Dr-wittaya Article


แนวข้อสอบ O-NET วิชา วิทยาศาสตร์ ม.ต้น

   นวข้อสอบ O-NET วิชา วิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาตอนต้น                                    

คำชี้แจง          ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 

 1.   การใช้กล้องจุลทรรศน์ในการศึกษาเซลล์  การดูภาพครั้งแรกควรใช้เลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายเท่าใด

         1.   10X                                                       2.   20X

         3.   40X                                                       4.   100X

2.   ส่วนประกอบใดภายในเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งสร้างพลังงานให้แก่เซลล์

         1.   นิวเคลียส                                             2.   แวคิวโอล    

         3.   คลอโรพลาสต์                                     4.   ไมโทคอนเดรีย

3.   ออร์แกเนลล์ใดที่พบได้เฉพาะในเซลล์พืช

  1. แวคิวโอล      กอลจิบอดี
  2. ผนังเซลล์      คลอโรพลาสต์
  3. นิวเคลียส      ไมโทคอนเดรีย
  4. เยื่อหุ้มเซลล์   ร่างแหเอนโดพลาซึม

4.   ส่วนประกอบที่อยู่ด้านนอกสุดของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

  1. เหมือนกัน คือ เป็นผนังเซลล์
  2. เหมือนกัน  คือ เป็นเยื่อหุ้มเซลล์
  3. ต่างกัน โดยเซลล์พืชจะมีผนังเซลล์  ส่วนเซลล์สัตว์มีเยื่อหุ้มเซลล์
  4. ต่างกัน โดยเซลล์พืชจะมีเยื่อหุ้มเซลล์  ส่วนเซลล์สัตว์มีผนังเซลล์

5.   ออร์แกเนลล์คู่ใดมีความสัมพันธ์กันมากที่สุด

  1. ไมโทคอนเดรีย – แวคิวโอล
  2. เซนทริโอล – ไมโทคอนเดรีย
  3. ร่างแหเอนโดพลาซึม – แวคิวโอล
  4. ร่างแหเอนโดพลาซึม – กอลจิบอดี

 

 

 

6.   การเคลื่อนที่ของสารในข้อใดถูกต้อง

 

ข้อ 

กระบวนการแพร่ 

กระบวนกาออสโมซิส 

1.

การเคลื่อนที่ของน้ำเข้าสู่เซลล์ขนราก

การกระจายของน้ำหอมในอากาศ

2.

การกระจายของน้ำหอมในอากาศ

การเคลื่อนที่ของน้ำเข้าสู่เซลล์ขนราก

3.

การเคลื่อนที่ของแร่ธาตุเข้าสู่เซลล์ขนราก

การละลายของน้ำตาลในน้ำ

4.

การละลายของน้ำตาลในน้ำ

การเคลื่อนที่ของแร่ธาตุเข้าสู่เซลล์ขนราก

 

7.   นำลำต้นและรากพืช 4 ชนิด มาส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่า

ลำต้นพืชชนิดที่ 1 มีไซเล็มและโฟลเอ็มเรียงตัวอยู่ทั่วลำต้น

ลำต้นพืชชนิดที่ 2 มีไซเล็มและโฟลเอ็มเรียงตัวเป็นวงรอบลำต้น

ลำต้นพืชชนิดที่ 3 มีไซเล็มเรียงตัวอยู่รอบพิธ มีโฟลเอ็มแทรกอยู่ระหว่างไซเล็ม

ลำต้นพืชชนิดที่ 4 มีไซเล็มเรียงตัวเป็นแฉกออกจากกึ่งกลางราก โดยโฟลเอ็มแทรกอยู่ระหว่างแฉก

          อยากทราบว่าพืชชนิดใดเป็นพืชประเภทเดียวกัน

  1. พืชชนิดที่ 1 และ 3                           
  2. พืชชนิดที่ 1 และ 4
  3. พืชชนิดที่ 2 และ 3                           
  4. พืชชนิดที่ 3 และ 4

8.   น้ำและแร่ธาตุลำเลียงเข้าสู่รากพืชด้วยกระบวนการใด

  1. ลำเลียงโดยการแพร่ทั้งคู่
  2. ลำเลียงโดยการออสโมซิสทั้งคู่
  3. น้ำลำเลียงโดยการแพร่ ส่วนแร่ธาตุลำเลียงโดยการออสโมซิส
  4. น้ำลำเลียงโดยการออสโมซิส ส่วนแร่ธาตุลำเลียงโดยการแพร่

