K-Me Article


ปริมาณสารสัมพันธ์ ตอนที่ 9/5 การคำนวณจากสมการมากกว่า 1 สมการที่เกิดอย่างต่อเนื่อง

ปฏิกิริยามากกว่า 1 ปฏิกิริยาต่อเนื่องกัน 

                ลักษณะของปฏิกิริยาประเภทนี้คือมีปฏิกิริยาตั้งแต่ 2 ปฏิกิริยาขึ้นไป  โดยการเกิดขึ้นของปฏิกิริยาต้องเป็นไปตามลำดับ  คือต้องให้ปฏิกิริยาขั้นแรกเกิดขึ้นก่อน 
จากนั้นต้องใช้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นก่อนเป็นสารตั้งต้นของปฏิกิริยาขั้นต่อไป  และต่อไปจนกว่าจะถึงปฏิกิริยาขั้นสุดท้าย  เช่น  การเผาไหม้ของซัลเฟอร์ทำให้เกิดก๊าซ  SO
 ผสมอยู่ในบรรยากาศ  เมื่อฝนตก  ก๊าซ  SO2  ก็จะละลายรวมตัวกับน้ำฝน  กลายเป็นกรดซัลฟูรัส (H2SO3)  น้ำฝนจึงมีสมบัติเป็นฝนกรด   มีขั้นตอนดังนี้

                ขั้นที่ 1  การเผาไหม้ของซัลเฟอร์  เกิด SO2

                                S + O2  →  SO2

                ขั้นที่ 2  SO2  ละลายในน้ำฝน  กลายเป็นกรด H2SO3  (กรดซัลฟูรัส) ละลายรวมอยู่ในน้ำฝน

                                H2O + SO2  →  H2SO3

                การคำนวณเกี่ยวกับปริมาณสารจากสมการประเภทนี้  ต้องดุลสมการย่อยทุกสมการเช่นเดียวกับการดุลสมการเคมีที่ผ่านมาแล้ว  จากนั้นให้สังเกตว่า  ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นก่อน 
ที่นำมาใช้เป็นสารตั้งต้นของปฏิกิริยาขั้นต่อไปนั้นมีจำนวนโมลเท่ากันหรือไม่    ถ้าเท่ากันแสดงว่าปฏิกิริยาทั้งชุดเป็นปฏิกิริยาที่ได้รับการดุลอย่างต่อเนื่องกันแล้ว  มีผลให้มาการทั้งชุดเสมือนหนึ่ง
เป็นสมการเดียวกัน  เช่น 

 

 

 

                สังเกตจำนวนโมลของ  SO2  ที่เกิดขึ้นในสมการ  I.  มีจำนวน  1  โมล  และเมื่อนำมาใช้ในสมการ  II.  ก็มีจำนวน  1  โมลเช่นกัน   ลักษณะนี้แสดงว่าสมการดุลแบบต่อเนื่องแล้ว 
มีผลให้สมการทั้งชุดเสมือนเป็นสมการเดียวกัน  จึงสามารถคำนวณเปรียบเทียบปริมาณสารข้ามสมการกันได้  เช่น

-      ถ้าใช้  S  จำนวน  1  โมล  (สมการ I.) จะได้ผลิตภัณฑ์  H2SO3  จำนวน  1  โมลเช่นกัน  (สมการ  II.)  

 

-      ถ้ามี  H2SO3  เกิดขึ้น  1  โมล (สมการ  II.)  จะต้องใช้   O2  จำนวน  1  โมลเช่นกัน (สมการ I.)

 

                นอกจากนั้นแล้วเราสามารถรวมสมการทั้งหมดเข้าด้วยกันให้เหลือเป็นสาการเดียวก็ได้  เช่น

                           I. +  II. ;       S + O2 +H2O + SO2  →  SO2  +  H2SO4

                สมการรวม    ;       S + O2 +H2O            →               H2SO4

 

              เมื่อพิจารณาจากสมการรวม  การเปรียบเทียบปริมาณสารต่าง ๆ  ที่ทำปฏิกิริยากันและที่ได้จากปฏิกิริยาจะเห็นได้ชัดเจนกว่าขณะที่สมการยังแยกกันอยู่   เช่น

 

-     ถ้าใช้  S  จำนวน  1  โมล  จะได้ผลิตภัณฑ์  H2SO3  จำนวน  1  โมลเช่นกัน 

 

-      ถ้ามี  H2SO3  เกิดขึ้น  1  โมล จะต้อง  O2  จำนวน  1  โมลเช่นกัน

 

 

