K-Me Article


กรด-เบส ตอนที่ 4 ปฏิกิริยาระหว่างกรด-เบสและเกลือ

กรด-เบส (Acid – Base)
ตอนที่ 4  ปฏิกิริยาระหว่างกรด-เบส
                จากทฤษฎีกรด-เบส  3  ทฤษฎีดังที่กล่าวไว้ในตอนแรก  ซึ่งมีข้อกำหนดในการแสดงความเป็นกรดหรือเบสแตกต่างกันอยู่บ้าง  ฉะนั้นเมื่อกล่าวถึงปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบสจึงต้องพิจารณาพร้อมกันไปด้วยว่าเป็นไปตามทฤษฎีใด  แต่อย่างไรก็ตามลักษณะของปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบสถ้าพิจารณากันในภาพรวมแล้ว  จะเป็นลักษณะของปฏิกิริยาในทางปริมาณสารสัมพันธ์ (Stoichiometry)  เช่นเดียวกับปฏิกิริยาทั่ว ๆ ไป   เพียงแต่จำกัดชนิดของสารตั้งต้นว่าเป็นกรดกับเบสเท่านั้น  ถ้าพิจารณาปฏิกิริยาระหว่างกรด – เบส  ตามทฤษฎีของอาร์รีเนียส  รูปแบบของปฏิกิริยาจะเป็นดังนี้
                                กรด + เบส  → เกลือ  +  น้ำ  เรียกปฏิกิริยาลักษณะนี้ว่า  Neutralization  หรือปฏิกิริยาสะเทิน  มีผลิตภัณฑ์สำคัญที่เกิดขึ้นก็คือเกลือ 
                            (คลิ้ก  ชมลักษณะของปฏิกิริยา Nutralization) (คลิ้ก  ชมปฏิกิริยาระหว่างกรด-เบสเพิ่มเติม)
                เกลือ (salt) เป็นสารไอออนิกที่ประกอบด้วยไอออนบวกของโลหะ เช่น  Na+  K+  Ba2+  Fe2+  Zn2+ …(รวมทั้ง  NH4+)  รวมตัวกับคู่เบสของกรด  เช่น  Cl-  (เป็นคู่เบสของ  HCl) , NO3-  (เป็นคู่เบสของ  HNO3) , CH3COO-  (เป็นคู่เบสของ  CH3COOH)….  เมื่อเกลือละลายน้ำ  เกลือบางชนิดจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส  ทำให้สารละลายไม่เป็นกลาง 
                ปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส (Hydrolysis)  คือปฏิกิริยาที่โมเลกุลของน้ำ (H2O)  ทำปฏิกิริยากับอนุภาคของสารซึ่งละลายอยู่ในน้ำ  ทำได้  2  แบบคือ  โมเลกุลของ H2O  ให้  H+  ให้แก่อนุภาคอื่น  ทำให้กลายเป็น OH-  กรณีนี้  H2O  แสดงสมบัติเป็นกรด  อีกแบบหนึ่งคือโมเลกุลของ  H2O  รับ  H+  จากอนุภาคอื่นทำให้กลายเป็น  H3O+  กรณีนี้  H2O  แสดงสมบัติเป็นเบส  เช่น
                CH3COO-  +  H2O  ↔  CH3COOH  +  OH-  ;  กรณีนี้  H2O  แสดงสมบัติเป็นกรด คือให้  H+  แก่  CH3COO-
                NH4+  +  H2O ↔  NH3  +  H3O+  ;  กรณีนี้  H2O  แสดงสมบัติเป็นเบส คือรับ  H+  จาก  NH4+ 
                เมื่อพิจารณาความเป็นไปได้ที่กรดหรือเบสแต่ละประเภทจะทำปฏิกิริยากันจะมี  4  แบบ  แต่ละแบบจะมีผลต่อความเป็นกรดหรือเบสของเกลือ   (pH ของสารละลายเกลือ)  ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบสนั้น ๆ ได้แก่

                                1.  กรดแก่  +  เบสแก่   เกลือที่ได้จากปฏิกิริยาจะเป็นกลาง (Neutral)  หรือมี  pH=7  เช่น
                                                HCl  +  NaOH  →  NaCl  +  H2O
                NaCl  เป็นเกลือที่เกิดจากกรดแก่ + เบสแก่  เมื่อละลายน้ำจะไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส  โมเลกุลของน้ำไม่มีการรับหรือเสีย  H+ ฉะนั้น  [H+]=[OH-] เช่นเดียวกับขณะที่เป็นน้ำบริสุทธิ์  สารละลายจึงเป็นกลาง  pH = 7  เหมือนน้ำบริสุทธิ์