9.   จากสมการดังนี้

           คาร์บอนไดออกไซด์  + น้ำ      '>      น้ำตาล + A + น้ำ

 

         A  คือสารใด

         1.   กลูโคส                                                  2.   ออกซิเจน

         3.   คลอโรฟิลล์                                          4.   คาร์บอนไดออกไซด์

10.  กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงมีความสำคัญต่อพืชอย่างไร

  1. ทำให้พืชมีอากาศหายใจ
  2. ทำให้พืชสร้างอาหารได้
  3. ทำให้พืชสามารถสืบพันธุ์ได้
  4. ช่วยระบายความร้อนออกจากต้นพืช

 11.  โครงสร้างใดที่พืชใช้ในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

         1.   ใบ                                                          2.   ผล

         3.   ดอก                                                       4.   ลำต้น

12.  การปฏิสนธิของพืชเกิดขึ้นเมื่อใด

  1. เมล็ดเริ่มงอกเป็นต้น
  2. กลีบดอกเริ่มบานออก
  3. ละอองเรณูตกบนยอดเกสรเพศเมีย
  4. นิวเคลียสของละอองเรณูผสมกับนิวเคลียสของเซลล์ไข่

 13.  ดอกทานตะวันจะหันไปตามดวงอาทิตย์ตลอดทั้งวัน เป็นผลมาจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใด

         1.   แสง                                                       2.   อุณหภูมิ

         3.   ดวงอาทิตย์                                           4.   แก๊สออกซิเจน

 14.  การตอบสนองในข้อใดเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิดเดียวกัน

  1. การงอกของรากต้นถั่ว-การจำศีลของหมี
  2. การบานของดอกคุณนายตื่นสาย-การบินกลับรังของนก
  3. การหุบใบของต้นกาบหอยแครง-การลงไปแช่ในแอ่งน้ำของควาย
  4. การลดรูปใบไปเป็นหนามของต้นตะบองเพชร-การพองตัวของอึ่งอ่าง

15.  การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเหมาะสำหรับนำมาใช้ขยายพันธุ์พืชชนิดใด

       พืช A เป็นพืชที่ใกล้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย

       พืช B เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีอากาศร้อนชื้น

       พืช C เป็นพืชที่ถูกรบกวนโดยแมลงศัตรูพืชและวัชพืชได้ง่าย

       พืช D เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งทุกปีจะมีการส่งออกจำนวนมาก

 

  1. พืช A เท่านั้น                                    
  2. พืช B เท่านั้น
  3. พืช A B และ D                                
  4. พืช A C และ D

16.  การจำแนกสารโดยใช้ขนาดของอนุภาคเป็นเกณฑ์เหมาะกับการจำแนกสารในข้อใดมากที่สุด

  1. กาว โฟม เยลลี
  2. เหล็ก ปรอท คลอรีน
  3. น้ำนม น้ำส้มสายชู  น้ำคลอง
  4. น้ำเกลือ น้ำเชื่อม แอลกอฮอล์ล้างแผล

17.  ข้อใดระบุตัวทำละลายละตัวละลายได้ถูกต้อง

 

ข้อ

สารละลาย

ตัวทำละลาย

ตัวละลาย

1.

น้ำส้มสายชู

เอทานอล

กรดแอซีติก

2.

น้ำเกลือ

เกลือแกง

น้ำ

3.

น้ำเชื่อม

น้ำ

น้ำตาลทราย

4.

แอลกอฮอล์ล้างแผล

น้ำ

แอลกอฮอล์

 

18.  สารในข้อใดต่างไปจากสารอื่นๆ

         1.   นาก                                                       2.   ทอง

         3.   อากาศ                                                   4.   น้ำเกลือ

19.  ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง

  1. อิมัลซิไฟเออร์ในน้ำนม คือ เคซีน
  2. อิมัลซิไฟเออร์ในน้ำสลัด คือ น้ำมันพืช
  3. อิมัลซิไฟเออร์ในน้ำสลัด คือ น้ำส้มสายชู
  4. อิมัลซิไฟเออร์ในการชำระล้างสิ่งสกปรก คือ ไขมัน