 ตัวอย่าง  สิ่งที่ใช้ทำดอกไม้ไฟคือดินปืนซึ่งมีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญชนิดหนึ่ง  สมมติว่าดอกไม้ไฟ  1  ชุด  มีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบอยู่  320  กรัม  อยากทราบว่า
ถ้าจุดดอกไม้ไฟชุดดังกล่าวนี้  จะมีโอกาสทำให้เกิดกรดซัลฟูรัสได้อย่างมากที่สุดกี่กรัม  (H=1  O=16  S=32)

 

 วิธีทำ  ก่อนอื่นต้องดุลสมการย่อยและดุลสมการต่อเนื่องให้ถูกต้องเสียก่อน  จากนั้นจึงพิจารณาว่าสิ่งที่กำหนดให้กับสิ่งที่ต้องการทราบอยู่ ณ ส่วนใดของสมการ

 

  • การคำนวณปริมาณสารจากสมการเคมีทำได้หลายวิธี  ขึ้นอยู่กับทักษะของแต่ละคน  วิธีคิดดังที่แสดงเป็นตัวอย่างนี้เป็นวิธีที่ใช้กันทั่ว ๆ  เมื่อเข้าใจดีแล้วจะใช้วิธีอื่น ๆ ได้อีก
  • ขั้นแรกจะเปลี่ยนซัลเฟอร์  320  กรัม  ให้เป็นจำนวนโมลเสียก่อน  เมื่อทราบจำนวนโมลของซัลเฟอร์ที่ใช้ก็จะทราบจำนวนโมลของ  H2SO3  ที่ได้  จากนั้นเปลี่ยนจำนวนโมลของ H2SO3  ให้เป็นน้ำหนัก  ก็จะได้คำตอบ

            ถ้ามี  S  หนัก  32  กรัม  คิดเป็น                    1             โมล

            ถ้ามี  S  หนัก  320  กรัม  คิดเป็น             =  10.0     โมล

จากสมการ  จำนวนโมลของ  H2SO3  ที่ได้            =   จำนวนโมลของ  S  ที่ใช้

                                                                  =  10.0     โมล

เปลี่ยนจำนวนโมลของ  H2SO3  ให้เป็นน้ำหนัก

ถ้ามี  H2SO3  จำนวน  1  โมล  มีน้ำหนัก                      =   82       กรัม

ถ้ามี  H2SO3  จำนวน  10  โมล  มีน้ำหนัก                    =   82 x 10 = 820    กรัม

*ฉะนั้นการจุดดอกไม้ไฟ  1  ชุด  ซึ่งมีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบ  320  กรัม  จะมีโอกาสทำให้เกิดกรดซัลฟูรัสได้สูงสุด  820  กรัม  ตอบ

 

 

แต่ถ้าผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นก่อน  ที่นำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในปฏิกิริยาขั้นต่อไปยังมีจำนวนโมลไม่เท่ากัน  แสดงว่าสมการทั้งชุดยังไม่ได้รับการดุลอย่างต่อเนื่อง 
ยังคิดคำนวณเปรียบเทียบปริมาณสารข้ามสมการกันไม่ได้  ต้องดุลสมการให้ต่อเนื่องเสียก่อนโดยใช้ตัวเลขที่เหมาะสมคูณสมการเหล่านั้น  เพื่อให้จำนวนโมลของสารดังกล่าวเท่ากัน   
การดุลสมการต่อเนื่องมีผลให้สมการย่อยทั้งหมดเสมือนหนึ่งเป็นสมการเดียวกัน  ทำให้เปรียบเทียบปริมาณสารที่อยู่ต่างสมการกันได้โดยตรง    หรือจะนำมาเขียนรวมเป็นสมการเดียวก็ได้ 
เช่น  การผลิต  KMnO4  ประกอบด้วยปฏิกิริยา  2  ขั้น  คือ 

 

 

 

                จะเห็นได้ว่า  2K2MnO4 จากสมการที่  I เมื่อนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในสมการที่ II  กลายเป็น  3K2MnO4  กรณีนี้จำนวนโมลไม่เท่ากันแสดงว่าสมการยังไม่ดุลแบบต่อเนื่ง 
จึงต้องดุลสมการแบบต่อเนื่อง  โดยใช้ตัวเลขที่เหมาะสมคูณแต่ละสมการเพื่อทำให้จำนวนโมลของ   K2MnO4  เท่ากันทั้ง 2 สมการ  ซึ่งจะมีผลให้จำนวน

โมลของสารอื่น ๆ เปลี่ยนไปด้วย  ดังนี้

                คูณสมการ I  ด้วย  3  คูณสมการ  II ด้วย  2

I.   3(2MnO2 +  4KOH  +  O2  →  2K2MnO4  +  2H2O)

     6MnO2 +  8KOH  +  3O2  →  6K2MnO4  +  6H2O

II  2(3K2MnO4  +  4CO2  +  2H2O  →  2KMnO4  +  4KHCO3  +  MnO2)