                                2.  กรดแก่  +  เบสอ่อน  เกลือที่ได้จากปฏิกิริยาของกรด-เบสในลักษณะนี้  เมื่อละลายน้ำสารละลายจะมีสมบัติเป็นกรดอ่อน  (weak acid)  หรือมี  pH=<7  เพราะมีปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสเกิดขึ้น  เช่น
                                                HCl  +  NH4OH  →  NH4Cl  +  H2O
                NH4Cl  เป็นเกลือที่เกิดจากกรดแก่ + เบสอ่อน  เกลือชนิดนี้เมื่อละลายน้ำแล้วจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส  การละลายในขั้นแรกจะเป็นดังสมการ
                                                NH4Cl  →  NH4+  +  Cl- 

                การเปลี่ยนแปลงในขั้นต่อไปจะเป็นการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส  ในเบื้องต้นจะสับสนว่าอนุภาคใดเป็นตัวเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส  ให้จำเป็นหลักการเอาไว้ว่า  อนุภาคที่มาจากเบสอ่อนเป็นตัวเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส  แต่แสดงสมบัติเป็นกรดอ่อน ดังสมการ

  ผลจากการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสทำให้ในสารละลายมี  H3O+  เพิ่มขึ้น  มีผลให้ [H3O+  ] >  [OH-]  สารละลายจึงมีสมบัติเป็นกรดอ่อน  pH < 7  ถ้าต้องการทราบว่าสารละลายมี  pH  เท่าไร  ต้องทราบความเข้มข้นของสารละลาย  และทราบค่า  Ka  ของคู่เบส  กรณีนี้ก็คือ  Ka  ของ  NH4+  =  5.6 X 10-12    แต่บางครั้งอาจไม่บอกค่า  Ka  มาโดยตรง  แต่บอกค่า  Kb  ของ  NH4OH  หรือ NH3  =  1.8 X 10-5   เราสามารถคำนวณหาค่า  Ka  ได้  จากสมการ  Ka.Kb  =  Kw
                Ka  = Kw / Kb    = (1.0 x 10-14 )/(1.8 x 10-5)  =  5.6 X 10-12    
                ถ้าสารละลายมีความเข้มข้น  1.00  โมล/ลิตร   pH  ของสารละลายจะคิดได้ดังนี้

                จากภาวะสมดุล  ดังสมการ ;  NH4+  +  H2O ↔   NH3  +  H3O+    ;  Ka  =  5.6 X 10-12    

คำนวณหา [H3O+ ]  เพื่อใช้หา pH  ของสารละลายดังนี้
                                                Ka   =  [NH3] [H3O]+ / [NH4+]       
                                   5.6 X 10-12    =   [H3O+]2 / [NH4+]

                                       [H3O+]2   =    5.6 X 10-12    
                                      [H3O+]     =    2.37 X 10-6    
                                         pH         =     - log  2.37 X 10-6    
                                                      =      6 log 10  - log 2.37           
                                                      =      6  -  0.37
                                                      =      5.63  

                         3.  กรดอ่อน  +  เบสแก่   เกลือที่ได้จากปฏิกิริยาจะเป็นเบสอ่อน  (weak base)  หรือมี  pH >7  เช่น
                                                CH3COOH  +  NaOH  ↔   CH3COONa  +  H2O
                CH3COONa  เป็นเกลือที่เกิดจากกรดอ่อน + เบสแก่  เกลือชนิดนี้เมื่อละลายน้ำแล้วจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส  การละลายในขั้นแรกจะเป็นดังสมการ
                                                CH3COONa  →  CH3COO-  +  Na+
                การเปลี่ยนแปลงในขั้นต่อไปเป็นการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส  ในเบื้องต้นจะสับสนว่าอนุภาคใดเป็นตัวเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส  ให้จำเป็นหลักการเอาไว้ว่า  อนุภาคที่มาจากกรดอ่อนจะเป็นตัวเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส  แต่แสดงสมบัติเป็นเบสอ่อน  ดังสมการ

  ผลจากการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสทำให้ในสารละลายมี  OH-  เพิ่มขึ้น  มีผลให้ [OH-]  > [H3O+  ]   สารละลายจึงมีสมบัติเป็นเบสอ่อน  ถ้าต้องการทราบ  pH  ของสารละลาย  ต้องทราบความเข้มข้นของสารละลาย  และทราบค่า  Kb  ของคู่กรด  กรณีนี้ก็คือ  Kb  ของ  CH3COO-  =  5.6 X 10-12    แต่บางครั้งอาจไม่บอกค่า  Kb  มาโดยตรง  แต่บอกค่า  Ka  ของ  CH3COOH   =  1.8 X 10-5   เราสามารถคำนวณหาค่า  Kb  ได้  จากสมการ  Ka.Kb  =  Kw
                Kb  = Kw / Ka   = (1.0 x 10-14) / (1.8 x 10-5)   =  5.6 X 10-12    
                ถ้าสารละลายมีความเข้มข้น  1.00  โมล/ลิตร   pH  ของสารละลายจะคิดได้ดังนี้

                จากภาวะสมดุล  ดังสมการ ;  CH3COO-  +  H2O  ↔  CH3COOH  +  OH-    ;  Kb  =  5.6 X 10-12    

คำนวณหา [OH- ]  เพื่อใช้หา pOH  และ  pH  ของสารละลายดังนี้
                                                Kb  = [CH3COOH][OH-] / [CH3COO-]   =    [OH-]2 / [CH3COO-]
                                    5.6 X 10-12   = [OH-]2 / 1

                                [OH-]2           =    5.6 X 10-12    
                                [OH-]            =    2.37 X 10-6    
                                pOH              =  - log  2.37 X 10-6    
                                                    =    6 log 10  - log 2.37           
                                                    =    6  -  0.37
                                                    =      5.63 
                              pH                  =     14 – pOH
                                                    =     14 -  6.63
                                                    =      8.37


                                4.  กรดอ่อน  +  เบสอ่อน   เกลือที่ได้จากปฏิกิริยาจะเป็นกรดอ่อนหรือเบสอ่อนต้องเปรียบเทียบที่ค่า  Ka และ  Kb  ของกรดอ่อนและเบสอ่อนที่ทำปฎิกิริยากัน
                                                4.1  ถ้า  Ka>Kb  เกลือที่ได้จากปฏิกิริยาจะเป็นกรดอ่อน  (weak acid)  หรือมี  pH <7  เช่น

                                                กรดอ่อน  ; HCOOH  ↔ HCOO-  +  H+   ; Ka  = 1.77 x 10-4
                                               
                เบสอ่อน  ;  NH4OH  ↔   NH4+  +  OH-  ;  Kb  =  1.8 x 10-5
               
ปฏิกิริยาระหว่าง  กรดอ่อน + เบสอ่อน ;  HCOOH  +  NH4OH  ↔   HCOONH4  +  H2O

           HCOONH4  คือเกลือที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่าง  กรดอ่อน  +  เบสอ่อน  ซึ่งมีค่า  Ka>Kb  เกลือชนิดนี้เมื่อละลายน้ำจะมีสมบัติเป็นกรดอ่อน  โดยคู่กรดของ  HH4OH  คือ  NH4+   จะเป็นตัวเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสแสดงสมบัติเป็นกรดอ่อน  ดังสมการ

สารละลายที่ได้จะมี  pH < 7  ถ้าต้องการทราบว่ามี  pH  เท่าไร  ต้องทราบความเข้มข้นของสารละลาย (สมมติว่า = 1M)  และต้องทราบค่า  Ka  ของคู่กรดของเบสอ่อน  ในที่นี้ก็คือ  Ka  ของ  NH4+   ถ้าไม่บอกค่าดังกล่าวมาโดยตรง  แต่บอกค่า  Kb  ของ  NH4OH  =  1.8 x 10-5  จะหา  Ka  ของ  NH4+  ได้จากสมการ  Ka.Kb  =  Kw  ดังนี้ ; 


แสดงด้วยภาวะสมดุลดังนี้ ;   NH4+  +  H2O  ↔  NH3  +  H3O+  ; Ka  =  5.6 x 10-10
   คำนวณหา [H3O+ ]  เพื่อใช้หา pH  ของสารละลายดังนี้

