K-Me Article


ตารางธาตุ ตอนที่ 4 เลขออกซิเดชัน

 

เลขออกซิเดชัน (Oxidation   number , oxidation state)

                คือประจุไฟฟ้าสมมติที่เกิดจากการถ่ายเทอิเล็กตรอนระหว่างอะตอม  ประจุไฟฟ้าที่แท้จริงของอิเล็กตรอนคือ  -1.6 x 10-19 คูลอมบ์  แต่เราสมมติว่าประจุนี้มีค่าเท่ากับ -1 ฉะนั้นเมื่ออะตอมใดเสียอิเล็กตรอนไป 1 ตัว  จึงมีผลให้อะตอมนั้นเสียประจุไฟฟ้าไปโดยสมมติเท่ากับ -1 ด้วย  ในเวลาเดียวกันอะตอมที่ได้รับอิเล็กตรอนก็จะได้รับประจุไฟฟ้าโดยสมมติเท่ากับ -1  เช่นกัน  ฉะนั้นผลจากการถ่ายเทอิเล็กตรอนระหว่างอะตอม  จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของประจุไฟฟ้าไปด้วย  ประจุไฟฟ้าโดยสมมติดังกล่าวมานี้เรียกว่าเลขออกซิเดชัน  (Oxidation   number , oxidation state)   ก่อนอื่นต้องทราบว่าอะตอมในภาวะปกติ  ( มีโปรตอนเท่ากับอิเล็กตรอน )  จะไม่มีประจุไฟฟ้า  แต่จะว่ามีประจุไฟฟ้าก็ได้คือมีเท่ากับศูนย์  เช่น อะตอมของโซเดียมในภาวะปกติจะเขียนแสดงสัญลักษณ์ว่า  Na  หรือ  Na0  อะตอมของคลอรีนในภาวะปกติก็เช่นกัน  เขียนแสดงสัญลักษณ์ว่า  Cl  หรือ  Cl0  เมื่ออะตอมของโซเดียมถ่ายเทอิเล็กตรอน 1 ตัวให้แก่อะตอมของคลอรีน จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของประจุไฟฟ้าสมมติหรือเลขออกซิเดชันคือ   อะตอมของ Na กลายเป็น  Na+  ขณะเดียวกันอะตอมของ   Cl   กลายเป็น   Cl-  ดังรูป 

 

การเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้าสมมติของโซเดียมคือ  Na0 -  (-1)   ได้  Na1+  หรือ   Na+

ประจุไฟฟ้าสมมติหรือเลขออกซิเดชัน  ของ  Na  เพิ่มขึ้นจาก  0  เป็น  +1

การเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้าสมมติของคลอรีนคือ   Cl0 +  (-1)  ได้   Cl1-  หรือ  Cl-

ประจุไฟฟ้าสมมติหรือเลขออกซิเดชัน  ของ  Cl  ลดลงจาก  0  เป็น  -1

 

        ถ้ามีการถ่ายเทอิเล็กตรอนกัน   2   ตัว  เช่น ระหว่างอะตอมของ  Ca  กับ  Cl  จะเป็นดังนี้

 

การเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้าสมมติของแคลเซียมคือ  Ca0 - 2(-1)   ได้   Ca2+ 

  •  ประจุไฟฟ้าสมมติหรือเลขออกซิเดชัน  ของ Ca เพิ่มขึ้นจาก  0  เป็น  +2

การเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้าสมมติของคลอรีนคือ   Cl0 +  (-1)  ได้   Cl-1  หรือ  Cl-  (เกิดขึ้นกับ  Cl  2 อะตอม)

  • ประจุไฟฟ้าสมมติหรือเลขออกซิเดชัน  ของ  Cl  ลดลงจาก 0  เป็น  -1 (ทั้ง  2  อะตอม )

