krupads


ตัวละคร

ตัวละครฝ่ายไทย

1.สมเด็จพระนเรศวรมหาราช(พระองค์ดำ หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 กษัตริย์องค์ที่ 18 แห่งกรุงศรีอยุธยา)

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3


         มีพระบรมชนกนาถคือพระมหาธรรมราชา ทรงเป็นผู้ประกาศเอกราชหลังจากที่เสียแก่พม่าเป็นเวลา 15 ปี ทรงขยายอาณาเขตได้กว้าง และมีสงครามกับพม่าแล้วได้รับชัยชนะ หลังจากนั้นพม่าก็มาระรานไทยน้อยมาก ทรงเสด็จสวรรคตขณะที่ทำศึกกรุงอังวะ โดยประชวรเป็นระยะๆที่พระพักตร์ แล้วกลายเป็นบาดทะพิษและเสด็จสวรรคตในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2148 มีพระชนมายุทั้งสิ้น 50 พรรษา ครองราชย์ยาวนาน 15 ปี 

                                                                                   ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3

2.สมเด็จพระเอกาทศรถ(พระองค์ขาว หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 3)




         เป็นพระอนุชาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นอุปราชปกครองเมืองพิษณุโลกที่มีเกียรติยศเท่ากับพระเจ้าแผ่นดิน ทรงออกทำสงครามกับสมเด็จพระนเรศวรและได้ครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระนเรศวร ทรงมีพระราชโอรสที่ประสูติจากพระอัครมเหสีสององค์คือ เจ้าฟ้าสุทัศน์และเจ้าฟ้าศรีเสาวภาค และมีพระราชโอรสที่ประสูติจากพระสนมอีกสามองค์คือ พระอินทรราชา พระศรีศิลป์ และพระองค์ทอง เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2153 มีพระชนม์พรรษารวม 50 พรรษาเศษ ครองราชย์ทั้งสิ้น 5 ปี

3.พระมหาธรรมราชา(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 1)



         เสด็จพระราชสมภพ ในปี พ.ศ.2058 มีพระราชบิดาเป็นเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย พระราชมารดาเป็นพระญาติฝ่ายพระราชชนนี สมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งราชวงศ์สุวรรณภูมิ ทรงรับราชการเป็นที่ขุนพิเรนทรเทพ เจ้ากรมตำรวจรักษาพระองค์ หลังจากที่เหตุการณ์ความไม่สงบในราชสำนักได้สงบลง พระเฑียรราชาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ในปี พ.ศ.2091 ขุนพิเรนทรเทพก็ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา ได้รับโปรดเกล้าให้ไปครองเมืองพิษณุโลก สำเร็จราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ เทียบศักดิ์ได้เท่ากับพระมหาอุปราช ได้รับพระราชทานพระวิสุทธิกษัตรี พระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เป็นพระมเหสี มีพระราชโอรสและพระราชธิดาสามพระองค์คือ พระสุพรรณเทวี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ

4.สมเด็จพระวันรัต



         มีขื่อเดิมคือพระมหาเถรคันฉ่อง เป็นพระมอญ จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าแก้ว(วัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบัน) เป็นผู้ที่ใช้วาทศิลป์ในการเกลี้ยกล่อมให้พระยาเกียรติ์และพระยารามที่พระเจ้าหงสาวดีส่งมาให้ลอบกำจัดพระนเรศวรนอมรับสารภาพและมาเข้าร่วมทัพกับสมเด็จพระนเรศวร และท่านได้ใช้วาทศิลป์ของท่านในการขอพระราชทานอภัยโทษแก่แม่ทัพที่ตามเสด็จออกรบไม่ทัน

5.พระยาศรีไสยณรงค์

        
 


 เป็นแม่ทัพกองหน้าที่สมเด็จพระนเรศวรตั้งขึ้น มีกำลังพล 5 หมื่น ไปตั้งพลที่หนองสาหร่าย แต่ต้านทัพพม่าที่มีกำลัง 5 แสนไม่ได้ พระองค์จึงออกโองการให้ถอยทัพโอบล้อมและได้รับชัยชนะ พระยาศรีไสยณรงค์จึงไถ่โทษด้วยการตามทัพพระยาจักรีไปตีเมืองตะนาวศรีและมริด

6.พระราชฤทธานนท์



         ปลัดทัพหน้า ที่สมเด็จพระนเรศวรแต่งตั้งให้ไปรบกับพระยาศรีไสยณรงค์

7.เจ้าพระยาจักรี



         ดูแลหัวเมืองภาคกลางและเหนือ ดูแลพลเรือน จะต้องถูกประหารที่ตามเสด็จไม่ทันในครั้งที่ไปรบกับพระมหาอุปราชา แต่เพราะสมเด็จพระวันรัตได้ขอพระราชทานอภัยโทษให้ และได้ไถ่โทษครั้งนั้นด้วยการไปตีเมืองตะนาวศรีและเมืองมริด 

8.เจ้าพระยาคลัง

 



