K-Me Article


กรด - เบส ตอนที่ 3 การแตกตัวของน้ำบริสุทธิ์และ pH ของสารละลาย

กรด – เบส
ตอนที่  3  การแตกตัวของน้ำบริสุทธิ์และ  pH
  ของสารละลาย

การแตกตัวของน้ำบริสุทธิ์ 

                ตามที่เคยทราบว่าน้ำบริสุทธิ์มีสมบัติเป็นกลาง (neutral) คือไม่เป็นกรดไม่เป็นเบสนั้น  มาถึงขั้นนี้ต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมว่าน้ำบริสุทธิ์ยังมีความเป็นกลางอยู่  แต่โมเลกุลของน้ำจะเป็นได้ทั้งกรดและเบสตามทฤษีของบรอนสเต็ตและเลาว์รี  และทฤษฎีของลิวอิส  ดังรูป

 (คลิ้ก ชมโมเลกุลของน้ำบริสุทธิ์)

  (คลิ้ก  ชมวีดีทัศน์แสดงการแตกตัวของน้ำ)




การแตกตัวของน้ำบริสุทธิ์เป็นปฏิกิริยาที่ผันกลับได้จึงมีภาวะสมดุลเกิดขึ้น  ดังสมการ
                                                H2O + H2O  ↔ H3O+  +  OH-                                              
                                                2H2O ↔ H3O+  +  OH-
 

                ค่าคงที่สมดุล  ( K )  เป็นดังนี้  ; 

                                        

                              K[H2O]2  =  [H3O+]  [OH-
                กำหนดให้เรียก  K[H2O]2  ว่า  ค่าคงที่สมดุลของน้ำบริสุทธิ์  ใช้สัญลักษณ์ว่า  Kw  ฉะนั้น
                                Kw      =     [H3O+]  [OH-

                จากสมการจะเห็นว่า  [H3O+]  = [OH- ]  ฉะนั้น     Kw      =     [H3O+]2 =  [OH- ]2 
                ค่า  Kw เป็นค่าคงที่  =  1.0 x 10-14  (mol/dm3)2  ณ อุณหภูมิ  25  oC
                เมื่อแทนค่า  Kw  ลงไปในสมการจะเป็นดังนี้  ;  1.0 x 10-14  =    [H3O+]2 =  [OH-]2 
                ถอดรากที่  2  จะเป็นดังนี้                            1.0 x 10-7  =    [H3O+] =  [OH-]
                ดังที่ทราบมาในตอนต้นแล้วว่า    H3O+  ทำให้สารละลายเป็นกรด  ในขณะที่  OH-  ทำให้สารละลายเป็นเบส  แต่ในน้ำบริสุทธิ์มี  [H3O+] =  [OH- ]  ฉะนั้นน้ำบริสุทธิ์จึงเป็นกลาง  (Neutral)

                จากสมการ   [H3O+]  =  [OH- ]      =    1.0 x 10-7     
                ความเป็นกรดน้ำ  แสดงด้วยค่า  Ka  ดังนี้

ความเป็นเบสของน้ำ  แสดงด้วยค่า  Kb  ดังนี้



**  ผลคูณระหว่าง  Ka.Kb  =  (1.0 x 10-7)(1.0 x 10-7)     
                                  =  1.0 x 10-14  (ค่านี้คือค่า  Kw)
       ฉะนั้นจึงแสดงในรูปสมการได้ว่า  ;  Ka.Kb  =  Kw  สมการนี้มีความสำคัญซึ่งจะต้องใช้มากในเรื่องกรดอ่อนและเบสอ่อน

ระดับความเป็นกรด-เบส (pH)
            น้ำ
บริสุทธิ์เป็นระบบที่มีภาวะสมดุล  ดังสมการ   2H2O ↔ H3O+  +  OH-   ในขณะที่เป็นน้ำบริสุทธิ์  [H3O+]  = [OH- ]  น้ำบริสุทธิ์จึงเป็นกลาง (neutral)  แต่น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดี  จึงมีสารต่าง ๆ  ละลายอยู่ในน้ำได้มากมายทำให้น้ำบริสุทธิ์กลายเป็นสารละลาย 