20.  สารในข้อใดมีสมบัติความเป็นกรด-เบสเหมือนกัน

  1. ผงฟู  ผงซักฟอก  เกลือแกง
  2. เบียร์  น้ำปูนใส  น้ำตาลทราย
  3. น้ำยาเช็ดกระจก  ผงชูรส  ยาสระผม
  4. น้ำมะขาม  น้ำมะเขือเทศ  น้ำส้มสายชู

21.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับแรง

  1. แรงทำให้วัตถุหยุดนิ่ง
  2. แรงทำให้วัตถุเปลี่ยนสถานะ
  3. แรงทำให้วัตถุเกิดการเคลื่อนที่
  4. แรงทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงรูปร่าง

22.  ข้อใดระบุชนิดของแรงที่ใช้ทำกิจกรรมได้ถูกต้อง

         1.   ตักน้ำ-แรงดัน                                     2.   ปาเป้า-แรงบิด

         3.   นวดแป้ง-แรงกด                                                4.   โยนลูกบอล-แรงดึง

23.  เด็กคนหนึ่งเดินทางจากบ้านไปโรงเรียนด้วยอัตราเร็ว 2 เมตรต่อวินาที โดยใช้เวลา 60 วินาที ดังนั้น

       ระยะทางจากบ้านไปโรงเรียนมีค่าเท่าใด

         1.   30 เมตร                                                                2.   60 เมตร

         3.   90 เมตร                                                                4.   120 เมตร

24.  การคำนวณหาค่าความเร็ว หากระยะทางมีหน่วยเป็นกิโลเมตร เวลาควรมีหน่วยเป็นอะไร

         1.   วินาที                                                    2.   นาที

         3.   ชั่วโมง                                                  4.   วัน

25.  การคำนวณหาค่าอัตราเร็วในการเคลื่อนที่จำเป็นต้องทราบค่าของปริมาณใดบ้าง

         1.   ระยะทาง   เวลา                                 2.   ระยะทาง   การกระจัด

         3.   ความเร็ว    ระยะทาง                        4.   ความเร่ง    ระยะทาง

26.  อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสมีค่ากี่องศาฟาเรนไฮด์

         1.   26                                                          2.   46

         3.   66                                                          4.   86

27.  ตัวกลางในข้อใดพาความร้อนได้ดีที่สุด

         1.   น้ำ                                                          2.   เงิน

         3.   เหล็ก                                                     4.   อากาศ

28.  “เมื่อยืนอยู่ใกล้เตาไฟในบริเวณที่มีลมพัด เราจะรู้สึกได้ถึงความร้อนจากเตาไฟ” ลักษณะดังกล่าวนี้เป็น

       การถ่ายโอนพลังงานความร้อนแบบใด

         1.   การนำความร้อน                                                2.   การพาความร้อน

         3.   การแผ่รังสีความร้อน                         4.   การดูดกลืนความร้อน

29.  ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการดูดกลืนและการคายความร้อน

  1. เสื้อสีดำจะคายความร้อนได้ดีกว่าเสื้อสีขาว
  2. ผงเหล็กจะคายความร้อนได้ดีกว่าแผ่นเหล็ก
  3. น้ำเย็นจะดูดกลืนความร้อนได้ช้ากว่าน้ำร้อน
  4. ลูกกอล์ฟจะดูดความร้อนได้ช้ากว่าลูกปิงปอง

 

 

 

30.  ข้อใดเป็นการนำความรู้เรื่องการดูดกลืนและคายความร้อนมาใช้ประโยชน์

 ก.   การทำด้ามจับกระทะด้วยพลาสติก

 ข.   การเอามืออังเหนือกองไฟในฤดูหนาว

 ค.   การใส่เสื้อสีขาวเมื่อต้องอยู่กลางแดด

 

         1.   ข้อ ก. เท่านั้น                      2.   ข้อ ค. เท่านั้น

         3.   ข้อ ก. และ ข.                      4.   ข้อ ข. และ ค.