         ดูแลเกี่ยวกับการต่างประเทศ จะต้องถูกประหารแต่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ และได้ไถ่โทษด้วยการไปตีเมืองทวาย

9.เจ้ารามราฆพ

  

         เป็นกลางช้างของพระนเรศวรที่ตามเสด็จทันในการรบกับพระมหาอุปราชาและไม่โดนอาญาประหารชีวิต ได้รับการปูนบำเหน็จตอบแทนความกล้าหาญจากสมเด็จพระนเรศวร  

10.ขุนศรีคชคง

 
         ควาญช้างของพระเอกาทศรถ ผู้ซึ่งได้รับการปูนบำเหน็จตอบแทนความกล้าหาญที่ตามเสด็จทันในสงครามยุทธหัตถีจากสมเด็จพระนเรศวร

11.นายมหานุภาพ

 
         ควาญช้างของสมเด็จพระนเรศวรที่ทหารพม่าได้ยิงเสียชีวิต ได้รับพระราชทานยศและทรัพย์สิ่งของ ผ้าสำรดแก่บุตรภรรยา เพื่อตอบแทนในความดีความชอบ 

12.หมื่นภักดีศวร

 
         กลางช้างของสมเด็จพระเอกาทศรถที่ถูกทหารพม่ายิงปืนถูกอกเสียชีวิต ได้รับพระราชทานยศและทรัพย์สิ่งของ ผ้าสำรดแก่บุตรภรรยา เพื่อตอบแทนความดีความชอบ

13.หมื่นทิพย์เสนา



         นายทหารที่สมเด็จพระนเรศวรสั่งให้ไปดูทัพหน้าและนำตัวหมื่นคนหนึ่งกลับมาเข้าเฝ้า เพื่อให้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับทัพหน้า และส่งข่าวให้ทัพหน้าถอยทัพเมื่อพม่าตีอย่างหนัก

14.หมื่นราชามาตย์

 
         นายทหารที่แจ้งข่าวถอยทัพให้ทัพหน้าซึ่งเดินทางไปพร้อมกับหมื่นทิพย์เสนา คาดว่าจะเป็นนายทหารที่หมื่นทิพย์เสนานำมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร  

15.หลวงญาณโยคโลกทีป

         โหรผู้ถวายคำพยากรณ์และหาฤกษ์ยามกับสมเด็จพระนเรศวร ในครั้งที่ทรงตัดสินพระทัยที่จะทำสงคราม ซึ่งได้พยากรณ์ไว้ว่าพระองค์จะได้จตุรงคโชคคือ โชคดี 4 ประการ ได้แก่ มีโชคดี , วัน เดือน ปี ในการทำสงครามดี , กำลังทหารเข้มแข็งดี , อาหารอุดมสมบูรณ์ดี และฤกษ์ในการออกทัพคือเช้า วันอาทิตย์ขึ้น 11 ค่ำ ย่ำรุ่ง 8 นาฬิกา 30 นาที ในเดือนยี่

16.หลวงมหาวิชัย

         พราหมณ์ที่ทำพิธีตัดไม้ข่มนาม ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรจะนำกองทัพไปรบ

  ฝ่ายพม่า

  1.พระเจ้าหงสาวดี(นันทบุเรง)


 

         กษัตริย์พม่า เดิมมีชื่อว่ามังชัยสิงห์ราช เป็นพระโอรสของบุเรงนอง เคยเป็นอุปราชและขึ้นครองราชย์ต่อจากบุเรงบอง ทรงหวังที่จะสร้างความยิ่งใหญ่แต่ทำไม่สำเร็จ สิ้นพระชนม์จากการลอบวางยาพิษ

2.พระมหาอุปราชา

 


         ชื่อเดิมคือมังสามเกียดหรือมังกะยอชวา เป็นโอรสของนันทบุเรง เคยเป็นอุปราชาในสมัยของนันทบุเรง เป็นเพื่อนเล่นกันกับพระนเรศวรในสมัยที่ประทับกรุงหงสาวดี ทรงทำงานสนองพระราชบิดาหลายครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการสงคราม ถวายงานครั้งสุดท้ายในการยกทัพตีไทย โดยได้มาทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรแล้วสิ้นพระชนม์

3.พระยาจิดตอง

 


         เป็นแม่กองทำสะพานจากเชือกในการข้ามแม่น้ำกระเพิน

4.สมิงอะคร้าน สมิงเป่อ สมิงซายม่วน

    


   เป็นชื่อกองลาดตระเวนที่พระมหาอุปราชาให้หาข่าวเกี่ยวกับกองทัพไทย ก่อนที่จะยกทัพมาโจมตี 

5.มางจาชโร

 

        พี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชา ชนช้างกับพระเอกาทศรถ และเสียชีวิตจากการถูกพระเอกาทศรถฟันด้วยพระแสงของ้าว

6.เจ้าเมืองมล่วน

 


         เป็นควาญช้างของพระมหาอุปราชา เป็นผู้ที่ได้รับคำสั่งจากพระนเรศวรให้ไปบอกข่าวแพ้สงครามและข่าวพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ 


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.005736 sec.