        การถ่ายเทอิเล็กตรอนทำให้อะตอมเปลี่ยนเป็นไอออน    อะตอมที่เสียอิเล็กตรอนกลายเป็นไอออนบวก (ขนาดจะเล็กลง) อะตอมที่ได้รับอิเล็กตรอนกลายเป็นไอออนลบ (ขนาดจะใหญ่ขึ้น)    เลขออกซิเดชันก็เปลี่ยนไปด้วย  พิจารณาจากตัวอย่างต่อไปนี้

                Ca  →  Ca2+  +  2e-  อะตอมของ  Ca เสียอิเล็กตรอนไป 2  ตัว กลายเป็นไอออนบวกของแคลเซียม( Ca2+ มีประจุ  2+ )  การเขียนแสดงประจุของไอออนให้เขียนตัวเลขไว้หน้าเครื่องหมาย + หรือ -  ถ้าเขียนแสดงออกซิเดชันให้เขียนเครื่องหมาย + หรือ  - ไว้หน้าตัวเลข    เช่น  Ca2+  ประจุของไอออนคือ   2+  เลขออกซิเดชันคือ  +2 

                S+ 2e-  →  S2-     อะตอมของ Sได้รับอิเล็กตรอน 2 ตัวกลายเป็น S2-  ประจุของไอออนคือ  2-  มีเลขออกซิเดชันคือ  -2 

          ในการถ่ายเทอิเล็กตรอนกันนี้   เป็นลักษณะของการเกิดปฏิกิริยาชนิดรีดักชัน

ออกซิเดชัน  หรือปฏิกิริยารีดอกซ์    (Reduction 

oxidation  reaction ; Redox )  เป็นปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี (

electrochemistry )  เรียกอะตอมที่เสียอิเล็กตรอนว่าตัวรีดิวซ์ 

(reducing agent)   หรือเรียกว่าตัวถูกออกซิไดซ์ก็ได้  (oxidized)  เรียกอะตอมที่ได้รับอิเล็กตรอนว่า  ตัวออกซิไดซ์ 

(oxidizer)  หรือเรียกว่าตัวถูกรีดิวซ์ก็ได้  (reduced)  ดังรูป

ไอออนที่เกิดขึ้นจากการถ่ายเทอิเล็กตรอนกันนี้  ในที่สุดจะรวมตัวกันเป็นสารประกอบไอออนิก  เช่น  Na+ กับ   Cl-  รวมตัวกันเป็น   NaCl    หรือ  Ca2+  กับ   2Cl-    รวมตัวกันเป็น   CaCl2   หรือ  Na+  กับ F- รวมตัวกันเป็น  NaF  ประจุของไอออนจะหักล้างกันหมดพอดี  แต่ในบางกรณีอาจมีประจุเหลืออยู่ก็ได้ 

                             (คลิ้ก ชมการถ่ายเทอิเล็กตรอนระหว่าง Na กับ F)

ถ้าเราทราบว่าอะตอมมีการถ่ายเทอิเล็กตรอนกันกี่ตัว   เราจะบอกได้ว่าเลขออกซิเดชันเปลี่ยนแปลงไปเท่าไรได้โดยตรง   แต่ถ้าเราไม่ทราบจำนวนอิเล็กตรอนที่ถ่ายเทกัน   การหาเลขออกซิเดชันที่เปลี่ยนแปลงจะยากขึ้น  แต่มีวิธีหาได้   คือธาตุอยู่จำนวนหนึ่งที่มีเลขออกซิเดชันคงที่  หมายความว่าไม่ว่าจะเกิดปฏิกิริยากับธาตุใด  หรืออยู่ในสารประกอบใด  ก็จะมีเลขออกซิเดชันเท่าเดิมทุกครั้ง  (fix oxidation state)     จึงมีสมบัติเสมือนหนึ่งเป็นค่าคงที่  (constant)  
ในขณะเดียวกันก็จะมีธาตุอีกกลุ่มหนึ่งที่มีเลขออกซิเดชันไม่คงที่  (variable oxidation state)     จึงมีสมบัติเสมือนหนึ่งเป็นตัวแปร (variable)  ธาตุประเภทนี้จะมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า  เกิดสารประกอบได้หลายชนิด  ส่วนใหญ่จะเป็นโลหะแทรนซิชัน  หรืออโลหะจำพวก C  N  S  P  Cl Br  I   แต่ในที่สุดแล้วทั้งธาตุที่มีเลขออกซิเดชันคงที่และธาตุที่มีเลขออกซิเดชันไม่คงที่   ก็จะรวมอยู่ในสารประกอบเดียวกัน  เราจึงหาเลขออกซิเดชันของธาตุที่ไม่คงที่โดยอาศัยเลขออกซิเดชันของธาตุซึ่งคงที่ด้วยวิธีทางสมการได้    ทำนองเดียวกับสมการในคณิตศาสตร์