                สารบางชนิดแม้จะละลายอยู่ในน้ำแต่ไม่ได้รวบกวนภาวะสมดุลของน้ำ  ฉะนั้นในสารละลายจึงมี [H3O+]  = [OH- ]  เสมือนหนึ่งเป็นน้ำบริสุทธิ์  สารละลายประเภทนี้จึงเป็นกลาง  เช่นสารละลายน้ำตาลทราย  สารละลายเกลือแกง

                ในขณะเดียวกันมีสารอีกเป็นจำนวนมากที่ละลายน้ำแล้วมีการรบกวนภาวะสมดุลของน้ำ  ซึ่งมีความเป็นไปได้  2  แบบ  คือ  สารบางชนิดเมื่อละลายน้ำแล้วจะไปเพิ่ม [H3O+]  หรือ [H+]   ทำให้  [H3O+]  >  [OH- ]   กลายเป็นสารละลายกรด  แต่สารบางชนิดเมื่อละลายน้ำแล้วจะไปเพิ่ม [OH- ]   ทำให้  [OH- ]    >  [H3O+] กลายเป็นสารละลายเบส
                ให้คิดเอาไว้เสมอว่าไม่ว่าจะเป็นสารละลายกรดหรือสารละลายเบส  ในสารละลายก็จะมีทั้ง  H3O+  และ  OH-  ละลายอยู่ทั้ง  2  ชนิด  และ  [H3O+][OH- ]    =    Kw

                ความเป็นกรดหรือเบสมีได้หลายระดับ  เรียกว่า  pH  กำหนดให้คิดจากค่า  -log[H3O+]  หรือ  -log[H+]  ที่มีอยู่ในสารละลายนั้น ๆ  ดังสมการ
                                                pH = -log[H3O+]  หรือ  -log[H+] 

                pH  ของน้ำกลั่น    =  -log[H3O+
                                                =  -log 1.0 x 10-7     
                                                =  7 log 10 – log 1
                                                =  7
                ถ้าคิดค่า  -log[OH-]  ค่าที่ได้จะเรียกว่า  pOH  ดังสมการ
              pOH  ของน้ำกลั่น   = -log[OH-
                                                =  -log 1.0 x 10-7     
                                                =  7 log 10 – log 1
                                                =  7

                ถ้านำค่า  pH รวมกับ  pOH  จะได้  =  14  ดังสมการ
                                pH  +   pOH   =  14
                                          pH      =  14 – pOH


การคิดค่า  pH  ของสารละลายกรดแก่ เบสแก่ กรดอ่อนและเบสอ่อน  ศึกษาจากตัวอย่างต่อไปนี้
         
ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงการหา  pH  ของสารละลายกรดแก่  เบสแก่  กรดอ่อนและเบสอ่อน  ซึ่งแต่ละชนิดมีความเข้มข้น  1  mol/dm3  เท่ากัน
            1.  pH  ของสารละลายกรดแก่
                  สารละลายกรดแก่  HCl  ความเข้มข้น  1.00  mol/dm3  มี  pH  เท่าไร
วิธีคิด  กรด  HCl เป็นกรดแก่  จึงแตกตัว  100%  ดังสมการ
                     HCl + H2O   →   H3O+  +  Cl-
เริ่มต้น         1 mol/dm3             -             -
สิ้นสุด          -                         1 mol/dm3             
                pH  =  -log[H3O+]    =  -log  1   =  0   ตอบ    

 

          2.  pH  ของสารละลายเบสแก่
                     สารละลายเบสแก่  NaOH  ความเข้มข้น  1.00  mol/dm3  มี  pH  เท่าไร
วิธีคิด  เบส  NaOH  เป็นเบสแก่  จึงแตกตัว  100%  ดังสมการ
                     NaOH   →   Na+  +  OH-
เริ่มต้น           1 mol/dm3    -             -
สิ้นสุด                 -             1 mol/dm3           
                การหาค่า  pH  ของสารละลายเบสทำได้  2  วิธี  คือ  หาค่า   pOH  โดยตรงจาก –log[OH-]   แล้วเปลี่ยนเป็น  pH  จากสมการ  pH  =  14  -  pOH  ดังตัวอย่าง
                pOH     =  –log[OH-]  
                           =  –log[1]  
                           =   0
                pH       =  14 -  pOH
                           =  14  -  0
                           =  14   ตอบ
            อี
กวิธีหนึ่งคือเมื่อทราบ  [OH-]  นำไปหาค่า  [H3O+]    แล้วจึงหาค่า  pH  ดังตัวอย่าง
                                  [H3O+]  [OH-]   =  Kw    
                                                [H3O+]   =  Kw /[OH-]   = (1.0 x 10-14) / 1  =  1.0 x 10-14

