krupads


ความงามในภาษา
ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ ๒๔ -๒๕
......................."อนิจจา.. แสงเดือนเพ็ญส่องกระจายจับพระพักตร์เมื่อกี้จางซีดขมุกขมัวลง...
ท้องฟ้าสลัวมัวพยับครึ้ม อากาศเย็นเฉียบหัวใจ...น้ำค้างหยดลงเผาะๆ..เป็นหยาดน้ำตาแห่งสวรรค์..
.เกสรดอกรังร่วงพรูเป็นสายสหัสธาราสรง
พระพุทธสรีระ...จักจั่นเรไรสงัดเงียบดูไม่มีแก่ใจจะทำเสียง...ธรรมชาติรอบข้างต่างสลดหมดความ
คะนองทุกสิ่งทุกอย่าง" แล้วจึงมีเสียงกระซิกๆ..สะอึ้นไห้แห่งพระสงฆ์...ฝ่ายพวกมัลละก็ร้องไห้โฮ
ลงแทบสิ้มสมปดี
-----๒๓.)"น้ำค้างหยดเผาะๆ เป็นหยาดน้ำตาแห่งสวรรค์" เป็นการใช้ภาพพจน์วิธีใด
๑. อุปมา
๒. อุปลักษณ์
๓. สัญลักษณ์
๔. บุคลาธิษฐาน

-----๒๔.) ข้อความที่เขียนมานี้ใช้กลวิธีแบบใด
๑. การพรรณา
๒ การอธิบายและการบรรยาย
๓. การแสดงเหตุผลและการบรรยาย
๔. การพรรณาและการบรรยาย

-----๒๕.) คำในสข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับชื่อดอกไม้
๑. นางแย้ม
๒ นางรำ
๓. บางชื่น
๔. นางละคร

-----๒๖.) "อ้าอุราแอร่มระเรื่อรุจี ประดุจมโนภิรมรดี ณ แรกรัก
แสงอรุณวิโรจน์ภาประจักษ์ แฉล้มเฉลาและโศภินัก นะฉันใด"...มีคำที่มีความหมายว่า"งาม" อยู่กี่คำ
๑. มี ๑ คำ
๒ มี ๒ คำ
๓. มี ๓ คำ
๔. มี ๔ คำ

-----๒๗.) "อย่าเคลิ้มคลำคล่ำคล้าแต่ลำโลภ เที่ยวหวงห่วงห้วงละโมบละเมอหาญ "คำประพันธ์
นี้มีลักษณะเด่นในข้อใด
๑. เล่น คำ
๒ เล่นความหมาย
๓. เล่นเสียงวรรณยุกต์
๔. เล่นสัมผัสระหว่าววรรค

-----๒๘.) ข้อความต่อไปนี้ข้อใดทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตามมากที่สุด
๑. นึกระกำนามไม้... แนแม้นทรวงเรียน
๒ เมืองชื่อกาญจนบุรี...ว่างว้าง
๓. บึงบัวตุมตุ่มตุ้ม...กลางตม
๔. เรียมจักแนะนั่นนี้...โน่นโน้นแนงพนม

-----๒๙.) ข้อใดใช้เสียงสัมผัสแล้วทำให้เกิดภาพพจน์ชัดเจนที่สุด
๑. งานจริงยิ่งคนบนดิน..รัศมีสีนิลเฉิดฉาย
๒ เรียมร่ำคร่ำครวญคราง...โดยแถวทางท้องเถื่อพนม
๓. เข้าร่างน้อยนอกนิ่งบนเตียงต่ำ..คนขำงามแฉล้มแจ่ใส
๔. นึกองค์อรทัยใสศรี...นึกหน้านารีหล่อเหลา

-----๓o.) ข้อใดที่กวีใช้โวหารทำให้เกิดภาพพจน์ได้ชัดเจน
๑. ว่าพลางทางพากันคลาไคล...สีหมอกมีใจละห้อยหา
๒. ครั้นพ้นเมืองจวนเย็นเห็นถิ่นฐาน...พฤกษาสำราญเกษมศรี
๓. นกขมิ้นจับเถาขมิ้นเครือ...คาบเหยี่อเผื่อลูกแล้วโผบิน
๔. จะเลี้ยงดูอย่างไรในไพรชิด...คิดคิดก็กำสรดสลดใจ

