krusunsanee


สำนวนไทย
สำนวนไทย
 ความหมายของสำนวน
         สำนวน หมายถึง สำนวน หรือถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นเป็น โวหาร บางทีก็ใช้ว่า สำนวนโวหาร คำพูดของมนุษย์เราไม่ว่าจะชาติใดหรือภาษาใด แยกออกได้กว้างๆ เป็น 2 อย่าง
          อย่างหนึ่งพูดตรงไปตรงมาตามภาษาธรรมดา พอพูดออกมาก็เข้าใจกันได้ทันที
          อีกอย่างหนึ่งพูดเป็นชั้นเชิงไม่ตรงไปตรงมา แต่ให้มีความหมายในคำพูดนั้นๆ ผู้ฟังอาจเข้าใจความหมายทันที หรืออาจจะไม่เข้าใจความหมายโดยทันที ต้องคิดจึงจะเข้าใจ หรือบางทีคิดแล้วเข้าใจอย่างอื่นก็ได้ หรือไม่เข้าใจเลยก็ได้ คำพูดเป็นชั้นเชิงนี้ เราเรียกกันว่า สำนวน คือ คำพูดเป็นสำนวน ชาวบ้านจะเรียกว่า พูดสำบัดสำนวน สำนวนอาจมีความหมายดังต่อไปนี้
          สำนวน คือ “โวหาร ถ้อยคำที่เป็นข้อความพิเศษ คือ มีขั้นเชิงของความหมายให้ขบคิด
           ” สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมาย เป็นอย่างอื่น คือ เป็นชั้นเชิงชวนให้คิด ซึ่งอาจเป็นไปในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม และอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไทยอย่างเด่นชัด
         สำนวน หมายถึง ถ้อยคำในภาษาไทยที่ใช้ในการพูดจาสื่อสารกัน โดยมีความหมายเป็นนัย ไม่แปลความหมายของคำตรงตัว มักจะแปลความหมายในเชิงอุปมาเปรียบเทียบ
        สำนวน คือ หมู่คำที่ไพเราะคมคาย เป็นคำพูดสั้น ๆ แต่มีความหมายกว้างขวางลึกซึ้งชวนให้คิด เป็นถ้อยคำที่เรียบเรียง,โวหาร,บางที่ใช้คำว่าสำนวนโวหาร, เป็นถ้อยคำที่ไม่ถูกไวยากรณ์แต่ใช้เป็นภาษาที่ถูกต้อง การแสดงถ้อยคำออกมาจะเป็นข้อความพิเศษเฉพาะของแต่ละภาษา แต่ทุกถ้อยคำก็ไพเราะ ประภาศรี สีหอำไพ,วัฒนธรรมทางภาษา พิมพ์ครั้งที่ 2,(กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2545),หน้า 385. 2
         สาเหตุที่เกิดสำนวน
            1.ต้องการคำเพื่อสื่อสารความรู้สึกให้เข้าใจ เมื่อเกิดความต้องการคำให้เพียงพอกับความรู้สึก จึงต้องคิดคำใหม่อาจอิงคำเดิม แต่เปลี่ยนความหมายไปบ้าง หรือคล้าย ความหมายเดิม
           2. หลีกเลี่ยงการใช้คำบางคำ ซึ่งถ้าใช้แล้วอาจหยาบคาย หรือก่อให้เกิดความไม่สบายใจ ตัวอย่าง คำว่า ตาย อาจมีหลายสำนวน เช่น ซี้ ม่องเท่ง เสร็จ เสียชีวิต ถึงแก่กรรม ไปค้าถ่าน ไปนรก หรือ ถ่ายปัสสาวะ อาจใช้ เบา ไปยิงกระต่าย ไปเก็บดอกไม้
           3. เพื่อให้สุภาพ หรือเหมาะสมกับฐานะของบุคคล เช่น ตัดผม ทรงเครื่อง หรือทรงพระเครื่องใหญ่
          4. ต้องการให้คำพูดมีรสชาติ หรือ เกิดภาพ ตัวอย่างเช่น กุ้งแห้งเดินมาแล้ว (อาจหมายถึงคนผอมแห้ง)
            ความสำคัญของการใช้สำนวน ปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไป การใช้สำนวนก็ลดน้อยลง จึงทำให้สำนวนบางสำนวนสูญหายไป ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะช่วยกันอนุรักษ์สำนวนไทยให้อยู่คู่กับสังคมไทยต่อไป
            ประโยชน์ที่ได้รับจากสำนวนไทย สำนวนไทยทุกสำนวน จะมีความหมายอยู่ทุกสำนวนทั้งที่บอกความหมายโดยตรง และสำนวนที่มีความหมายแอบแฝงอยู่ สำนวนมีประโยชน์ดังนี้
            1. นำหลักคำสอนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
            2. ทำให้ทราบความหมายของแต่ละสำนวน