                                                pH         =   -log[H3O+
                                                             = -log1.0 x 10-14
                                                             =  14log10  - log 1
                                                             =  14    ตอบ
 
 

           3.  pH  ของสารละลายกรดอ่อน
        ก
ารหา  pH  ของสารละลายกรดอ่อนต้องทราบความเข้มข้นของสารละลายและค่า  Ka  ของกรดอ่อนนั้นด้วย  เช่น  สารละลายกรดอ่อน  HA  ความเข้มข้น  1.00  mol/dm3  มีค่า  Ka  =  1.0 x 10-4  สารละลายมี  pH  เท่าไร

 

วิธีคิด                HA    +    H2O    ↔    H3O+   +    A-   ;  Ka = 1.0 x 10-4 
         เริ่มต้น    1.00 mol/dm3               -              -
  เปลี่ยนแปลง   x mol/dm3                  x mol/dm3    x mol/dm3
   สมดุล         1.0-x mol/dm3              x   mol/dm3  x   mol/dm3
                                       Ka   =     [H3O+][A-] / [HA]          

                            1.0 x 10-4    =     [H3O+]2 / 1        

                            1.0 x 10-4    =     [H3O+]2        

                                [H3O+]    =             1.0 x 10-2  mol/dm3

                                pH          =             -log[H3O+]
                                              =             -log  1.0 x 10-2
                                                              
=             2              ตอบ



          4.  pH  ของสารละลายเบสอ่อน

              ารหา  pH  ของสารละลายเบสอ่อนต้องทราบความเข้มข้นของสารละลายและค่า  Kb  ของเบสอ่อนนั้นด้วย  เช่น  สารละลายเบสอ่อน  BOH  ความเข้มข้น  1.00  mol/dm3  มีค่า  Kb  =  1.0 x 10-4  สารละลายมี  pH  เท่าไร  การหาค่า  pH  ของสารละลายเบสอ่อนทำได้  2  แบบ  ทำนองเดียวกับเบสแก่  คือ  หา  pOH  เมื่อทราบ [OH-]  แล้วจึงเปลี่ยนเป็น  pH  จากสมการ  pH  =  14 – pOH    หรือจะใช้วิธีเปลี่ยน  [OH-]  ให้เป็น  [H3O+]  เสียก่อนแล้วจึงหา  pH  ก็ได้

วิธีคิด  วิธีที่  1  หา  [OH-]   แล้วหา  pOH  แล้วเปลี่ยนเป็น  pH
                                      BOH           ↔        B+         +        OH-          ;  Kb =  1.0 x 10-4 
                   เริ่มต้น    1.00 mol/dm3                                          -                         -
           เปลี่ยนแปลง   x mol/dm3                      x mol/dm3       x mol/dm3
                   สมดุล     1.0-x mol/dm3               x mol/dm3       x mol/dm3
                                                 Kb          =     [B+][OH-]          

                                       1.0 x 10-4          =     [x]2        

                                                [x]           =      1.0 x 10-2

                                               [OH-]         =     1.0 x 10-2  mol/dm3

                                                pOH          =      -log[OH-]
                                                                =      -log  1.0 x 10-2
                                                                                     
=             2             
                                                pH            =      14-pOH
                                                                =     14 - 2
                                                                =          12         ตอบ

      วิธีที่  2  หา  [OH-]  แล้วเปลี่ยนเป็น  [H3O+]  แล้วหา  pH   

                                        BOH               ↔              B+            +             OH-          ;  Kb =  1.0 x 10-4 
                   เริ่มต้น    1.00 mol/dm3                              -                              -
           เปลี่ยนแปลง   x mol/dm3                              x mol/dm3                 x mol/dm3
                   สมดุล         1.0-x mol/dm3                   x mol/dm3                 x mol/dm3
                                                 Kb          =         [B+][OH-]      

                                1.0 x 10-4                =          [x] [x]         

                                1.0 x 10-4                =          [x]2  
                                                [x]          =         1.0 x 10-2

                                                [OH-]      =         1.0 x 10-2  mol/dm3
                จากสมการ                  [H3O+]     =         Kw / [OH-]      =  1.0 x 10-14 / 1.0 x 10-2           
                                                              =  1.0 x 10-12  mol/dm3

                                                                        pH     =  -log[H3O+]
                                                               =  -log  1.0 x 10-12 
                                                               =  12  ตอบ 

 

(คลิ้ก  ทดลองเสมือนจริงและการคำนวณค่า pH)  

(คลิ๊ก  ชม  pH scale ) 


แบบฝึกหัด
Basic rule 

        The pH of a solution indicates how acidic or basic that solution is.