31.  ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของบรรยากาศ

  1. ช่วยดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต
  2. ช่วยป้องกันอันตรายจากสะเก็ดดาว
  3. ช่วยให้โลกไม่ร้อนเกินไปในเวลากลางวัน
  4. ช่วยให้โลกเย็นลงอย่างรวดเร็วในเวลากลางคืน

32.  ในบริเวณใดที่มีอุณหภูมิของอากาศสูงที่สุด

  1. บนยอดดอยในเวลา  06.00 น.
  2. บริเวณริมทะเลในเวลา 18.00 น.
  3. บริเวณทะเลทรายในเวลา 15.00 น.
  4. บริเวณป่าไม้หนาทึบในเวลา 10.00 น.

33.  บริเวณใดจะมีความชื้นของอากาศมากที่สุด

  1. บริเวณที่มีไอน้ำน้อย
  2. บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง
  3. บริเวณที่รับไอน้ำจากการระเหยได้มาก
  4. บริเวณที่รับไอน้ำจากการระเหยได้น้อย

34.  บริเวณใดน่าจะมีความกดอากาศต่ำที่สุด

  1. บริเวณยอดภูเขา
  2. บริเวณทะเลทราย
  3. บริเวณใต้ท้องทะเล
  4. บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ

35.  ความสัมพันธ์ของคามชื้นสัมพัทธ์กับกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันในข้อใดถูกต้อง

  1. ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ  อากาศจะอบอ้าว
  2. ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ  เสื้อผ้าจะแห้งช้า
  3. ความชื้นสัมพัทธ์สูง  เสื้อผ้าจะแห้งเร็ว
  4. ความชื้นสัมพัทธ์สูง จะรู้สึกเหนียวตัว

36.  ข้อใดอธิบายเกี่ยวกับหยาดน้ำฟ้าได้ถูกต้องที่สุด

  1. หมอกจัดเป็นหยาดน้ำฟ้าชนิดหนึ่ง
  2. ลูกเห็บจัดเป็นหยาดน้ำฟ้า ส่วนหิมะไม่จัดเป็นหยาดน้ำฟ้า
  3. ฝนและน้ำค้างจัดเป็นหยาดน้ำฟ้าที่มีสถานะเป็นของเหลวเหมือนกัน
  4. หยาดน้ำฟ้าเป็นไอน้ำในบรรยากาศที่เกิดการควบแน่นแล้วตกลงมาสู่พื้นโลก

37.  ปัจจัยใดมีอิทธิพลต่อการเกิดลมมากที่สุด

  1. ความชื้นสัมพัทธ์
  2. ปริมาณไอน้ำในอากาศ
  3. ความร้อนจากดวงอาทิตย์
  4. ระดับความสูง-ต่ำของพื้นที่

38.  ข้อใดบอกลักษณะและการใช้ประโยชน์ของเครื่องมือที่ใช้วัดเกี่ยวกับลมได้ถูกต้องที่สุด

 

ข้อ

อุปกรณ์

ลักษณะ

การใช้ประโยชน์

1.

ศรลม

เป็นลูกศรที่มีหางเป็นแผ่นใหญ่กว่าหัวลูกศร

วัดความเร็วลม

2.

มาตรความเร็วลม

เป็นกรวยโลหะ 3-4 อันติดอยู่ที่ก้าน

ตรวจสอบทิศทางลม

3.

แอนีมอมิเตอร์

เป็นกรวยโลหะ 3-4 อันติดอยู่ที่ก้าน

วัดความเร็วลม

4.

 

แอโรเวน

มีรูปร่างคล้ายเครื่องบินไม่มีปีก

ตรวจสอบทิศทางลม และวัดความเร็วลม

 

39.  ข้อมูลเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศ มีดังนี้

ก.  แผนที่อากาศนำมาช่วยในการพยากรณ์อากาศ

ข.  การพยากรณ์อากาศช่วยให้การคมนาคมทางทะเลและทางอากาศปลอดภัยยิ่งขึ้น

ค.  การพยากรณ์อากาศ คือ การทำนายสภาพอากาศที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาข้างหน้า

 

         จากข้อมูลที่กำหนดให้มีข้อมูลที่ถูกต้องกี่ข้อ

         1.   1 ข้อ                                                      2.   2 ข้อ

         3.   3 ข้อ                                                      4.   ไม่มีข้อถูก

40.  ข้อใดไม่เป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อน

  1. การเข้าร่วมโครงการปลูกป่าทดแทน
  2. การลดปริมาณขยะโดยการมานำมาใช้ซ้ำ
  3. การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้า
  4. การใช้ถุงพลาสติกจากร้านค้าแค่เพียงใบเดียว