*** สารประกอบบางชนิดธาตุ  เดียวกันที่อยู่ในสารปะกอบนั้น ๆ อาจมีเลขออกซิเดชันมากกว่า  1 ค่า  เช่น  Fe3O4

(คลิ้ก ชมธาตุโลหะที่มี Oxidation state คงที่และไม่คงที่)

หลักการหาเลขออกซิเดชัน

1.   ธาตุอิสระหรือธาตุบริสุทธิ์ทั้งในรูปอะตอมและโมเลกุลมีเลขออกซิเดชันเท่ากับ   0  เช่น  Na , Cl  ,O2 ,  O3 ,  P4  ,  S8  ,   C60  F2  Cl2  Br2  I2 (คำว่าธาตุอิสระหรือธาตุบริสุทธิ์คือธาตุที่ยังไม่ทำปฏิกิริยากับธาตุอื่น )

2.    โลหะแอลคาไล (alkali metal = หมู่ IA) และโลหะแอลคาไลน์เอิร์ท ( alkali earth = หมู่ IIA) เมื่ออยู่ในสารประกอบ ต่างๆ
มีเลขออกซิเดชันเป็น +1 และ +2  ตามลำดับ 

3.    H เมื่ออยู่ในสารประกอบของอโลหะมีเลขออกซิเดชัน   +1   เมื่ออยู่ในสารประกอบของโลหะ  (ไอไดรของโลหะ )   เช่น NaH   CaH2  ธาตุ  H  มีเลขออกซิเดชัน  -1
**  ไฮโดรเจน  มีเลขออกซิเดชันได้ทั้ง  3 แบบ  คือ เป็นลบ  เป็นศูนย์ และเป็นบวก  (-1 , 0 , +1)

4.     O เมื่ออยู่ในสารประกอบปกติมีเลขออกซิเดชัน   -2   เช่น ใน H2O  K2O
* เมื่อในสารประกอบเปอร์ออกไซด์  (peroxide)  คือมีออกซิเจนเป็น 2 เท่าของออกไซด์ปกติ   มีเลข
    ออกซิเดชัน    -1 เช่น H2O2 K2O2 
*  เมื่ออยู่ในสารประกอบซุเปอร์ออกไซด์ (superoxide) คือมีออกซิเจนเป็น 4 เท่าของออกไซด์ปกติ เช่น KO2  

             หรือ  K2O4 มีเลขออกซิเดชัน -1/2
*  เมื่ออยู่ใน  OF2  เลขออกซิเดชันของ  O = +2 (สารเดียวเท่านั้น)
** ออกซิเจน มีเลขออกซิเดชันได้ทั้ง  3  แบบ คือ เป็นลบ  เป็นศูนย์  และเป็นบวก