                        pH range of 0-7      acidic

                                            7     neutral

                                         7-14    basic

 

Since [H+]·[OH-] = 10-14 at 25°C, if [H+] is known, the [OH-] can be calculated and vice versa. 

                        pH = -log [H+]               So if [H+] = 10-6 M, pH = 6

                        pOH = -log [OH-]           So if [OH-] = 10-8, pOH = 8

 

Together, pH + pOH = 14.


1.  What is the pH of a 0.400 M ammonia solution? (Kb =  1.8 x 10-5)  Write the reaction for the dissociation of
     ammonia in water.  Water is part of the reaction. (สารละลายแอมโมเนียความเข้มข้น  0.400 M  มี  pH  เท่าไร  จง
     เขียนสมการแสดงการแตกตัวของน้ำ  โดยให้น้ำเป็นส่วนหนึ่งของปฏิกิริยาด้วย)

 

 

2.  If the pH of a solution of calcium hydroxide is 9.5, what is the concentration of  the solution?       
    (ถ้าสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์มีค่า  pH  9.5  อยากทราบว่าสารละลายดังกล่าวมีความเข้มข้นเท่าไร)

 

3.  The pH of an ammonia solution is 9.5.  What is the concentration of the solution?  Kb=1.8x10-5
     (ถ้าสารละลายแอมโมเนียมี  pH  9.5  อยากทราบว่ามีความเข้มข้นเท่าไร)

 

4.  What is the pH of an NaOH solution that is 0.25 Molar? 
     (สารละลาย  NaOH  ความเข้มข้น  0.25 Molar  มี  pH  เท่าไร)

 

5.  What is the molarity of a hydrochloric acid solution that has 12.5g dissolved in 2.0 liters.  What is the pH of the
    solution?  Write the dissociation for the dissolving of the acid.
    (เมื่อใช้กรดไฮโดรคลอริก  12.5g  ทำให้เป็นสารละลาย  2.0  ลิตร  อยากทราบว่าสารละลายจะมี  pH  เท่าไร  จงเขียน
    สมการแสดงการแตกตัวของกรดด้วย)

 

6.  What is the molarity of a sodium hydroxide solution that has 12.5g dissolved in 2.0 liters.

    What is the pH of the solution?  Write the dissociation for the dissolving of the base.
    (เมื่อใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์  12.5g  ทำเป็นสารละลาย  2.0 liters  อยากทราบว่าสารละลายจะมี  pH  เท่าไร  จงเขียน
    สมการแสดงการแตกตัวบองเบสด้วย) 

 

7.  What is the pH of a sample of gastric juice whose hydronium ion concentration is 4.5 x 10-2 M?
     a)   1.65            b)   1.15                 c)   0.65                 d)   2.35                 e)   1.35
    (ตัวอย่างของน้ำย่อยในกระเพาะอาหารมีความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน  4.5 x 10-2 M  อยากทราบว่ามี pH  เท่าไร)

  

8.  The hydronium ion concentration of a wine is 1.4 x 10-4 M. What is the pH of the wine?
     a)   3.15            b)   2.15                 c)   2.85                 d)   4.14                 e)   3.85
    (ถ้าไวน์ชนิดหนึ่งมีความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน  1.4 x 10-4 M  อยากทรายว่าไวน์ดังกล่าวมี  pH  เท่าไร)

  

9.  Arterial blood has a hydrogen ion concentration of 4.0 x 10-8 M. What is the pH of blood?
    (โลหิตแดงมีความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน = 4.0 x 10-8 M อยากทราบว่ามี  pH  เท่าไร)
    a)   8.40             b)   7.60                 c)   6.40                 d)   8.60                 e)   7.40

 

10. Calculate (a) the pH and (b) the percent ionization of a 0.250 M HC2H3O2 solution. Ka(HC2H3O2) = 1.8 x 10-5.  
     (The formula for acetic acid may also be written as CH3COOH.)
     (Ans.  a.  pH = 2.67  b.  percent ionization = 0.85)

                                                HC2H3O2         H+       +    C2H3O2
    (จงคำนวณหา  a. pH  b.  ร้อยละในการแตกตัว  ของสารละลาย  HC2H3O2  ความเข้มข้น  0.250 M  ซึ่งมีค่า 
    Ka= 1.8 x 10-5.) 

