thai


มัธยมศึกษาปีที่ 4

คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชา  ท ๓๑๑๐๑         ชื่อรายวิชา  ภาษาไทย         กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๔  จำนวน  ๔๐  ชั่วโมง จำนวน  ๑  หน่วยกิต        ภาคเรียนที่ ๑

                 อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและร้อยกรอง  วิเคราะห์  วิจารณ์  คาดคะเน ประเมินค่า  และตอบคำถามจากการอ่านภายในเวลาที่กำหนด  เขียนสื่อสาร  เรียงความ  ย่อความจากสื่อ ผลิตงานเขียนของตนเองและประเมินงานเขียนของผู้อื่น   สรุปแนวคิด  และแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู  วิเคราะห์การใช้ภาษา  ประเมินเรื่องที่ฟังและดู  อธิบายธรรมชาติของภาษา  ลักษณะของภาษา  เสียงในภาษา  วิเคราะห์อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ แต่งบทร้อยกรองโคลงสี่สุภาพ
                ศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรม  วิเคราะห์  วิจารณ์  ประเมินคุณค่า รวบรวมวรรณกรรมพื้นบ้านและอธิบายภูมิปัญาทางภาษา ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานตามที่กำหนด 
                มีทักษะในการสื่อสาร  การคิด  การแก้ปัญหา  การใช้ทักษะชีวิต  การใช้เทคโนโลยี  มีความรักชาติ  ศาสน์  กษัตริย์  ซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  อยู่อย่างพอเพียง  มุ่งมั่นในการทำงาน  รักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะโดยใช้กระบวนการเรียนรู้

 รหัสตัวชี้วัด          ท ๑.๑ ม๔-๖/๑   ท ๑.๑ ม๔-๖/๓   ท ๑.๑ ม๔-๖/๔   ท ๑.๑ ม๔-๖/๖
 รหัสตัวชี้วัด          ท ๒.๑ ม๔-๖/๑  ท ๒.๑ ม๔-๖/๒ ท ๒.๑ ม๔-๖/๓ 
 รหัสตัวชี้วัด          ท ๓.๑ ม๔-๖/๑   ท ๓.๑ ม๔-๖/๓  
 รหัสตัวชี้วัด          ท ๔.๑ ม๔-๖/๔  ท ๔.๑ ม๔-๖/๕ 
 รหัสตัวชี้วัด          ท ๕.๑ ม๔-๖/๑   ท ๕.๑ ม๔-๖/๓  ท ๕.๑ ม๔-๖/๕  ท ๕.๑ ม๔-๖/๖

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชา  ท ๓๑๑๐๒        ชื่อรายวิชา  ภาษาไทย      กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๔        จำนวน  ๔๐  ชั่วโมง    จำนวน  ๑  หน่วยกิต    ภาคเรียนที่ ๒

                อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและร้อยกรอง  ตีความ  แปลความ ขยายความ  เขียนผังมโนทัศน์จากเรื่องที่กำหนดและบอกประโยชน์จากเรื่องที่อ่าน  สืบค้นและสังเคราะห์ความรู้จากการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์  สื่ออิเล็กทรอนิกส์ จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ  และมีมารยาทในการอ่าน
                เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าตามหลักการเขียนเชิงวิชาการและใช้ข้อมูลสารสนเทศอ้างอิงได้ถูกต้อง บันทึกการศึกษา มีมารยาทในการเขียน
                มีวิจารณญาณในการเลือกเรื่องที่ฟังและดู  พูดแสดงทัศนะ  โดยใช้ภาษาที่เหมาะสมและมีมารยาทในการฟัง ดูและพูด
                ใช้คำ กลุ่มคำสร้างประโยค ใช้ภาษาเหมาะสมแก่โอกาส กาลเทศะ อธิบายหลักการสร้างคำในภาษาไทย วิเคราะห์และประเมินการใช้ภาษาจากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์
                ศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรม  วิเคราะห์  วิจารณ์  ประเมินคุณค่าและสังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมไทย  ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานตามที่กำหนด 
               มีทักษะในการสื่อสาร  การคิด  การแก้ปัญหา  การใช้ทักษะชีวิต  การใช้เทคโนโลยี  มีความรักชาติ  ศาสน์  กษัตริย์  ซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  อยู่อย่างพอเพียง  มุ่งมั่นในการทำงาน  รักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะโดยใช้กระบวนการเรียนรู้