            3. ทำให้เยาวชนประพฤติปฏิบัติตนดีขึ้น
            4. ช่วยกัดเกลานิสัยของเยาว์ชนให้อยู่ในกรอบและมีระเบียบมากขึ้น

           ความเป็นมาของสำนวนไทย
                สำนวนไทยนั้นมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหง เนื่องจากในศิลาจารึกของพ่อขุนรามนั้น มีสำนวนไทยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่เช่น เหย้าเรือน พ่อเชื้อเสื้อดำ หมายถึง ทรัพย์สมบัติ เป็นต้น การที่มีในภาษาเขียนครั้งแรกมีสำนวนไทยปรากฏอยู่นั้น แสดงให้เห็นว่าสำนวนไทยมีมาก่อนภาษาเขียนและมีการใช้ในภาษาพูดอยู่ก่อนแล้ว หนังสือสุภาษิตพระร่วงก็มีเนื้อหาเป็นสำนวนไทยที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันมากมาย
               เช่น เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ให้หาสินเมื่อใหญ่
        หนังสือกฎมณเฑียรบาลของเก่า ก็มีสำนวนไทยปรากฏอยู่ นอกจากนี้ในวรรณคดีไทยต่างๆ ตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมาก็มีสำนวนไทยปรากฏอยู่มากมาย
              เช่น ขุนช้างขุนแผน ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ และราชาธิราชเป็นต้น
 สำนวนเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของภาษาไทย เพราะเป็นคำพูดที่กลั่นกรองขึ้น เพื่อความสละสลวยของภาษาเป็นถ้อยคำที่คมคายกว่าคำพูดธรรมดา เป็นคำพูดที่รวมใจความยาวๆให้สั้นลงได้ ก็จะทำให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจง่าย ๆ
             ลักษณะของสำนวนไทย
            ลักษณะของสำนวนไทยนั้น มีทั้งประเภทเสียงสัมผัสคล้องจองกัน และ แบบไม่มีเสียงสัมผัส
             1 . ประเภทมีเสียงสัมผัส ∗ ๔ คำสัมผัส ∗ ๖- ๗ คำสัมผัส ∗ ๘- ๙ คำสัมผัส
             2. ประเภทไม่มีเสียงสัมผัส ∗ ๒ คำเรียงกัน ∗ ๓ คำเรียงกัน ∗ ๔ คำเรียงกัน ∗ ๕ คำเรียงกัน ∗ ๖- ๗ คำเรียงกัน
             ตัวอย่างสำนวนคล้องจองสั้น ๆ
             ∗ กรวดน้ำ คว่ำกะลา
             ∗ นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น
             ∗ กรวดน้ำ คว่ำขัน
             ∗ น้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน,สั่งหนอง
             ∗ กระต่าย ขาเดียว
             ∗ บนข้าวผี ตีข้าวพระ
             ∗ กระต่าย หมายจันทร์
             ∗ บ้านนอก คอกนา
             ∗ กวัดไกว ไสส่ง
             ∗ บุญทำ กรรมแต่ง
             ∗ ก่อกรรม ทำเข็ญ
             ∗ บุญพา วาสนาส่ง
             ∗ ก่อร่าง สร้างตัว
             ∗ บุญหนัก ศักดิ์ใหญ่
             ∗ ของหาย ตะพายบาป
             ∗ เบี้ยบ้าย รายทาง
             ∗ ข้าเก่า เต่าเลี้ยง
             ∗ ปล้ำผีลุก ปลุกผีนั่ง
             ∗ ข้านอกเจ้า ข้าวนอกหม้อ
             ∗ เป็ดขัน ประชันไก่
             ∗ ขุดด้วยปาก ถากด้วยตา
             ∗ ผีซ้ำ ด้ำพลอย
             ∗ ขุดดิน กินหญ้าไปวัน ๆ
             ∗ ผู้หญิง ยิงเรือ
             ∗ คดในข้อ งอในกระดูก
             ∗ เผอเรอ กระเชอก้นรั่ว
             ∗ คลุกคลี ตีโมง
             ∗ พระศุกร์เข้า พระเสาร์แทรก
             ∗ ฆ่าไม่ตาย ขาดไม่ขาด
             ∗ พอก้าวขา ก็ลาโรง
             ∗ เงื้อง่า ราคาแพง