-----๓๑.) ข้อใดกวีไม่ได้ใช้คำอุปมาอุไมย
๑. เย็นพระยศปูนเดือน...เด่นฟ้า
๒. เกษมสุขส่องสมบูรณ์...บานทวีป
๓. คุณแม่หนาหนักเพี้ยง...พสุธา
๔. คุณพี่พ่างศิขรา...เมรุมาศ

-----๓๒.) ข้อใดใช้สัญลักษณ์ได้ถูกต้อง
๑. กถินณรงค์ยอดรักร่วงทักทาย...เหลืองแดงรายรับขวัญบัณฑิตโดม
๒. น้ำเซาะหินรินรินหลากใหล...ไม่หลับเลยชั่วฟ้าดินสลาย
๓. น้อยนักน้ำวังตะไคร้แต่ใสนัก... มีความรักซุกซ่อนทุกก้อนหิน
๔. พระน้องเอยแต่จากเจ้า...ทุกค่ำเช้าและยามเย็น

-----๓๓.) ความในข้อใดที่กวีใช้คำกล่าวเกินจริง
๑. ชังกันบ่แลเหลียว...ตาต่อ...กันนา
๒. พ่อตาคือฉัตรกั้น...หายหัก
๓. ราชาธิราชน้อย... ในสัตย์
๔. เอียงอกเทออกอ้าง...อวดองค์...อรเอย

-----๓๔.) คำประพันธ์ต่อไปนี้มีลักษณะเด่นทางด้านใด
.........."ทั้งจากที่จากคลองเป็นสองข้อ..............ยังจากกอก็มาขึ้นท่คลองขวาง
โอ้ว่าจากช่างมารวบประจวบทาง......................ทั้งจากนางจากไปใจระบม"
๑. สัมผัสอักษร
๒. การเล่นคำ
๓. ความหมายลึกซึ้ง
๔. โวหารเปรียบเทียบ

-----๓๕.) ข้อใดใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติได้ชัดเจนที่สุด
๑. ......รอนรอนสุริยะโอ้ .....................อัสดง
เรื่อยเรื่อยลับเมรุลง...........................ค่ำแล้ว
๒...... เรียมร่ำน้ำเนตรถ้วน...............ถึงพรหม
พาหมู่สัตว์จ่อมจม.............................ซีพม้วน
๓....... ครืนครืนใช่ฟ้าร้อง.................เรียมครวญ
หึ่งหึ่งใช่ลมหวน................................พี่ให้
๔.......สุริยจันทร์ขจาย.......................จากโลก ไปฤา
ไฟแล่นล้างสี่หล้า..............................ห่อนล้ายอาลัย

-----๓๖.) ข้อใดที่กวีใช้คำเลียนเสียงเครื่องดนตรี
๑. .......... ต้อยตะริดติดตี่เจ้าพี่เอ๋ย...........................จะละเลยเร่ร่อนไปนอนไหน
.......... แอ้ดี่อ๋อยสร้อยฟ้ามาลัย..................................แนเด็ดได้แล้วไม่ร้างให้ห่างเชย
๒............ แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษญย์................มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
.......... ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด.....................ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
๓. ...........บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว...........สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา
...........เห็นโยคีขี่รุ้งดุ่งออกมา.................................ประคองพาขึ้นไปจนบนพรรพต
๔............. ลางลิงไต่กิ่งลางลิงไขว่..........................ลางลิงวิ่งไล่กันวุ่นวิ่ง
............ลางลิงชิงค่างขึ้นลางลิง...............................กาหลงลงกิ่งกาหลงลง

-----๓๗.) "ออดแอดแดออดสยอดไกว..............แพไผ่ไล้น้ำลำคลอง"
คำประพันธ์นี้กวีกล่าวเปรียบเทียบถึงเครื่องดนตรีชนิดใด
๑. เสียงระฆัง
๒. เสียงปี่
๓. เสียงซอ
๔. เสียงกลอง

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.005950 sec.