                                                4.2  ถ้า  Kb>Ka  เกลือที่ได้จากปฏิกิริยาจะเป็นเบสอ่อน  (weak base)  หรือมี  pH >7 เช่น
                                                เบสอ่อน  ;  NH4OH     NH4+  +  OH-  ;  Kb  =  1.8 x 10-5                 
                                          กรดอ่อน  ;  HCN         H+  +  CN-      ;  Ka  =  6.17 x 10-10
ปฏิกิริยาระหว่าง  กรดอ่อน + เบสอ่อน ;  HCN +  NH4OH   NH4CN  +  H2

                NH4CN  คือเกลือที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อน + เบสอ่อน ซึ่งเบสอ่อนมีค่า  Kb > Ka  เกลือชนิดนี้เมื่อละลายน้ำคู่เบสของกรด  HCN คือ  CN- จะเป็นตัวเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสโดยแสดงสมบัติเป็นเบสอ่อน  ดังสมการ


      สารละลายจะเป็นเบสอ่อน  pH > 7  ถ้าต้องการทราบว่าสารละลายมี  pH  เท่าไร  ต้องทราบความเข้มข้นของสารละลาย (สมมติว่า = 1M)  และต้องทราบค่า  Kb  ของคู่เบสของกรด  HCN  ในที่นี้ก็คือ  Kb  ของ  CN-  ถ้าไม่บอกค่าดังกล่าวมาโดยตรง  จะหาได้จากสมการ  Ka.Kb  =  Kw
                Kb  =  Kw / Kb  = 1.0 x 10-14 / 6.17 x 10-10  =  3.08 x 10-5

   แสดงด้วยภาวะสมดุลดังนี้ ;   CN-  +  H2O  ↔  HCN  +  OH-  ;  Kb  =  3.08 x 10-5

คำนวณหา [OH- ]  เพื่อใช้หา pOH  แล้วเปลี่ยนเป็น  pH ของสารละลาย  ดังนี้

                                             Kb  = [HCN][OH-] / [CN-]  
                                                   =  [OH-]2 / [CN-]
                                3.08 x 10-5    =  [OH-]2 / 1

                                [OH-]2           =      3.08 x 10-5    
                                [OH-]            =      1.75 x 10-2.5
                                pOH              =     -log [OH-]  =  -log 1.75 x 10-2.5
                                                    =      2.5 – log  1.75
                                                    =      2.5  -  0.24
                                                     =      2.26
                                pH                 =      14  -  pOH

                                                     =      14 -  2.26
                                                     =      11.74

แบบฝึกหัด

1.  Consider the reaction:  CH3NH2(aq) + H2O(l) CH3NH3+(aq) + OH-(aq)

      where Kb = 4.4 X 10-4. To a solution formed from the addition of 2.0 mol CH3NH2 to 1.0 L of H2O is added 1.0 mol of KOH
(assume no volume change on addition of solutes). What is the concentration of CH3NH3+ at equilibrium? 
(พิจารณาปฏิกิริยา  CH3NH2(aq) + H2O(l) CH3NH3+(aq) + OH-(aq) ; Kb = 4.4 X 10-4. ถ้าสารละลายชนิดหนึ่งเกิดจากใช้  CH3NH2  จำนวน  2.0  โมล 
ทำให้เป็นสารละลาย  1.0  ลิตร  จากนั้นเติม  KOH  ลงไป 1.0  โมล  อยากทราบว่าเมื่อยู่ในภาวะสมดุลแล้วความเข้มข้นของ  CH3NH3+  จะเป็นเท่าไร)

                (A)   3.2 x 10-2 M                  (B)   2.2 x 10-4 M                  (C)   2.0 x 10-3 M

                (D)   8.8 x 10-4 M                 (E)   None of these

 

2. The Kb value of the oxalate ion, C2O42-, is 1.85 X 10-10. Is a solution of K2C2O4 acidic, basic, or neutral? Explain. 
   (ถ้า C2O42-  มีค่า  Kb =1.85 X 10-10  อยากทราบว่าสารละลาย  K2C2O4 จะมีสมบัติเป็นกรด  เป็นเบส  หรือเป็นกลาง)

 

3.  Consider the following compounds and suppose that 0.5 M solutions are prepared of each: NaI, KF,  
    (NH4)2SO4, KCN, HC2H3O2, CsNO3, and KBr. Write the formulas of those that are (a) acidic, (b) basic, (c)
    neutral. (จงพิจารณาว่าเมื่อเตรียมสารละลายของสารแต่ละชนิดได้แก่  NaI, KF, (NH4)2SO4, KCN, HC2H3O2, CsNO3,
    และ KBr  ให้มีความเข้มข้น  0.5 M  อยากทราบว่าสารละลายใดบ้างมีสมบัติเป็นกรด  เป็นเบส  หรือเป็นกลาง)