5.   ธาตุฮาโลเจนหรือธาตุหมู่  7A( F  Cl Br  I )  เมื่ออยู่ในสารประกอบธาตุคู่  จะมีเลขออกซิเดชัน  -1  เช่น  HF  HCl    HBr  HI NaF  NaCl  NaBr NaI  แต่ถ้าอยู่ในสารประกอบที่มีมากกว่า 2  ธาตุ  เลขออกซิเดชันไม่
      แน่นอน  เช่น   HClO HClO2  HClO3  HClO4   เลขออกซิเดชันของ  Cl  เท่ากับ +1  +3  +5 และ  +7 
    ตามลำดับ
6.  F  ไม่ว่าจะอยู่ในสารประกอบใด ๆ มีเลขออกซิเดชันเพียงค่าเดียวคือ -1
7.   เลขออกซิเดชันของไอออนอะตอมเดี่ยวมีค่าเท่ากับประจุของไอออนนั้น   เช่น
        Na+   มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ   +1
        Ca2+  มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ   +2
        Cl-   มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ    -1
        O2-    มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ  -2
**  กำหนดให้เขียนแสดงไอออนกับเลขออกซิเดชันต่างกัน  คือ ไอออน ให้เขียนตัวเลขไว้หน้าเครื่องหมาย + หรือ – 
     เช่น 2+  หรือ  2-  เลขออกซิเดชันให้เขียนเครื่องหมายไว้หน้าตัวเลข  เช่น +2  หรือ  -2

       สำหรับไอออนที่เป็นกลุ่มอะตอม  จะมีผลรวมของเลขออกซิเดชันของทุกธาตุในไอออนนั้น  เท่ากับประจุของไอออน   เช่น  SO42-   ผลรวมของเลขออกซิเดชันของ   S  จำนวน  และ  O  เท่ากับ  -2  (อะตอมของธาตุ S มี 1  อะตอม อะตอมของ  O  มี  4  อะตอม )
                เขียนสมการว่า            S  + 4O  =  -2
8.    สมการแสดงผลรวมของเลขออกซิเดชันของสารหรืออนุภาคใดๆ  จะอยู่ในรูปแบบดังนี้
                       ผลรวมของเลขออกซิเดชันของทุกอะตอมในอนุภาค  = ประจุไฟฟ้าของอนุภาค
ตัวอย่าง  อนุภาคที่เป็นกลาง   เช่น  KNO3   KMnO4     KCrO4  K2Cr2O7       K2[Fe(CN)6]    รูปสมการจะเป็นดังนี้          
        KNO3                      ;    รูปสมการ  ;  K +N +3O  = 0            KMnO4            ;    รูปสมการ  ;   K + Mn + 4O  =  0   
        KCrO4            ;    รูปสมการ  ;   K+ Cr + 4O  = 0
        K2Cr2O7          ;    รูปสมการ  ;   2K + 2Cr +7O  = 0  
        K2[Fe(CN)6]   ;    รูปสมการ  ;   2K + Fe + 6CN-  = 0 
หรือ  2K +  6C  + 6N =  0

ตัวอย่าง  อนุภาคที่เป็นไอออนลบ  เช่น  CN-   SO42-  CO32-  PO43-  รูปสมการจะเป็นดังนี้

                CN-         ;    รูปสมการ  ;    C + N =  -1
                SO42-       ;    รูปสมการ  ;    S +  4O  =  -2
                CO32-      ;    รูปสมการ  ;    C +  3O  =  -2
                PO43-       ;   รูปสมการ  ;    P +  4O  =  -3

ตัวอย่าง  อนุภาคที่เป็นไปออนบวก  เช่น  NH4+  รูปสมการจะเป็นดังนี้
               NH4+         ;  รูปสมการ ;    N +  4H  =  +1

 

ตัวอย่าง จงหาเลขออกซิเดชันของอะตอมที่ขีดเส้นใต้    KMnO4     K2Cr2O7     MnO4-

วิธีทำ   KMnO4  สมการเป็นดังนี้         K + Mn  + 4O              =   0
                                                +1  + Mn  + 4 (-2)       =  0
                                                +1  + Mn  -8                =    0
                                                                Mn             = +7         ตอบ

          K2Cr2O7  สมการเป็นดังนี้             2K + 2Cr +7O           =   0
                                      2 (+1) +2Cr + 7 (-2)       =   0
                                                                    +2  + 2Cr -14        =  0
                                                               2Cr    = +12
                                                                                          Cr    =  +6      ตอบ

MnO4-   สมการเป็นดังนี้  ;                  Mn + 4O           =  -1
                                                     Mn + 4(-2)      = -1
                                                     Mn  - 8           =  -1