 

11. Calculate the pH of a 0.600 M solution of methylamine CH3NH2. Kb = 4.4 x 10–4.  (Ans. pH = 12.21)

                                     CH3NH2+H2O   ↔  CH3NH3+ +OH
       (สารละลายเมทิลเอมีน  ,  CH3NH2  ความเข้มข้น  0.600 M  และมีค่า  Kb = 4.4 x 10–4.  สารละลายดังกล่าวมี  pH 
       เท่าไร)

 

12. The pH of a 0.10 M solution of a weak base is 9.67. What is the Kb of the base?
      (สารละลายเบสอ่อนชนิดหนึ่งขณะมีความเข้มข้น  0.10 M  มี pH  9.67  อยากทราบว่าเบสดังกล่าวนี้มีค่า  Kb เท่าไร) 
      (ตอบ  2.2 x 10-8)

 

13. Use the following acidity constants to help answer the questions a-d: (จงใช้ค่าที่กำหนดให้ต่อไปนี้ในการตอบ
      คำถามข้อ a-d)

      Ka(HC2H3O2) = 1.8 x 10 – 5 ;        Ka(HCN) = 4.9 x 10 – 10 ;         Ka(HCOOH) = 1.7 x 10 - 4

(a)     Which of the three acids is the weakest? (กรด  3  ชนิดดังที่กำหนด  กรดใดอ่อนที่สุด) ……………………….

(b)    Which of the following bases is the strongest: C2H3O2-, CN - , or HCOO- ? (ระหว่าง  C2H3O2-, CN - , HCOO- เบสชนิดใดแก่ที่สุด)__________

(c)     What is the pKa of HCN? (ค่า  pKa  ของ  HCN  เป็นเท่าไร) ; ตอบ  9.31

(d)    What is the Kb for CN- ?  (ค่า  Kb  ของ  CN-  เป็นเท่าไร) ; ตอบ  2.04 x 10-5

 

14.  What is the pH of a 0.25 M solution of HF if the Ka = 6.8x10-4?
       (สารละลายกรด  HF  ความเข้มข้น  0.25 M  มี  pH  เท่าไร  ถ้า  Ka = 6.8x10-4)

 

15.  If the pH of HC3H5O2  is 4.2 and the Ka = 1.34x10-5
     ( ถ้า  pH  ของสารละลาย  HC3H5O2  = 4.2  และมีค่า  Ka = 1.34x10-5 )

  15.1  what is the equilibrium concentration of HC3H5O2? (ความเข้มข้นของสารละลายเป็นเท่าไร) 

 

 

  15.2  what was the initial concentration of HC3H5O before dissociation?
                (ความเข้มข้นของ  HC3H5O  ก่อนการแตกตัวเป็นเท่าไร)

 

16.  If you are given a 0.40 M solution of Hydrochloric acid what is the pH?
      (สารละลายกรดไฮโดรคลอริกความเข้มข้น  0.40 M  มี  pH  เท่าไร)

 

17.   What is the pH of a 0.030 M KOH? (สารละลาย  KOH  ความเข้มข้น  0.030 M  มี  pH  เท่าไร)                                                                      

 

18.   What is the pH of a 4.5x10-3 M NaOH?   (สารละลาย  NaOH  ความเข้มข้น  4.5x10-3 M  มี  pH  เท่าไร                                                                        

 

19. If the pH is 12.2 what was the initial concentration of the base?
      (สารละลายชนิดหนึ่งมี  pH 12.2  อยากทราบว่าความเข้มข้นเริ่มต้นของสารละลายเบสเป็นเท่าไร)                                  

 

20.  0.50 M NH3 has a Kb = 1.8x10-5  (กำหนดให้สารละลาย  NH3  มีความเข้มข้น  0.50 M  และมีค่า  Kb= 1.8x10 -5)  

  20.1  what is the concentration of OH- at equilibrium? (ความเข้มข้นของ  OH-  ในภาวะสมดุลเป็นเท่าไร)