4.  Complete and balance the following neutralization / acid-base reactions: (จงเขียนและดุลสมการให้สมบูรณ์)
                a)  NaOH   +  H2CO3   →                                
                b)  H2SO4   +   Ba(OH) 2 →
                c)  H2S   +   KOH  →                                        
                d)  Al(OH) 3   +   HBr  →
5.  Write a balanced  the following acid-base  reactions: (จงเขียน
                a)  KOH   +  H2SO4  →                                    
                b)  HNO3   +   Ba(OH)2  →
                c)  H2CO3   +   Al(OH)3  →                              
                d)  Ca(OH)2   +   HCl  → 

6.  Given a salt, predict an acid-base pair which would produce the salt:
     (จงพิจารณาว่าเกลือแต่ละชนิดต่อไปนี้  เกิดจากกรด-เบส ชนิดใดทำปฏิกิริยากัน)

                a) Al2(SO4)3                                                           c)  CaCl2

                b) NH4F                                                                 d) KBr

7.  If in the  reaction shown above, 25.0 mL of 0.50 Molar HCl is used to neutralize 17.0 mL of NaOH, what is the
    molarity of the NaOH?  (สารละลาย  HCl  ความเข้มข้น 0.5M  จำนวน  25.0 mL  ทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลาย  NaOH    
    17.0 mL  อยากทราบว่าสารละลาย  NaOH  มีความเข้มข้นกี่โมลาร์)

 

 8.  If in the  reaction shown above, 23.5 mL of 0.55 Molar NaOH is used to neutralize 33.0 mL of HCl, what is the 

     molarity of the HCl? (สารละลาย  NaOH  ความเข้มข้น 0.55M  จำนวน  23.5 mL  ทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลาย  HCl    
    33.0 mL  อยากทราบว่าสารละลาย  HCl  มีความเข้มข้นกี่โมลาร์)

 

9.  What is the concentration of a sodium hydroxide solution when 30.0mL of 0.50M hydrochloric acid are needed
     to neutralize 50.0mL of the base?  (สารละลายกรดไฮโดรคลอริกความเข้มข้น  0.50M  จำนวน  30.0 mL  ทำปฏิกิริยา
    พอดีกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์  50.0  mL  อยากทราบว่าสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์มีความเข้มข้นกี่โมลาร์)

 

  10.  What is the concentration of acetic acid in vinegar when 32.5mL of 0.56M sodium hydroxide is needed to  

      neutralize 15.0mL of the vinegar?  (สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น  0.56M  จำนวน  32.5mL  ทำ
      ปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายน้ำส้มสายชู  15.0mL  อยากทราบว่าสารละลายน้ำส้มสายชูมีความเข้มข้นกี่โมลาร์)

 

11.   List the conjugate acids of: (that means the following would behave like bases…) (จงพิจารณาว่าจากอนุภาคที่
       กำหนดให้แต่ละชนิดต่อไปนี้  คู่กรดของมันคืออะไร ,หมายความว่าอนุภาคที่กำหนดให้นี้แต่ละชนิดแสดงสมบัติเป็นเบส)

                a) H2O                                    b) NH3                                                      c) OH-                                    d) HPO42-

 

12.   List the conjugate bases of: (that means the following would behave like acids…)(จงพิจารณาว่าจากอนุภาคที่
       กำหนดให้แต่ละชนิดต่อไปนี้  คู่เบสของมันคืออะไร ,หมายความว่าอนุภาคที่กำหนดให้นี้แต่ละชนิดแสดงสมบัติเป็นกรด)

                a) H2O                                    b) HS-                                     c) HCl                                    d) NH4+

 

13.  Determine the pH of 0.05 M  CH3COONa.  (Ka = 1.8 x 10-5 for acetic acid) (สารละลาย  CH3COONa  ความเข้มข้น  0.05 M   
       มี pH  เท่าไร  ถ้า  Ka  ของกรดแอซิติก  = 1.8 x 10-5 ) (ตอบ 8.7)

 

14.  Determine the pH of 0.05 M  NH4NO3. (Kb= 1.8 x 10-5 for ammonia) (สารละลาย  NH4NO3  ความเข้มข้น  0.05M  มี  pH  เท่าไร 
      ถ้าค่า  Kb  ของแอมโมเนียคือ  1.8 x 10-5) (ตอบ 5.3)