                                                            Mn         = +7    ตอบ

(คลิ้ก  ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องเลขออกซิเดชัน)

ตารางแสดงเลขออกซิเดชันของธาตุต่าง ๆ  เมื่ออยู่ในสารประกอบ


** สังเกต  ธาตุแทรนซิชันส่วนมากมีเลขออกซิเดชันหลายค่า แต่ธาตุแทรนซิชันบางธาตุมีเลขออกซิเดชันค่าเดียว  ได้แก่  ธาตุแทรนซิชันหมู่  3B  มีเลขออกซิเดชัน  +3 ค่าเดียว ; Ag = +1 ;  Ni =+2 ;  Zn = +2  ; Cd = +2 

 การหาเลขออกซิเดชันโดยสังเกตไอออนที่เป็นกลุ่มอะตอม 

                ถ้าสารประกอบมีไอออนที่เป็นกลุ่มอะตอม (polyatomicion) เป็นส่วนประกอบ ถ้าเราทราบประจุของไอออนจะช่วยให้หาเลขออกซิเดชันได้ง่ายขึ้น  เช่น  ต้องการหาเลขออกซิเดชันของ   Cr ใน   Cr(NH3)4SO4

วิธีเดิม    Cr(NH3)4SO4

Cr+ 4N +12H + S + 4O                            =    0
                Cr + 4(-3) + 12(+1) + 6 + 4(-2)         =    0
                Cr  -12 +  12  +6  -8                            =    0
                                                Cr                          =  +2
วิธีใช้กลุ่มไอออน   Cr(NH3)4SO4
                 Cr  +  4(NH3)+ (SO42-)             =   0
                Cr  + 4(0) + (-2)             =  0
                Cr  -  2                =   0
                                                Cr               =  +2

ไอออนชนิดกลุ่มอะตอมที่ควรทราบ

ไอออนที่เป็นกลุ่มอะตอม

ชื่อ

ไอออนที่เป็นกลุ่มอะตอม

ชื่อ

NH4+

แอมโมเนียมไอออน

MnO4-

เปอร์แมงกาเนตไอออน

CN-

ไซยาไนด์ไอออน

Cr2O72-

ไดโครเมตไอออน

NO2-

ไนไตรต์ไอออน

CrO42-

โครเมตไอออน

NO3-

ไนเตรตไอออน

[Fe(CN)6]3-

เฮกสะไซยาโนเฟอร์เรต(III)ไอออน

HSO4-

ไฮโดรเจนซัลเฟตไอออน

AsO43-

อาร์ซิเนตไอออน

SO42-

ซัลเฟตไอออน

BO33-

โบเรต

SO32-

ซัลไฟต์ไอออน

B2O54

ไดโบเรต

S2O32-

ไทโอซัลเฟตไอออน

ClO-

ไฮโปคลอไรต์ไอออน

H2PO4-

ไดไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน

ClO2-

คลอไรต์ไอออน

HPO42-

ไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน

ClO3-

คลอเรตไอออน

PO43-

ฟอสเฟตไอออน

ClO4-

เปอร์คลอเรตไอออน

HCO3-

ไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน

OH-

ไฮดรอกไซดด์ไอออน

CO32-

คาร์บอเนตไอออน

 

 


แบบฝึกหัด

1. (Ent.42มี.ค.)เลขออกซิเดชันของโลหะแทรนซิชันในสารประกอบต่อไปนี้

                [Cr(NH3)4SO4]    [Fe(H2O)5(OH)]Cl2   และ  K2[PtCl4]  เป็นดังข้อใดตามลำดับ

                1.  2 2  3                                2.  2 3  2                                3. 3  3  2                                4.  3 3  3

2. (Ent.42 ต.ค.)   ถ้าเลขอะตอมของ  X และ Y เท่ากับ  31  และ 38  ตามลำดับ  เลขออกซิเดชันของธาตุทั้งสองควรเป็นเท่าใดในสารประกอบ  และสารประกอบระหว่าง X และ Y ควรมีสูตรเป็นอย่างไร