 

  20.2  what is the pOH of this solution? (ค่า  pOH  ของสารละลายเป็นเท่าไร)

 

  20.3  what is the pH of  this solution? ( pH  ของสารละลายเป็นเท่าไร)

 

 

 

21.  If the pH of a weak base solution is 9.5 and the original concentration of base was 0.30 M
      (สารละลายเบสอ่อนชนิดหนึ่งมี  pH = 9.5  และความเข้มข้นเริ่มต้นของสารละลายเบสคือ  0.30 M )

      a.   what is the pOH? (ค่า  pOH  เป็นเท่าไร)

 

     b.  what is the concentration of OH-?  (ความเข้มข้นของ  OH-  เป็นเท่าไร)

 

     c.  what is the Kb of the base?  (ค่า  Kb  ของเบสดังกล่าวนี้เป็นเท่าไร)

 

22.  If the pH is equal to 8.7 and the Kb = 9.6x10-7  what was the original concentration of the base?
     (สารละลายเบสชนิดหนึ่งมี  pH = 8.7  และมีค่า  Kb = 9.6x10-7  อยากทราบว่าความ  เข้มข้นเริ่มต้นของสารละลายเบสเป็นเท่าไร)

 

23.  A 0.20 M solution of the hypothetical weak acid HZ is found to have a pH of exactly 3.0. The ionization
      constant, Ka, of the acid HZ is

        (A)  0.6             (B)  1.0 x10-3            (C)  2.0 x 10-4                   (D)  5.0 x 10-6
     (สารละลายของกรดอ่อนสมมติ  HZ  มีความเข้มข้น  0.20M  พบว่ามี  pH  ประมาณ  3.0  อยากทราบว่าค่า  Ka เป็นเท่าไร) ; ตอบ 5.0 x 10-6

 

24.  What is the pH of a 1.0 M solution of aniline? (Kb = 4 x 10-10)

        (A)  4.7        (B)  9.3        (C)  9.4        (D)  None of these
     (สารละลายอนิลีนความเข้มข้น  1.0 M  มีค่า  Kb = 4 x 10-10 อยากทราบว่ามี  pH  เท่าไร) ; ตอบ 9.3

 

25.  The pH of a 0.10 M solution of a weak acid is 5.40. What is the Ka of the acid?

        (A)  1.6 x 10-10             (B)  3.2 x 10-10               (C)  l .6 x 10-8           (D)  8.0 x 10-8
      (ถ้าสารละลายของกรดอ่อนชนิดหนึ่ง  ขณะที่มีความเข้มข้น  0.10 M  มี  pH  5.40  อยากทราบว่าค่า  Ka  ของกรดนี้เป็นเท่าไร) ; ตอบ 1.6 x 10-10

 

26.  Determine the pH of a 0.10 M CH3COOH solution.   (Ka = 1.8 x 10-5) 
      (จงหา  pH  ของสารละลาย  CH3COOH  ซึ่งมีความเข้มข้น  0.10 M  และมีค่า  Ka = 1.8 x 10-5)  ; ตอบ 2.87

 

27.  Determine the pH of a 0.05 M NH3.  (Kb= 1.8 x 10-5)

            NH3(aq) + H2O(l) NH4+(aq) + OH-(aq)
     (จงหา  pH  ของสารละลาย  NH3  ซึ่งมีความเข้มข้น  0.05 M  และมีค่า  Kb= 1.8 x 10-5) ;  ตอบ  11

 

28.  A 0.10 molar solution of HC2H3O2 is 1.3% ionized.  What is the pH of this solution?
      (ถ้าสารละลาย  HC2H3O2  ความเข้มข้น  0.10 M  มีการแตกตัว  1.3%  อยากทราบว่าสารละลายมี  pH  เท่าไร) 
      ตอบ 2.89

 

29.  Determine the percent dissociation of a 2.25 M weak base solution with a pH = 11.8
      (สารละลายเบสอ่อนชนิดหนึ่งขณะมีความเข้มข้น  2.25 M  พบว่ามี  pH  11.8  อยากทราบว่ามีร้อยละในการแตกตัวเท่าไร) ;  ตอบ 0.28

 