รหัสตัวชี้วัด          ท ๑.๑ ม๔-๖/๑   ท ๑.๑ ม๔-๖/๒  ท ๑.๑ ม๔-๖/๗   ท ๑.๑ ม๔-๖/๙
รหัสตัวชี้วัด          ท ๒.๑ ม๔-๖/๖  ท ๒.๑ ม๔-๖/๘ 
รหัสตัวชี้วัด          ท ๓.๑ ม๔-๖/๔  ท ๓.๑ ม๔-๖/๖  
รหัสตัวชี้วัด          ท ๔.๑ ม๔-๖/๓  ท ๔.๑ ม๔-๖/๖  
รหัสตัวชี้วัด          ท ๕.๑ ม๔-๖/๑   ท ๕.๑ ม๔-๖/๓  ท ๕.๑ ม๔-๖/๔  ท ๕.๑ ม๔-๖/๖

 

 

 

 

 

ตัวชี้วัดช่วงชั้น

๑. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรองได้อย่างถูกต้อง ไพเราะและเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน
๒. วิเคราะห์ และวิจารณ์เรื่องที่อ่านในทุก ๆ ด้านอย่างมีเหตุผล
๓. คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่านและประเมินค่าเพื่อนำความรู้ ความคิดไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต
๔. วิเคราะห์ วิจารณ์แสดงความคิดเห็นโต้แย้งกับเรื่องที่อ่านและเสนอความคิดใหม่อย่างมีเหตุผล
๕. ตอบคำถามจากการอ่านประเภทต่าง ๆ ภายในเวลาที่กำหนด
๖. เขียนสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ โดยใช้ภาษาเรียบเรียงถูกต้อง มีข้อมูลและสาระสำคัญชัดเจน
๗. เขียนเรียงความ
๘. เขียนย่อความจากสื่อที่มีรูปแบบและเนื้อหาหลากหลาย
๙. ผลิตงานเขียนของตนเองในรูปแบบต่าง
๑๐. ประเมินงานเขียนของผู้อื่นแล้วนำมาพัฒนางานเขียนของตนเอง
๑๑. บันทึกการศึกษาค้นคว้า เพื่อนำไปพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ
๑๒. สรุปแนวคิดและแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู
๑๓. วิเคราะห์แนวคิด การใช้ภาษาและความน่าเชื่อถือจากเรื่องที่ฟังและดูอย่างมีเหตุผล
๑๔. ประเมินเรื่องที่ฟังและดู แล้วกำหนดแนวทางนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
๑๕. อธิบายธรรมชาติของภาษา พลังของภาษาและลักษณะของภาษา
๑๖. แต่งบทร้อยกรอง
๑๗. วิเคราะห์อิทธิพลของภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น
๑๘. วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น
๑๙. วิเคราะห์และประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณคดีและวรรณกรรมในฐาะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
๒๐. รวบรวมวรรณกรรมพื้นบ้านและอธิบายภูมิปัญญาทางภาษา
๒๑. ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานตามที่กำหนด

 

 ผลการเรียนรู้

๑. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรองได้อย่างถูกต้อง ไพเราะและเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน
๒. วิเคราะห์ วิจารณ์เรื่องที่อ่านในทุก ๆ ด้าน แสดงความคิดเห็นโต้แย้งกับเรื่องที่อ่านและเสนอความคิดใหม่อย่างมีเหตุผล
๓. คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่านและประเมินค่าเพื่อนำความรู้ ความคิดไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต
๔. ตอบคำถามจากการอ่านประเภทต่าง ๆ ภายในเวลาที่กำหนด
๕. เขียนสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ โดยใช้ภาษาเรียบเรียงถูกต้อง มีข้อมูลและสาระสำคัญชัดเจน
๖. เขียนเรียงความ  ย่อความจากสื่อที่มีรูปแบบและเนื้อหาหลากหลาย
๗. ผลิตงานเขียนของตนเองในรูปแบบต่าง และประเมินงานเขียนของผู้อื่นแล้วนำมาพัฒนางานเขียนของตนเอง
๘. บันทึกการศึกษาค้นคว้า เพื่อนำไปพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ
๙. สรุปแนวคิด แสดงความคิดเห็น วิเคราะห์แนวคิด การใช้ภาษาและความน่าเชื่อถือจากเรื่องที่ฟังและดูอย่างมีเหตุผล
๑๐. ประเมินเรื่องที่ฟังและดู แล้วกำหนดแนวทางนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
๑๑. อธิบายธรรมชาติของภาษา พลังของภาษาและลักษณะของภาษา
๑๒. แต่งบทร้อยกรอง
๑๓. วิเคราะห์อิทธิพลของภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น
๑๔. วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้นประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณคดีและวรรณกรรมในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
๑๕. รวบรวมวรรณกรรมพื้นบ้านและอธิบายภูมิปัญญาทางภาษา
๑๖. ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานตามที่กำหนด

 


ปีการศึกษา 2564  ห้องเรียนออนไลน์ (Online)


ม.๔.jpg

 


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.005306 sec.