                1.+3  +2   ไม่เกิด                 2.  -5  +2    Y5X2      3.  -3  +2    Y3X2  4. +3  -2    X2Y3

3.  (Ent.43 มี.ค.)เลขออกซิเดชันของโลหะอะตอมกลางในข้อใด  ต่อไปนี้  มีค่าสูงกว่า +2

                1.  [Cu(CN)4]2-                       2.  [CrCl6]4-            3. [Ni(NH3)4]2+      4.  [Fe(CN)6]3-

4. (Ent.43 มี.ค.) โลหะแทรนซิชันในสารประกอบใดที่เรียงลำดับเลขออกซิเดชันจากมากไปน้อย

                1.  ZnO  Cr2O3  WO3                                            2.  MoO3  TiO2  Mn2O7

                3.MnO2  Fe2O3  Cu2O                                          4.  K3Fe(CN)6  K2Cr2O7  KMnO4

5. (Ent.43 มี.ค.)  พิจารณาค่าพลังงานไอออไนเซชันของอลูมิเนียมดังต่อไปนี้

                Al(g) → Al+(g) + →   IE1 = 0.584 MJ/mol

                Al+(g) →  Al2+(g) + e-   IE2 = 1.823 MJ/mol

                Al2+(g) → Al3+(g)          IE3 = 2.751 MJ/mol

                Al3+(g) → Al4+(g)          IE4= 11.584 MJ/mol

                ข้อสรุปใดผิด

  1. การที่ค่า IEของอลูมิเนียมเพิ่มจาก IE1-IE4แสดงว่าอิเล็กตรอนตัวที่ 1 อยู่ใกล้กับนิวเคลียสมากกว่าตัวที่ 2  3 4  ตามลำดับ
  2. การที่ค่า IE3 และIE4แตกต่างกันมากแสดงว่าอิเล็กตรอนที่หลุดออกไปเป็นอิเล็กตรอนต่างกลุ่มกัน
  3. ขนาดของไอออนจะเล็กลงตามลำดับ  Al+ >Al2+ >Al3+ > Al4+
  4. อลูมิเนียมควรมีเลขออกซิเดชันเท่ากับ  +3 เมื่ออยู่ในสารประกอบ

6.  (Ent.43ต.ค.) กำหนดสูตรเคมีต่อไปนี้  CaF2  . 3Ca3(PO4)2    Sb2S3.3H2O    Na2ZrSiO5  ถ้าเลขออกซิเดชันของ   Si = +4  พิจารณาเลขออกซิเดชันในข้อต่อไปนี้

                ก.  เลขออกซิเดชันของ Pสูงกว่า +3  และของ Sb ต่ำกว่า +5

                ข.  เลขออกซิเดชันของ Sb สูงกว่า +2 และของ Zr ต่ำกว่า +1

                ค.  เลขออกซิเดชันของ Zr สูงกว่า +1 และของ  P เท่ากับ+5

                ง.  เลขออกซิเดชันของ Zr เท่ากับ  0  และของ Sb สูงกว่า +3

ข้อใดผิด

                1.  ก  ข                    2.  ก  ค                   3.  ข  ง                    4.  ค  ง

7.(Ent.44 มี.ค.) ผลรวมของเลขออกซิเดชันของอะตอมกลางในข้อใดที่มีค่ารวมกันน้อยที่สุด

                1.    K4[Fe(CN)6]  K3[Fe(CN)6]           [Ag(NH3)2)Cl

                2.  [Ag(NH3)2]Cl    K2[Ni(CN)4]           [Cr(H2O)6]SO4

                3.  [Fe(H2O)6]Cl2  [Ag(NH3)2]Cl         K2Cr2O7

                4.  K3[Fe(CN)6]     K2[Ni(CN)4]           K4[Fe(CN)6]

8. (Ent.45 ต.ค.) เลขออกซิเดชันของ P  S  และ  Zr  ในสารประกอบ 3 ชนิดต่อไปนี้เป็นเท่าใดตามลำดับ      NaNH4HPO4.4H2O        Na2S2O3.5H2O       ZrCl2O.8H2O