30.  Chloroacetic acid ClCH2COOH, has a Ka of 1.4 x 10-4.  (ถ้ากรดคลอโรอะซิติกมีค่า  Ka = 1.4 x 10-4 )

    (A)  Calculate [H+] for 1 L of  a 0.100 M solution of this acid.
          ( จงหาความเข้มข้นของ  H+ ในสารละลายของกรดชนิดนี้ซึ่งมีความเข้มข้น   0.100 M ) ; ตอบ [H+] = 0.0037

 

    (B)  What would the pH of the above solution be if you added 0.100 moles of HNO3?
          (assume no volume change)
         (ถ้าเติมกรด  HNO3  ลงไป  0.100  โมล  สารละลายจะมี  pH  เท่าไร  สมมติว่าปริมาตรของสารละลายไม่เปลี่ยนแปลง)  ; ตอบ  pH = 1

 

 

 

31Complete the following chart:  (จงเติมข้อมูลลงในตารางต่อไปนี้ให้สมบูรณ์) 

 

[H+]

pH

[OH-]

pOH

Acidic or Basic


1.

 


10-5 M

 


5


10-9 M


9


Acidic


2.

 

 

 

 


7

 

 

 


3.

 

 

 

 

 


10-4 M

 

 


4.

 


10-2 M

 

 

 

 

 

 

 


5.

 

 

 

 

 


11

 

 

 

 

6.

 

 


12

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

7.

 

 

 


10-5 M

 

 

 

 

 


8.

 


10-11 M

 

 

 

 

 

 

 


9.

 

 

 

 


13

 

 

 

 


10.

 

 


6

 

 

 

 

 

 

32. Calculate the pH of the solutions below. (จงคำนวณหา  pH  ของสารละลายต่าง ๆ ตามที่กำหนดให้ต่อไปนี้)

1. 0.01 M HCl

 

 

 

2. 0.01 M NaOH

 

 

 

3. 2.00 M NaOH

 

 

 

 

4.  2.00 M HBr

 

 

 

 

 

5.  2.0 M HC2H3O2 (Assume 5.0% dissociation.)

 

 

 

 

 

33.  The pH of a solution is determined to be 4.56.  What is the [H3O+]?  (สารละลายซึ่งมี  pH  4.56  จะมี  [H3O+
       เท่าไร) 

 

34. Determine the  [H3O+] and the  [OH-] of the following solutions:
     (จงหา  [H3O+] และ  [OH-]  ในสารละลายที่กำหนดในแต่ละข้อ  )

    a)       a solution with a pH of 5.85.  (สารละลายซึ่งมี  pH = 5.85)

 

    b)      a solution with pH of 11.3.  (สารละลายซึ่งมี  pH = 11.3)

 

35.   What is the pH and the pOH of the following solutions?  (สารละลายแต่ละชนิดต่อไปนี้มี  pH  และ  pOH  เท่าไร)

      a)   0.000005 M solution of HBr (acid) (สารละลายกรด  HBr  ความเข้มข้น 0.000005 M )

 

      b)    2.45 x 10-3 M solution of KOH (base) (สารละลายเบส  KOH  ความเข้มข้น  2.45 x 10-3 M )

 

36. Calculate the pH, pOH, [OH-] and [H3O+] for the following solutions: 
     (จงหา  pH, pOH, [OH-] และ  [H3O+] ของสารละลายต่อไปนี้)

                a) 0.00082 M HNO3                                                                        c) 1.5 x 10-4 M KOH

 

                b) strawberries with a pH = 3.55                                                      d) soap with a pH of 10.8

 

38. Calculate the pH and pOH of the following solutions: (จงหา  pH  และ  pOH  ของสารละลายต่อไปนี้)

      a) [H+] = 1 x 10-6 M                              c) [H+] = 7.4 x 10-8 M                           e) [H+] = 3.22 x 10-3 M

 

      b) [OH-] = 1 x 10-9 M                            d) [OH-] = 9.9 x 10-11 M                       f) [OH-] = 5.76 x 10-2 M

39. Calculate [H+] and [OH-] for the following solutions: (จงหา  [H+] และ [OH-] ของสารละลายต่อไปนี้

     a) a solution with pH = 11                  c) a solution with pH = 2.45              e) a solution with pOH = 1.3

 

    b) a solution with pH = 8.5                d) a solution with pOH = 7                           &



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 16.89 KBs
Upload : 2013-08-03 06:28:35
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


K-Me
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.584697 sec.