     6K2MnO4  +  8CO2  +  4H2O  → 4KMnO4  +  8KHCO3  +  2MnO2

 

สมการที่ดุลแบบต่อเนื่องแล้วเป็นดังนี้

 

 

 

สมการย่อยทั้ง 2 สมการนี้เสมือนหนึ่งเป็นสมการเดียวกัน  คำนวณเปรียบเทียบปริมาณสารทุกชนิดข้ามสมการกันได้  เช่น  ถ้าต้องการ  KMnO4  จำนวน 4 โมล  จะต้องใช้  MnO2 6 โมล

                                                                                                        

 

หรือจะนำสมการ  I. + II.  เพื่อให้เป็นสมการเดียวกันก็ได้  ดังนี้

                                             6MnO2 + 8KOH + 3O2 + 6K2MnO4 + 8CO2 + 4H2O  →   6K2MnO4 +  6H2O + 4KMnO4 + 8KHCO3 + 2MnO2

                                                            

 

แบบฝึกหัด

1.  ปฏิกิริยาในการเตรียม KMnO4  เป็นดังนี้

                I.  2MnO2 +  4KOH  +  O2  →  2K2MnO4  +  2H2O

                II  3K2MnO4  +  4CO2  +  2H2O  →  2KMnO4  +  4KHCO3  +  MnO2

      ถ้าเริ่มต้นมี  MnO2  174  กรัม  จะเตรียม  KMnO4 ได้มากที่สุดกี่กรัม  (K = 39  Mn = 55 O = 16)

                1.  210.67                                2.  316.00                3.  348.00                4.  425.00

  

2.   ในการหาปริมาณออกซิเจนในน้ำมีปฏิกิริยาเกิดขึ้นดังนี้

                I.   Mn(OH)2  +  O2  →  2MnO2  +  2H2O

                II.  2MnO2  + 4I-  + 8H+  →  2Mn2+  +  2I2  + H2O

                III.  2I2  +  4S2O32-  →  2S4O62- + 4I-

                เมื่อนำน้ำตัวอย่างที่ผ่านขั้นตอนที่ I  และ  II จำนวน  1,000  cm3  มาทำปฏิกิริยากับสารละลายโซเดียมไทโอซัลเฟต (Na2S2O3) ความเข้มข้น 0.005โมล/ลิตร (ปฏิกิริยาที่ III) 
พบว่าต้อใช้สารละลายโซเดียมไทโอซัลเฟต  30  cm3  ปริมาณของออกซิเจนในน้ำเป็นกี่  mg/dm3

                1.  1.2                      2.  2.4                      3.  3.6                      4.  5.0

 

  

3.  ในการผลิตโลหะไททาเนียมจาก TiO2  ทำได้โดยการผสม  TiO2  กับผงถ่านและแก๊ส   Cl2  แล้วเผาให้ร้อนจัด  ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นดังสมการ

                I.  TiO2  + Cl2  + C  →  TiCl4  +  CO2

                II.  TiCl4  + H2  →  Ti  +  HCl

                ถ้าใช้  TiO2  2.4  กรัม  จะต้องใช้แก๊สไฮโดรเจนกี่ลิตรที่  STP  (Ti = 48  Cl=35.5)

                1.  0.672                                  2.  1.344                                  3.  5.376                                  4.  53.76

 

  

4.  ในการถลุงแร่คาลโคไพไรต์ (CuFeS2)  มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นดังนี้

                I.  2CuFeS2  +  4O2  →  Cu2S  +  2FeO  +  3SO2

                II.  2Cu2S  +  3O2  →  2Cu2O  +  2SO2

III.  2Cu2O  +  Cu2S  →  6Cu  +  SO2

อยากทราบว่าเมื่อถลุงทองแดงได้  1  กิโลกรัม  จะมีแก๊ส  SO2  ซึ่งเป็นแก๊สพิษเกิดขึ้นกี่กรัม

(Cu = 63.5  Fe = 56  O = 16  S = 32)

1.  1007.87                              2.  1511.81                              3.  2015.75                              4.  6400.00

 

  

 

 

5.  (Ent.42 มี.ค.  อัตนัย) ในการทำลายแก๊ส  SO2  โดยออกซิไดซ์เป็น  SO3  แล้วละลายน้ำ  จะได้กรด  H 2 SO4  ถ้าได้กรด  H2SO4  1.96  กิโลกรัม  จะต้องใช้ก๊าซออกซิเจน
อย่างน้อยที่สุดกี่  dm3  ที่  STP 

        I.   SO2 + O2  →  SO3

        II.  SO3  +  H2O  →  H2SO4

 

  

 