41.  หากการจัดระบบในร่างกายมนุษย์และสัตว์ผิดปกติในระดับใดระดับหนึ่ง จะส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

  1. ทำให้มีภูมิคุ้มกันต่ำ
  2. ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  3. ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ
  4. ร่างกายจะปรับตัวได้จึงไม่มีผลแต่อย่างใด

42.  อาการท้องผูกเกิดจากการทำงานผิดปกติของอวัยวะใด
         1.   ลำไส้เล็ก                                              2.   ลำไส้ใหญ่
         3.   ทวารหนัก                                            4.   กระเพาะอาหาร

43.  เพราะเหตุใดกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างจึงหนากว่ากล้ามเนื้อหัวใจห้องบน

  1. หัวใจห้องล่างต้องรับเลือดจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  2. หัวใจห้องล่างต้องบีบตัวเพื่อส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  3. เลือดที่เข้าสู่หัวใจห้องล่างมีความดันสูงกว่าเลือดที่เข้าสู่หัวใจห้องบน
  4. เลือดที่เข้าสู่หัวใจห้องล่างมีปริมาณมากกว่าเลือดที่เข้าสู่หัวใจห้องบน

44.  การที่เหงือกของปลามีลักษณะเป็นซี่เล็กๆ มีผลต่อระบบหายใจอย่างไร

  1. ช่วยให้น้ำซึมผ่านได้ดี
  2. ช่วยเพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส
  3. ช่วยให้ดูดซึมแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี
  4. ช่วยให้ปลาไม่ต้องขึ้นมาหายใจเหนือน้ำบ่อยๆ

45.  ในขณะที่เราหายใจเข้า ข้อใดกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างกะบังลมกับกระดูกซี่โครงได้ถูกต้อง

  1. ทั้งกะบังลมและกระดูกซี่โครงเลื่อนต่ำลง
  2. ทั้งกะบังลมและกระดูกซี่โครงเลื่อนสูงขึ้น
  3. กะบังลมเลื่อนสูงขึ้น กระดูกซี่โครงเลื่อนต่ำลง
  4. กะบังลมเลื่อนต่ำลง กระดูกซี่โครงเลื่อนสูงขึ้น

46.  หากไตทำงานผิดปกติ จะสามารถสังเกตได้จากสิ่งใด

         1.   เหงื่อ                                                     2.   อุจจาระ
         3.   ปัสสาวะ                                               4.   ลมหายใจออก

47.  หากเด็กหญิงคนหนึ่งมีรังไข่ผิดปกติ จะส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

         1.   ร่างกายไม่เจริญเติบโต                      2.   มีลักษณะเหมือนผู้ชาย
         3.   พัฒนาการทางเพศผิดปกติ               4.   ทำให้เกิดโรคมะเร็งในรังไข่

 

48.  แฝดอิน – จัน แฝดสยามคู่แรกของโลก เป็นการเกิดแฝดในกรณีใด

  1. แฝดต่างไข่
  2. แฝดร่วมไข่
  3. อาจเป็นแฝดต่างไข่ หรือแฝดร่วมไข่
  4. เป็นแฝดที่เกิดจากวิธีการทางการแพทย์

49.  เพราะเหตุใดสิ่งมีชีวิตจึงมีการแสดงพฤติกรรม

  1. เพื่อปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
  2. เพื่อแสดงออกถึงความต้องการ
  3. เพื่อตอบสนองต่อสังคมที่อาศัยอยู่
  4. เพื่อความอยู่รอดและดำรงเผ่าพันธุ์

50.  เทคโนโลยีชีวภาพมีประโยชน์อย่างไร

  1. ช่วยประหยัดต้นทุนการผลิตสัตว์
  2. ช่วยทำให้ได้สัตว์สายพันธุ์ตามต้องการ
  3. ลดระยะเวลาในการเจริญเติบโตของสัตว์
  4. สามารถทำได้ง่าย โดยไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ

51.  ข้อความใดที่กล่าวเกี่ยวกับการใช้พลังงานจากสารอาหารได้ถูกต้องที่สุด

  1. ขณะนอนหลับร่างกายจะไม่ใช้พลังงานที่ได้จากสารอาหาร
  2. ในการทำกิจกรรมชนิดเดียวกัน ผู้หญิงกับผู้ชายจะใช้พลังงานต่างกัน
  3. ในการทำกิจกรรมชนิดเดียวกัน ผู้ที่มีน้ำหนักน้อยจะใช้พลังงานมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักมาก
  4. ขณะเล่นกีฬาผู้ชายจะใช้พลังงานมากกว่าผู้หญิง แต่ในขณะทำงานเบาๆ ผู้หญิงจะใช้พลังงานมากกว่าผู้ชาย

52.  เพื่อส่งเสริมให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างสมวัย วัยรุ่นควรรับประทานอาหารชนิดใดมากที่สุด

         1.   ข้าว เนื้อสัตว์                                       2.   เนย ผักใบเขียว
         3.   ไข่ มะเขือเทศ                                     4.   น้ำมันพืช ถั่วเหลือง

53.  ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญที่สุด ที่ทำให้เด็กในวัยเรียนรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่

  1. การรับประทานอาหารนอกบ้าน
  2. การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
  3. การรับประทานอาหารไม่อิ่มเพราะเร่งรีบ
  4. การเลือกรับประทานอาหารเฉพาะที่ตนเองชอบ

 

 

54.  นักเรียนควรเลือกรับประทานอาหารชนิดใดต่อไปนี้ จึงจะให้คุณค่าทางอาหารดีที่สุด หากอาหาร

       ทั้งหมดนี้มีราคาเท่ากัน

         1.   ขนมครก                                              2.   ปาท่องโก๋
         3.  กล้วยบวชชี                                           4.   นมถั่วเหลือง

55.  การสังเกตว่าบุคคลใดติดสารเสพติดนั้น วิธีใดที่ให้ผลแน่นอนที่สุด

  1. สังเกตจากบุคคลใกล้ชิด
  2. สังเกตจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
  3. สังเกตจากสุขภาพร่างกายของผู้เสพ
  4. สังเกตจากผลการตรวจเลือดและปัสสาวะ

56.  ข้อใดกล่าวถึงธาตุได้ถูกต้อง

  1. ธาตุทุกชนิดสามารถนำไฟฟ้า
  2. ธาตุแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ โลหะ และอโลหะ
  3. โซเดียมคลอไรด์และโพแทสเซียมออกไซด์เป็นธาตุ
  4. ไม่สามารถทำให้ธาตุแตกตัวเป็นสารเดี่ยวหลายชนิดได้

57.  ข้อใดเป็นสมบัติทางกายภาพของสาร

  1. สี การลุกติดไฟ
  2. สถานะ จุดเดือด
  3. กลิ่น ความเป็นกรด-เบส
  4. จุดหลอมเหลว การสลายตัว

58.  เพราะเหตุใดภาชนะหุงต้มที่ใช้ประกอบอาหารจึงทำด้วยโลหะ

  1. มีผิวมันวาว
  2. นำไฟฟ้าได้ดี
  3. นำความร้อนได้ดี
  4. ตีแผ่เป็นรูปทรงต่างๆ ได้ง่าย

59.  สารที่เหมาะสมจะนำมาแยกโดยการกลั่นแบบไอน้ำ ควรมีสมบัติตามข้อใด

  1. ไม่ละลายน้ำ  จุดเดือดสูง
  2. ไม่ละลายน้ำ  จุดเดือดต่ำ
  3. ละลายน้ำได้ดี  จุดเดือดสูง
  4. ละลายน้ำได้ดี  จุดเดือดต่ำ

 

 

60.  การแยกสารบริสุทธิ์ด้วยวิธีโครมาโทกราฟีอาศัยหลักการใด

  1. ความแตกต่างของการถูกดูดซับ
  2. ความแตกต่างของสารในการละลาย
  3. ความแตกต่างของสารที่ใช้เป็นตัวทำละลาย
  4. ความแตกต่างของสารในการละลายและการถูกดูดซับ

61.  จากการนำสาร 2 ชนิด มาผสมกัน ดังตารางที่กำหนดให้ ข้อใดเป็นปฏิกิริยาดูความร้อน

 

ข้อ

สารที่ผสม

อุณหภูมิของสาร (oC)

ก่อนผสม

หลังผสม

1.

A+B

27

28

2.

C+D

29

29

3.

E+F

29

28

4.