 

9. (A-net. 48)  ข้อใดเรียงลำดับเลขออกซิเดชันของโลหะแทรนซิชันในสารประกอบจากมากไปน้อยได้ถูกต้อง

                1.  [Co(NH3)4Cl2]Cl                              K2Cr2O7                                  Na2[Ni(CN)4]

                2.  K3[Fe(CN)6]                                     Na[Au(CN)2]                         [Co(NH3)4Cl2]Cl

                3.  Na[Au(CN)2]                                    K2Cr2O7                                  K3[Fe(CN)6]          

                4.  [Co(NH3)4Cl2]Cl                              K2[Ni(CN)4]                           Na[Au(CN)2]

 

10.  (คัดเลือกเคมีโอลิมปิค 44)  ธาตุแทรนซิชันในข้อใดมีเลขออกซิเดชันเท่ากับ +3

                1.  [Pd(NH3)4Cl2]                  2.  (PH4)2[Fe(H2O)Cl5]            3.  Cu2CO3(OH)2               4. K[Au(CN)2]

11. (คัดเลือกเคมีโอลิมปิค 43)  ข้อใดถูกต้องในการเรียงลำดับเลขออกซิเดชันของอะตอมที่ขีดเส้นใต้ในโมเลกุลหรือ
    ไอออน จากค่าสูงสุดไปหาค่าต่ำสุด

                1.  NaCl    NaClO   NaClO2                                                2.  SO42-  SO2  S8

                3.  (NH4)2Cr2O7  Cr2O3  CrO42-                                            4.  MnO2  Mn2O3  MnO4-

13.  (คัดเลือกเคมีโอลิมปิค 45)สารประกอบในข้อใดมีธาตุที่แสดงเลขออกซิเดชันสูงกว่าธาตุในข้ออื่น ๆ

                1.  VF5                     2.  K3[Mn(CN)6]                     3.  Na2SO4             4. [NH4][PF6]

 

14. (คัดเลือกเคมีโอลิมปิค 46)  ไอออนหรือสารประกอบใดต่อไปนี้ที่เฮโลเจนมีเลขออกซิเดชันเป็น+5

                1.  ICl4-                    2.  ClF3                                   3. IO3-                    4.  HIO2

 

15.  (คัดเลือกเคมีโอลิมปิค 46) สารประกอบเชิงซ้อนในข้อต่อใดไปนี้ โลหะแทรนซิชันในสารประกอบทุกชนิดมีเลขออกซิเดชันเท่ากัน

                1.  [Cr(H2O)5Cl]SO4  , [Co(NH3)4SO4]NO3  ,  K4[Fe(CN)6]

                2.  [Ni(CN)4]2-  , [Co(H2O)2(NH3)4]2+  , [Cr(NH3)4(Cl)2]

                3.  Na[Au(CN)2]  , [Ti(H2O)6]3+   ,  [Cr(NH3)4(Cl)2]+

                4.  [Cr(H2O)4Br2]+   , [Co(NH3)6]SO4   , [AuCl2]-

16. (PAT.2 ต.ค.52) ธาตุคาร์บอนคู่ที่มีค่าเลขออกซิเดชันแตกต่างกันน้อยที่สุดเป็นของโมเลกุลในข้อใด

                1.  CH3CH2Br                        2.  CH3CHO                          3. CH3CN             4.  CH3CH2Cl

17. (PAT.2  ก.ค.53) ผลรวมของเลขออกซิเดชันของธาตุแทรนซิชันคู่ใดมีค่าต่ำสุด

                1.  [FeSCN]2+  กับ  [Ni(NH3)6]Br2                                       2.  [Fe(CN)6]3-  กับ  [Cu(NH3)4]SO4

                3.  K4[Ni(CN)4]  กับ  K3[Fe(CN)6]                                       4.  K4[Fe(CN)6]  กับ  [CoCl(NH3)5]2+

 

Appeddix

1.  Which element will never have a positiveoxidation number?  (ธาตุใดไม่มีเลขออกซิเดชันที่มีค่าเป็นบวก)

    a. fluorine                         b.oxygen                              c.sodium                              d.iodine.