6.  (Ent.42 มี.ค.  อัตนัย) ในอุตสาหกรรมถลุงแร่ดีบุก  โดยผสมแร่ดีบุกกับถ่านโค้ก  ( C )  แล้วเผาให้ร้อนจัดในเตาถลุงที่มี  O2  อยู่จำกัด  ทำให้เกิดแก๊ส  CO  จากนั้นแก๊ส  CO
จึงไปทำปฏิกิริยากับแร่ดีบุกดังสมการ

                I.   2C  +   O2  →  2CO

                II.  SnO2  +  2CO  →  Sn  + 2CO2 

        ถ้าในการถลุงครั้งหนึ่ง   ผสมถ่านโคกกับแร่ดีบุกในอัตราส่วน  1:5  โดยมวล  จงหาว่าเมื่อผลิตโลหะดีบุกได้  119  kg  จะมีถ่านโค้กเหลืออยู่กี่กิโลกรัม

 

  

 

 

7.  (คัดเลือกเคมีโอลิมปิค 2543)  เมื่อเผา  Fe2O3  กับผงถ่านในบรรยากาศของก๊าซออกซิเจนจะได้  Fe  กับก๊าซ  CO2  ดังสมการเคมีที่ยังไม่ได้ดุล  ถ้าเผา  Fe2O3   80  kg
 กับผงถ่าน  12  kg  จะได้  Fe  กี่กิโลกรัม

                I.   C(s)  +  O2(g)  →  CO(g)

                II.  CO(g)  +  Fe2O3(g)  →  Fe(s)  + CO2(g)

                1.  92                       2.  54                       3.  37                       4.  28

 

  

 

8.  (คัดเลือกเคมีโอลิมปิค 2544)  การเตรียม  KClO4  สามารถทำได้ดังปฏิกิริยาต่อไปนี้

                I.    Cl2  +  KOH  →  KCl  +  KClO  +  H2O

                II.   3KClO  →  2KCl  +  KClO3

                III.  4KClO3    →  3KClO4  +  KCl 

                จะต้องใช้  Cl2  จำนวนกร่กรัมเพื่อเตรียม   KClO4  จำนวน  200  กรัม

                1.  205                     2.  322                     3.  409                     4.  512

 

   

9.  (Ent.47  มี.ค.)  ในการเตรียมน้ำยาฟอกขาว  (NaOCl)  เข้มข้น  2.0  โมล/ลิตร  โดยผ่านแก๊สคลอรีนที่ได้จากปฏิกิริยาระหว่าง  KMnO4 กับ  HCl  ลงในสารละลาย  
NaOH  100  cm3  ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นดังนี้

                I.   2KMnO4  +  16HCl  →  2KCl  +  2MnCl2  +  H2O  +  Cl2

                II.  Cl2  +  NaOH  →  NaOCl  +  NaCl  +  H2O  (สมการยังไม่ดุล)

                จะต้องใช้  KMnO4  หนักกี่กรัม

                1.  6.3                      2.  12.7                    3.  79.0                    4.  126.4

 

  

 

10.  (PAT.2 ต.ค. 51)  กำหนดปฏิกิริยาต่าง ๆ ดังนี้

                2Al  +  2NaOH  2H2O  →  2NaAlO2  +  3H2    ……………….(1)

                NH4NO3  →  N2O  +  2H2O ……………………….(2)

                H2  +  N2O  →  H2O  +  N2  …………………(3)

                เมื่อใช้  Al  จำนวน  0.90  กรัม  ทำปฏิกิริยากับ  NaOH  จำนวนมากเกินพอ  ปรากฏว่าได้  H2  จำนวนหนึ่งซึ่งทำปฏิกิริยาพอดีกับ  N2O  ที่เกิดจากการสลายตัวของ 
NH4NO3  มวลของ  NH4NO3  ที่ใช้เป็นกี่กรัม   (Al=27  Na=23  O=16  N=14  H=1)

                1.  0.45                    2.  1.40                    3.  2.70                    4.  4.00

 

  

11.  (A-Net  49  อัตนัย )  เมื่อเผาแร่  AX2  ในบรรยากาศออกซิเจนและไฮโดรเจนตามลำดับ ได้โลหะ A ดังสมการ  (สมการยังไม่ดุล) 

                AX2  +  O2  →  AO3  +  XO2

                AO3  +  H2 →  A  +  H2O

        ถ้ากระบวนการเผาแร่ดังกล่าวใช้  AX2  1600  กรัม  แก๊สออกซิเจน  120  กรัม  จะได้โลหะ  A  มากที่สุดกี่กรัม  (มวลอะตอมของ  X = 32    A  =  96)

  



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 6.64 KBs
Upload : 2013-08-08 06:18:17
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


K-Me
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.870925 sec.