 

15.  Calculate the pH of a solution prepared by dissolving 10.5 g of NaF in 500.0 mL of water.
       (Ka  of HF = 7.0 x 10-4) (ถ้าใช้  NaF  10.5  กรัม  ทำให้เป็นสารละลาย  5oo mL  อยากทราบว่าสารละลายจะมี  pH  เท่าไร 
       ถ้า  Ka  ของ  HF  =  7.0 x 10-4 ) (ตอบ  8.9)

 

16..  Aspirin is acetylsalicylic acid, a monoprotic acid whose Ka value is 3.27 X 10-4. Does a solution of the sodium  
       salt of aspirin in water test acidic, basic, or neutral? Explain (ยาแอสไพรินเป็นสารที่มีชื่อว่า acetylsalicylic acid  มี
       สมบัติเป็นกรดโมโนโปรติก  มีค่า  Ka = 3.27 x 10-4  อยากทราบว่าถ้านำเกลือโซเดียมของแอสไพรินมาละลายน้ำแล้ว 
       สารละลายจะมีสมบัติเป็นกรด  หรือเบส  หรือเป็นกลาง  เพราะเหตุใด)

17. Calculate the pH of a 0.10 M NaC2H3O2 solution. Ka for HC2H3O2 = 1.8 x 10-5. (จงคำนวณค่า  pH  ของสารละลาย  
    NaC2H3O2  ความเข้มข้น  0.10M  กำหนดค่า  Ka  ของ  HC2H3O2  =  1.8 x 10-5)

 

18.  3.2 M sulfuric acid is used to neutralize 75.0 mL of 2.1 M potassium hydroxide.
       (a) What mass of water is produced? 
       (b) what volume of sulfuric acid must be used?
       (c) How many sulfate ions are in solution (do not answer in moles)?  
       (d) If the volumes of the solutions are ‘additive’ (total volume = sum of added volumes),
       what is the molarity of potassium sulfate after the reaction?
       (สารละลายกรดซัลฟิวริกความเข้มข้น  3.2M  ทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น  2.1M 
       จำนวน  75.0  mL  จงตอบคำถามต่อไปนี้ 
       (a).  มีน้ำเกิดขึ้นกี่กรัม 
       (b).  ต้องใช้สารละลายกรดซัลฟิวริกกี่  mL 
       (c).  มีซัลเฟตไอออนเกิดขึ้นในสารละลายกี่ไอออน , ไม่ให้ตอบเป็นโมล 
       (d). ถ้าสารละลายมีปริมาตรเท่ากับผลรวมของปริมาตรของกรดและเบสที่นำมาผสมกัน  อยากทราบว่าเมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดแล้วความเข้มข้นของโพแทสเซี่ยมซัลเฟตเป็นกี่โมลาร์)
       (คำตอบ :   a) 2.8 g   b) 25 mL   c) 4.7x1022     d)  0.79 M )      

 

19. The base anhydride calcium oxide, CaO can be added to water to make a solution of calcium hydroxide.   If
      the solubility of calcium hydroxide is 0.509 g/L at room temperature, ?  
      (a) what mass of calcium hydroxide is
      needed to make 2.50 L of saturated solution? 
      (b) how many grams of calcium oxide are needed to produce
      2.50 L of saturated solution?  
     (c) what is the molarity of OH¯ in the saturated solution?
      (เมื่อใส่  CaO  ลงในน้ำจะได้สารละลายแคลเซียมไฮครอกไซด์  ถ้าสภาพการละลายของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ณ
      อุณหภูมิห้องคือ  0.0509 g/L  จงตอบคำถามต่อไปนี้
      (a)  ถ้าต้องการเตรียมสารละลายอิ่มตัวของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ 
      จำนวน  2.50 L  จะต้องใช้แคลเซียมไฮดรอกไซด์กี่กรัม 
      (b)  ถ้าต้องการเตรียมสารละลายอิ่มตัวของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ 
      จำนวน 2.50 L  จะต้องใช้แคลเซียมออกไซด์กี่กรัม 
      (c) ความเข้มข้นของ  OH-  ในสารละลายอิ่มตัวเป็นกี่โมลาร์
     (คำตอบ  :  a. 1.27 g   b. 0.963 g   c. 0.0138 M)                   

 




รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 6.07 KBs
Upload : 2013-09-05 19:23:10
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


K-Me
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.854586 sec.