G+H

26

25

 

62.  พิจารณาข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม

       ก.   เติมตัวเร่งปฏิกิริยา
       ข.   ให้ความร้อนแก่ปฏิกิริยา
       ค.   บดหรือหั่นสารตั้งต้นให้มีขนาดเล็กลง
       ง.   เพิ่มปริมาณของสารตั้งต้นโดยการเติมน้ำกลั่น
       จ.   เลือกสารตั้งต้นที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการใช้งาน

 

         ข้อใดเป็นการเร่งอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
         1.   ก. ข. ค.                                                                2.   ก. ข. จ.
         3.   ก. ข. ค. ง.                                           4.   ก. ข. ค. จ.

63.   ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี

  1. อุณหภูมิที่สูงขึ้น จะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีได้เร็ว
  2. การเพิ่มพื้นที่ผิวของสาร จะช่วยให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดช้าลง
  3. สารตั้งต้นที่มีความเข้มข้นมาก จะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีได้อย่างรวดเร็ว
  4. สมบัติของสารตั้งต้นที่เป็นสารไวไฟ จะทำให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดได้เร็วขึ้น

 

 

64.  จากข้อความที่กำหนดให้ต่อไปนี้

       ก.   ฝนกรด
       ข.   การเกิดหินงอกหินย้อย
       ค.   ปรากฏการณ์เรือนกระจก
       ง.   น้ำเน่าเสียจากการทิ้งสารอินทรีย์

 

         ข้อใดเป็นผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

         1.   ก.  ข.                                                    2.   ข.  ค.

         3.   ก.  ข.  ค.                                              4.   ก.  ค.  ง.

65.  จากข้อความที่กำหดให้ต่อไปนี้

             ก.    สารสังเคราะห์สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติได้

             ข.    สารสังเคราะห์  คือ การลอกเลียนแบบสารจากธรรมชาติ

             ค.    สารสังเคราะห์มีประสิทธิภาพมากกว่าสารจากธรรมชาติ

             ง.     สารจากธรรมชาติมีพิษหรืออันตรายมากกว่าสารสังเคราะห์

 

        ข้อใดกล่าวถึงสารสังเคราะห์ได้ถูกต้อง

         1.   ก. ข.                                                      2.   ข. ค.

         3.   ก. ค.                                                      4.   ก. ง.

66.  แรงเป็นปริมาณที่มีลักษณะตามข้อใด

  1. มีแต่ขนาด
  2. มีแต่ทิศทาง
  3. มีทั้งขนาดและทิศทาง
  4. มีขนาดในบางทิศทางเท่านั้น

67.  ถ้าแรง F1 มีขนาด 6 นิวตัน และแรง F2 มีขนาด 3 นิวตัน แรงลัพธ์ของแรงทั้งสองมีขนาด 9 นิวตัน

        แสดงว่าทั้งสองมีทิศทางอย่างไร

  1. มีทิศตั้งฉากกัน
  2. มีทิศตรงข้ามกัน
  3. มีทิศไปทางเดียวกัน
  4. แรง F1 มีทิศขึ้น ส่วนแรง F2 มีทิศลง

 

 

 

68.  พิจารณาภาพด้านล่างแล้วตอบคำถาม

 

 

 

         จากภาพ แรงลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับกล่องมีขนาดเท่าใด และกล่องจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางใด

  1. แรงลัพธ์มีขนาดเท่ากับ 0 นิวตัน กล่องไม่เคลื่อนที่
  2. แรงลัพธ์มีขนาดเท่ากับ 5 นิวตัน กล่องเคลื่อนที่ไปทางขวา
  3. แรงลัพธ์มีขนาดเท่ากับ 10 นิวตัน กล่องเคลื่อนที่ไปทางซ้าย
  4. แรงลัพธ์มีขนาดเท่ากับ 15 นิวตัน กล่องเคลื่อนที่ไปทางขวา

69.  จงพิจารณาภาพต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม

            

 

 