2. Give theoxidation numbers of all the elements in the following molecules and ions: (จงบอกเลขออกซิเดชันของแต่ละธาตุในโมเลกุลหรือไอออนต่อไปนี้)

a.   SO , SO2 ,  SO3 ,  SO32-,  SO42-                    b.   ClO2 , ClO -, ClO2-, ClO3- , ClO4-

c.   N2O , NO , NO2 , N2O4, N2O5 , NO2- , NO3-

 

3.   Determine the oxidation number of the sulfuratom:  (จงบอกเลขออกซิเดชันของซัลเฟอร์ในสารเหล่านี้)

a.   H2S                   b. S                         c.H2SO4                                d.  S2-                      e. HS-                     

f.SO2                      g. SO3

4.   Indicate the oxidation number of phosphorusin each of the following compounds:  (จงหาเลข     ออกซิเดชันของฟอสฟอรัสในสารประกอบต่อไปนี้)

a.HPO3                 b. H3PO4                c.H3PO2                d. H4P2O7             e. H3PO3                f.  H5P3O10

5.  Give oxidation numbers for the underlined atoms in these molecules and ions:  (จงหาเลขออกซิเดชันของอะตอมที่ขีดเส้นใต้ในโมเลกุลหรือไอออนต่อไปนี้)

a.Cs2O                  b.PtCl62-                 c.CaI2                    d.SnF2                   e.Al2O3

f.ClF3                     g.H3AsO3               h.SbF6                   i.TiO2                     j.P4

k.MoO42-                l.MnO4-                  m.PtCl42-                     n. O2                    o. O3

6.  Assign oxidation numbers to each atom in  NiCl2 ,  Mg2TiO4,  K2Cr2O7 ,  SO32-.  (จงบอกเลขออกซิเดชันของแต่ละธาตุในสารต่อไปนี้)

 

7.  Assign oxidation numbers to the underlinedatoms.   (a) ClO4-  , (b) CrCl, (c) SnS, (d) Au(NO3)3. (จงหาเลขออกซิเดชันของอะตอมที่ขีดเส้นใต้ในโมเลกุลหรือไอออนต่อไปนี้)

 

8.Assign oxidation numbers to the elements in the following: (a) Ca(VO3), (b) SnCl4  , (c) MnO4, (d)     MnO2. (จงหาเลขออกซิเดชันของแต่ละธาตุในสารต่อไปนี้)

9.  Molybdenum disulphide,MoS2, has a structure that allows it to behave as a dry lubricant,much like  graphite. What are theoxidation numbers of the atoms in MoS2?
(โมลิบดินัมไดซัลไฟด์,MoS2 มีโครงสร้างพิเศษใช้ทำสารหล่อลื่นชนิดแห้งได้เช่นเดียวกับแกรไฟต์  จงหาเลขออกซิเดชันของ Mo ในสารดังกล่าวนี้)

10.Supply the oxidation number of the underlined element in the following formulas; (จงหาเลขออกซิเดชันของธาตุที่ขีดเส้นใต้ในสารประกอบต่อไปนี้)

a) Zn3(PO4)2                          b) NaNO2                             c) SnBr2                                d) HSbO2,

e) Mg(MnO4)2                        f) NH4NO3

11.  Assign oxidation numbers to each of the atomsin the following compounds:  (จงบอกเลขออกซิเดชันของแต่ละธาตุในสารประกอบต่าง ๆ ต่อไปนี้)

Na2CrO4                Na=                       O =                         Cr =

K2Cr2O7                 K =                          O =                         Cr =

CO2                       O =                         C =

CH4                        H =                         C =

HClO4                   O =                         H =                         Cl =

MnO2                    O =                         Mn =

SO32-                    O =                         S =

SF4                       F =                          S =

 

 



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 65.02 KBs
Upload : 2012-12-31 05:55:29
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


K-Me
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 1.147304 sec.