเด็กจะเห็นความรักความผูกพันธ์ใน ครอบครัว ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ตำนาน นิทาน ประวัติศาสตร์ ตลอดจนจินตนาการความรู้สึกนึกคิดของ มนุษย์ เนื่องจากความหลากหลายในเพลงกล่อมเด็ก จึงเป็นเพลงที่มีคุณค่าแก่การรักษาไว้เป็นอย่างยิ่ง
           เพลงผู้ใหญ่ แบ่งเป็น 6 ประเภท คือ
            เพลงกล่อมเด็ก เช่น กาเหว่าเอย, พ่อเนื้อเย็น
            เพลงปฏิพากย์ เช่น เพลงฉ่อย, เพลงรำวงซึ่งเพลงปฏิพากย์นี้ต่อมาวิวัฒนาการมาเป็นเพลงลูกทุ่งนั่นเอง
           เพลงประกอบการเล่น เช่น รำโทน (ต่อมาคือรำวง), ลูกช่วง, เข้าผี, มอญซ่อนผ้า
           เพลงประกอบพิธี เช่น ทำขวัญนาค, แห่นาค, ทำขวัญจุก, แห่นางแมว
           เพลงเกี่ยวกับอาชีพ เต้นกำรำเคียว
  ลักษณะพิเศษของเพลงพื้นบ้านคือ เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะที่เล่าสืบต่อกันมา ปากต่อปากอาศัยการฟังและการจด จำ ไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่สามารถจะสืบค้นหาตัวผู้แต่งที่แน่นอนได้ และมีลักษณะของความเป็นพื้นบ้าน พื้นเมือง ข้อที่น่าสังเกตก็คือ ไม่ว่าเพลงพื้นบ้านจะสืบทอดมาตาม ประเพณี มุขปาฐะดังกล่าวข้างต้น แต่ไม่ได้หมายความว่า เพลงทุกเพลงจะมีต้นกำเนิดโดยชาวบ้านหรือ การ ร้องปากเปล่าเท่านั้น ชาวบ้านอาจได้รับเพลงบางเพลงมาจากชาวเมือง แต่เมื่อผ่านการถ่ายทอดโดยการร้องปากเปล่า และการท่องจำนานๆ เข้าก็กลายเป็นเพลงชาวบ้านไป

   คุณค่าของเพลงพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้านเป็นสมบัติของสังคมที่ได้สะสมต่อเนื่องกันมานานจึง เป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของคนไทย และมีคุณค่าต่อสังคมอย่างยิ่ง
         ๑.๑ ให้ความบันเทิง เพลงพื้นบ้านมีคุณค่าให้ความบันเทิงใจแก่คนในสังคมตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะในสมัยที่ยังไม่มีเครื่องบันเทิงใจมากมายเช่น ปัจจุบันนี้เพลงพื้นบ้านเป็นสิ่งบันเทิงชนิดหนึ่ง ซึ่งให้ความสุขและความรื่นรมย์แก่คนในสังคม ในฐานะที่เป็นการละเล่นพื้นบ้านของหนุ่ม สาว และในฐานะ เป็นส่วนสำคัญของพิธีกรรมต่าง ๆ เพลงพื้นบ้านจึงจัดเป็นสิ่งบันเทิงที่เป็นส่วนหนึ่งใน วิถีชีวิตของชาวบ้าน
        ๑.๒ ให้การศึกษา เพลงพื้นบ้านเป็นงานสร้างสรรค์ที่ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของกลุ่มชน จึงเป็น เสมือนสิ่งที่บันทึกประสบการณ์ของบรรพบุรุษที่ส่งทอดต่อมาให้แก่ลูกหลาน เพลงพื้นบ้านจึงทำหน้าที่บันทึกความรู้และภูมิปัญญาของกลุ่มชนในท้องถิ่นมิให้สูญหาย ขณะเดียวกันก็มีคุณค่าในการเสริมสร้าง ปัญญาให้แก่ชุมชนด้วยการให้การศึกษาแก่คนในสังคมทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อมการ ให้การศึกษาโดยทางตรง หมายถึงการให้ความรู้และการสั่งสอนอย่างตรงไปตรงมาทั้ง ความรู้ ทาง โลกและความรู้ทางธรรมเช่น ธรรมชาติ ความ เป็นมาของโลกและมนุษย์ การดำเนินชีวิตบทบาท หน้าที่ ในสังคม วัฒนธรรมประเพณี วรรณกรรมกีฬาพื้นบ้านคติธรรม เป็นต้น การให้การศึกษาโดยทางอ้อม หมายถึงการอบรมสั่งสอนในลักษณะของการแนะให้คิด หรือให้แง่คิด ในเรื่องต่าง ๆ โดยสอดแทรกคำสอนทางศาสนา ค่านิยมและกฎเกณฑ์ของสังคมที่ควรปฏิบัติไว้ในบท เพลงนอก จากมีคุณค่าให้ความบันเทิงที่มีอยู่เป็นหลักแล้ว ยังมีคุณค่าในการเป็น ทางระบายความเก็บกดและการจรรโลงวัฒนธรรมของชาติ ตลอด จนมีคุณค่าในฐานะเป็นสื่อมวลชนที่ทำหน้าที่กระจายข่าวสาร และ วิพากษ์ วิจารณ์สังคม

         เพลงพื้นบ้านจึงมิใช่จะมีคุณค่าเฉพาะการสร้าง ความสนุกสนานเพลิดเพลินใจเท่านั้น แต่ยัง สร้างภูมิปัญญาให้แก่คน ไทยด้วยในอดีตชาวบ้านส่วนใหญ่มีปัญหาความยากจน ด้อยการศึกษาและอยู่ ห่างไกลความเจริญ สื่อมวลชนบางประเภท เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ ไม่สามารถเข้าถึงได้ ง่าย เพลงพื้นบ้านจึงมีบทบาทในการกระจายข่าวสาร และเสนอความคิดเห็นต่าง ๆ ดังที่ สุธิวงศ์ พงศ์ ไพบูลย์ กล่าวว่าสมัยก่อนยังไม่มีเครื่องมือสื่อสารมวลชน (mass media) ชาวบ้าน ใช้วัฒนธรรมพื้นบ้าน ประเภทที่ใช้ภาษา (verbal) และประเภทประสมประสาน (mixes) เป็นเครื่องสื่อ สารแทน ดังเช่นเพลง กล่อมเด็กภาคใต้ ให้ความรู้และความคิดในลักษณะการชี้แนะแนวทางหรือการ แสดงทรรศนะแก่มวลชน (mass) หรือชาวบ้าน(folk)สุกัญญา ภัทราชัยกล่าวถึงบทบาทประการหนึ่งของเพลงพื้นบ้านว่าเป็นสื่อ มวลชนกระจายข่าวสารในสังคมจากชาวบ้านไปสู่ชาวบ้าน และจากรัฐบาลไปยังประชาชน นอกจากนี้ เพลงพื้นบ้านยังแสดงถึงทรรศนะของชาวบ้านที่มีต่อเหตุ การณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองด้วย
      แหล่งที่มาhttp://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/thai03/10/contents/folkmusic13.html http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/thai03/10/contents/folkmusic3.html ศันสนีย์ อรุณสินประเสริฐ อ่านและสรุป

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.006070 sec.