             ∗ มั่งมีในใจ แล่นใบบนบก
             ∗ จับดำ ถลำแดง
             ∗ มากขี้ควาย หลายขี้ช้าง
             ∗ เจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด
             ∗ เรือล่มเมื่อจอด ตาบอดเมื่อแก่
             ∗ ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน
             ∗ ลูกสมภาร หลานเจ้าวัด
             ∗ ชักใบ ให้เรือเสีย
             ∗ เสือจนท่า ข้าจนทาง
             ∗ ตกล่อง ปล่องชิ้น
             ∗ เสือทลายห้าง ช้างทลายโรง ∗ ต้นร้ายปลาดี ต้นวายปลายดก ∗ หัวหาย ตะพายขาด ∗ ตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน ∗ พูดคล่อง เหมือนล่องน้ำ ∗ ตาบอด สอดตาเห็น ∗ ชักตะพาน แหงนเถ่อ ∗ ตายฝัง ยังเลี้ยง ∗ ชักแม่น้ำ ทั้งห้า ∗ ตื่นแต่ดึก สึกแต่หนุ่ม ∗ ท้องยุ้ง พุงกระสอบ ∗ นอนต้น กินราก 5 คุณค่าของสำนวน 1. เป็นเครื่องอบรมสั่งสอนและชี้แนะให้เป็นคนดี - ในด้านความรัก : คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย, น้ำพึ่งเสือพึ่งป่า - ในด้านการศึกษาอบรม : ฝนทั่งให้เป็นเข็ม, สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ - ในการพูดจา : พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย ,พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง 2. สำนวนไทยช่วยสะท้อนให้เห็นความคิด ความเชื่อในสังคมไทย - ความเคารพนอบน้อมผู้ใหญ่ เช่น เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด - ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องกรรม เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว - ความเชื่อเกี่ยวกับการปกครอง เช่น บ้านเมืองมีขื่อมีแป -ความเชื่อเกี่ยวกับเกียรติยศชื่อเสียง เช่น ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ 3. สะท้อนให้เห็นถึงภาวะความเป็นอยู่ - เกี่ยวกับเศรษฐกิจและการครองชีพ เช่น เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย - เกี่ยวกับการทำมาหากิน เช่น น้ำขึ้นให้รีบตัก 4.ชี้ให้เห็นว่าคนไทยรักธรรมชาติ ธรรมชาติกับการดำรงชีวิตของคนไทยเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก จึงได้นำเอาลักษณะธรรมชาติของสัตว์ ต้นไม้ ฯลฯ มาตั้งเป็นสุภาษิต คำพังเพย และสำนวนต่างๆ 5.ใช้ภาษาได้ถูกต้อง การศึกษาสำนวนต่างๆ ช่วยทำให้เราใช้ภาษาได้ถูกต้องและสละสลวย ไม่ต้องใช้คำพูดที่เยิ่นเย้อยืดยาว แต่สามารถเรียกร้องความสนใจจากผู้อ่านได้มาก นอกจากนั้นการศึกษาสุภาษิต คำพังเพย และสำนวนของภาคต่างๆ ทำให้เราได้เรียนรู้ภาษาถิ่นไปด้วยในตัว 6. ช่วยสืบทอดวัฒนธรรม การเรียนรู้เรื่องสุภาษิต คำพังเพย และสำนวนต่างๆ เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมของชาติเอาไว้มิให้สูญหาย และเกิดความภูมิใจที่บรรพชน มูลเหตุที่ทำให้เกิดสำนวนไทย 1. เกิดจากธรรมชาติ 2. เกิดจากการกระทำ 3. เกิดจากอุบัติเหตุ 4. เกิดจากแบบแผนประเพณี 5. เกิดจากความประพฤติ 6. เกิดจากการละเล่น ประภาศรี สีหอำไพ,วัฒนธรรมทางภาษา พิมพ์ครั้งที่ 2,(กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2545),หน้า 385. 2 ดึงข้อมูลจาก http://www.kkw.rmutr.ac.th/thai/thaidept/s3.pdf

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.005786 sec.