K-Me Article


พันธะโคเวเลนต์ที่ไม่เป็นไปตามกฎออกเตต
แม้ว่าเราจะใช้เหตุผลของกฎออกเตตอธิบายการสร้างพันธะเคมีในรูปแบบต่าง ๆ มาแล้ว  แต่ก็พบว่าธาตุบางธาตุสร้างพันธะโดยไม่เป็นไปตามกฎออกเตต  บางธาตุมีทั้งที่เป็นและไม่เป็นไปตามกฎออกเตต  เช่น  BeCl2  BCl3 สังเกต  Be  และ  B  มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ  4  และ  6  ตามลำดับ

                    

         สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ  N  กับ  P  เป็นธาตุหมู่  5A  เช่นเดียวกัน  แต่เมื่อเกิดสารประกอบแล้วพบว่าต่างกัน  เช่น  เมื่อทำปฏิกิริยากับ  Cl  ธาตุ  N  จะเกิดสาร  NCl3  อย่างเดียว  ซึ่งเป็นไปตามกฎออกเตต  ในขณะที่  P  จะเกิดสาร  PCl3  ซึ่งเป็นไปตามกฎออกเตตเช่นกัน  แต่ขณะเดียวกันจะเกิด  PCl5  ได้ด้วย  และไม่เป็นไปตามกฎออกเตต  คือใน  PCl5  เวเลนซ์อิเล็กตรอนของ  P = 10  ดังรูป

                

         สิ่งท่เกิดขึ้นนี้อธิบายได้ว่า  N  เป็นธาตุคาบที่  2  จึงมีระดับพลังงานสูงสุดที่  n = 2 จึงมีผลให้เกิดไฮบริไดเซชันไม่ได้  เพราะไม่มี  subshell  d  จึงสร้างพันธะกับอะตอมอื่นด้วยพันธะเดี่ยว  3  พันธะ  ทำให้มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ  8  แล้วไม่สามารถสร้างพันธะต่อไปได้อีก
          

         แต่สำหรับ  P  เป็นธาตุคาบที่  3  จึงมี  subshell  3d  อยู่ด้วย  ในภาวะถูกกระตุ้น  จะเกิดไฮบริไดเซชัน  ได้ไฮบริดออร์บิทัล  sp3d  จึงสร้างพันธะเดี่ยวกับอะตอมอื่นได้  5  พันธะ  ทำให้มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน = 10 

         ซัลเฟอร์เป็นอีกธาตุหนึ่งที่สามารถสร้างพันธะทั้งเป็นและไม่เป็นไปตามกฎออกเตต เช่น  SF2  เป็นไปตามกฎออกเตต  แต่  SF6  ไม่เป็นไปตามกฎออกเตต 

       



        สำหรับก๊าซมีตระกูล (ก๊าซเฉื่อย) เมื่ออยู่ในภาวะปกติจะไม่ทำปฏิกิริยา  เพราะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ  8  จัดเต็มทุกออร์บิทัลอยู่แล้ว  แต่พบว่าเมื่ออยู่ในภาวะถูกกระตุ้นจะเกิดไฮบริไดเซชัน  เกิดไฮบริดออร์บิทัลได้หลายแบบ  โดยเฉพาะก๊าซเฉื่อยที่มีอะตอมขนาดใหญ่  เช่น  Kr   Xe  ทำให้เกิดสารประกอบได้หลายชนิด  และมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนมากกว่า  8  เช่น  XeF4   XeF6

 
 


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 19.26 KBs
Upload : 2012-11-26 21:03:45
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


K-Me
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.030976 sec.