K-Me Article


การผุกร่อนของโลหะ (Corrosion)

การผุกร่อนของโลหะ (Corrosion)

            การผุกร่อนของโหะเกิดจากการที่โลหะใด ๆ ถูกออกซิไดซ์ด้วยตัวออกซิไดซ์ต่าง ๆ  (โลหะเป็นตัวรีดิวซ์ เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน)        ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์ ที่เกิดขึ้นได้เอง จึงเป็นเซลล์กัลวานิกชนิดหนึ่ง โลหะที่ผุกร่อนเป็นแอโนด  โลหะต่างชนิดจะมีอัตราเร็วในการผุกร่อนหรือความยาก-ง่ายในการผุกร่อนไม่เท่ากัน ดูได้จากค่า Eo  ของโลหะแต่ละชนิด  โลหะใดมีค่า Eo  มากกว่าจะผุกร่อนยากกว่าโลหะที่มีค่า  Eo  น้อยกว่า  เช่น

Mg2+ + 2e-     →     Mg        E0   =   -2.38   V
Zn2+  + 2e-     →     Zn         E0   =   -0.76   V
Fe2+  + 2e-     →     Fe          E0   =  -0.41    V
               โลหะ 3 ชนิดนี้เมื่อถูกออกซิไดซ์ด้วยตัวออกซิไดซ์ชนิดเดียวกันแล้ว  ลำดับการผุกร่อนจากยากไปง่ายเรียงลำดับดังนี้  Fe >Zn > Mg  นอกจากนี้แล้วการผุกร่อนจะเร็วหรือช้ายังขึ้นอยู่กับความแรงของตัวออกซิไดซ์ดัวย  ความแรงของตัวออกซิไดซ์ดูได้จากค่า  Eo  เช่นกัน  ตัวออกซิไดซ์ที่มีค่า  Eo  มากกว่าจะมีความแรงของการออกซิไดซ์มากกว่าด้วย  เช่น 

I2(s) + 2e-   → 2I-(aq)     ;  Eo  =  0.54  V

Br2(l) + 2e- → 2Br-(aq)   ;  Eo  =  1.07  V

Cl2(g) + 2e- → 2Cl-(aq)  ;  Eo  =  1.36  V

            ความแรงในการอกซิไดซ์จากมากไปน้อยคือ  Cl2 >  Br2  >  I2  ถ้าเปรียบเทียบอัตราเร็วในการผุกร่อนของโลหะชนิดเดียวกันจากการถูกออกซิไดซ์ด้วยตัวออกซิไดซ์ทั้ง  3  ชนิดนี้  การผุกร่อนจากการออกซิไดซ์ของ  Cl2  จะเร็วที่สุด  ขณะที่การผุกร่อนจากการถูกออกซิไดซ์ด้วย  I2  จะช้าที่สุด

            ตัวออกซิไดซ์ที่จะทำให้โลหะผุกร่อนได้  ต้องมีค่า  Eo  มากกว่า  Eo  ของโลหะ 

ตัวออกซิไดซ์ที่สำคัญเพราะมีอยู่มากตามธรรมชาติ และเป็นตัวการให้โลหะส่วนใหญ่เกิดการผุกร่อนได้แก่  H+ , H2O ,   O2+ H2O  ,  O2+ H+  (นอกจากนี้ยังมีตัวออกซิไดซ์อื่นได้อีกมากมาย) แต่ละชนิดมีความแรงในการออกซิไดซ์ต่างกัน  พิจารณาได้จากค่า E0 ต่อไปนี้
               2H2O(l) + 2e-  →    H2(g) + 2OH -       E0  =   -0.83 V
               2H+   + e-    →        H2                         E0  =   0.00  V
               O2(g) + 2H2O(l) + 4e-  →  4OH-(aq)   E0  =  +0.40 V
               O2  +  4H+ + 4e-   → 2H2O                  E0  =  +1.23 V
               สังเกตค่า  Eo ของตัวออกซิไดซ์ในรูปแบบต่าง ๆ เป็นดังนี้
-     น้ำบริสุทธิ์เป็นตัวออกซิไดซ์ที่อ่อนมาก
-    H+  ก็คือสารละลายกรดทั่วไปเป็นตัวออกซิไดซ์ที่แรงกว่า
-    O2 + H2O  คือออกซิเจนร่วมกับน้ำหรือมีออกซิเจนอยู่ในที่เปียกชื้น  เป็นตัวออกซิไดซ์ที่แรงยิ่งขึ้น
-    O2 + 4H+  คือออกซิเจนร่วมกับกรด  ยิ่งเป็นตัวออกซิไดซ์ที่แรงขึ้นอีก
               ในที่นี้จะศึกษาการผุกร่อนของเหล็ก (Fe) เป็นตัวอย่าง  เนื่องจากมีการนำมาใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลาย เมื่อเข้าใจการผุกร่อนของเหล็กแล้วก็สามารถนำไปเทียบเคียงกับโลหะอื่นได้โดยใช้หลักการเดียวกัน 
               ค่า E0 ของเหล็ก คือ     Fe2+  + 2e-     →       Fe   ;    E0     =    -0.41  V 
            ตัวออกซิไดซ์ที่มีค่า E0 ต่ำกว่า -0.41 V จะไม่สามารถออกซิไดซ์เหล็กหรือไม่ทำให้เหล็กผุกร่อน   ตัวออกซิไดซ์ใด ๆ ที่มีค่า E0 สูงกว่า -0.41 V จึงจะสามารถออกซิไดซ์เหล็กหรือทำให้เหล็กผุกร่อนได้   ยิ่งมีค่า E0 มากขึ้นเท่าไรก็จะยิ่งทำให้เกิดการผุกร่อนได้เร็วขึ้นเท่านั้น  ถ้าเปรียบเทียบค่า  Eo  ของ  Fe  กับค่า  Eo  ของตัวออกซิไดซ์ในรูปแบบต่าง ๆ  จะเห็นว่า  น้ำบริสุทธิ์ออกซิไดซ์เหล็กไม่ได้ต้องมีน้ำหรือความชื้นร่วมด้วย  (ออกซิเจนที่ไม่มีน้ำออกซิไดซ์เหล็กไม่ได้เช่นกัน) 

                                                (คลิ้กชมการผุกร่อนของโลหะ)

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 72.77 KBs
Upload : 2012-10-30 20:26:24
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


K-Me
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.028403 sec.