          ข้อใดคือรังสีตกกระทบ

         1.   OP                                                        2.   AO

         3.   BO                                                         4.   AB

70.  การสะท้อนกลับหมดจะสามารถเกิดขึ้นเมื่อแสงเดินทางตามข้อใด

         1.   จากน้ำไปแก้ว                                      2.   จากแก้วไปน้ำ

         3.   จากอากาศไปน้ำ                                 4.   จากอากาศไปแก้ว

71.  คนที่ใส่แว่นสายตายาว จะเห็นภาพของวัตถุมีขนาดเล็กกว่าวัตถุจริงในกรณีใด

  1. วัตถุอยู่ห่างจากแว่นสายตาน้อยกว่าความยาวโฟกัส
  2. วัตถุอยู่ห่างจากแว่นสายตามากกว่า 2 เท่าของความยาวโฟกัส
  3. วัตถุอยู่ห่างจากแว่นสายตาในระยะมากกว่าจุดศูนย์กลางความโค้ง
  4. วัตถุอยู่ห่างจากแว่นสายตาน้อยกว่า 2 เท่าของความยาวโฟกัส แต่มากกว่าความยาวโฟกัส

72.  จากภาพในข้อใด จะทำให้เกิดภาพเสมือนหัวตั้ง ขนาดใหญ่กว่าวัตถุ

 

         1.                                  2.  

         3.                                  4.  

 

73.  ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับตาขาว

            ก.   ตาขาวมีหน้าที่ช่วยรักษาสมดุลของแสงที่เข้าสู่จอตา

            ข.   ตาขาวมีหน้าที่รักษารูปทรงของลูกตาและปกป้องโครงสร้างภายในตา

            ค.   ตาขาวมีสีขาว เป็นชั้นบางๆ ที่เคลือบลูกตาเอาไว้ ซึ่งมีความเหนียวและแข็งแรง

         1.   ก.                                                           2.   ข.

         3.   ค.                                                           4.   ทั้ง ก. และ ข.

74.  ภาพที่ตกบนจอตาของมนุษย์เป็นภาพที่มีลักษณะอย่างไร

        1.   ภาพจริงหัวตั้ง                                     2.   ภาพจริงหัวกลับ

         3.   ภาพเสมือนหัวตั้ง                               4.   ภาพเสมือนหัวกลับ

75.  ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโลก

  1. โลกมีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นคล้ายลูกมะนาว ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากันทั้งโลก
  2. โลกประกอบด้วยเปลือกโลก เนื้อโลก และแก่นโลก ซึ่งเนื้อโลกจะมีความเย็นมากกว่าแก่นโลก
  3. โลกเกิดขึ้น เมื่อ 4,600 ล้านปีก่อน  โดยในช่วงแรกจะยังไม่มีสิ่งมีชีวิต  ซึ่งมนุษย์ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ0.003 ล้านปีก่อน
  4. โลกถูกแบ่งโครงสร้างจากชั้นบรรยากาศสู่แก่นโลก ได้แก่ เปลือกโลก เนื้อโลกชั้นนอก เนื้อโลกชั้นใน แก่นโลกชั้นนอก และแก่นโลกชั้นในตามลำดับ

76.  โครงสร้างของโลกส่วนใดมีความหนามากที่สุด

        1.   เนื้อโลก                                                                2.   แก่นโลก

         3.   เปลือกโลกชั้นใน                               4.   เปลือกโลกชั้นนอก

 

 

 

77.  ดินชั้นบนและดินชั้นล่างมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร

  1. ดินชั้นบนมีสีจางกว่าดินชั้นล่าง
  2. ดินชั้นบนมีสีคล้ำกว่าดินชั้นล่าง
  3. ดินชั้นบนมีความพรุนน้อยกว่าดินชั้นล่าง
  4. ดินชั้นบนมีขนาดเม็ดดินใหญ่กว่าดินชั้นล่าง

78.  ปัจจัยใดที่มีผลทำให้หินอัคนีและหินตะกอนกลายสภาพเป็นหินแปร

  1. การหลอมละลาย
  2. ความร้อนและความดัน
  3. การสะสมและการทับถม
  4. ความแค้นและความเครียด

79.  ข้อใดไม่ใช่สมบัติทางกายภาพของแร่

  1. สี สีผง
  2. รูปผลึก ความวาว
  3. สีเปลวไฟ แสงเรือง
  4. ความแข็ง ความถ่วงจำเพาะ

80.  ข้อใดเป็นความหมายของคำว่า “ทรัพยากรธรรมชาติ”

  1. สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
  2. สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือบางส่วนที่มนุษย์สร้างขึ้น
  3. สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่มนุษย์ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์
  4. สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมีประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม

81.  การถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง หมายถึงข้อใด

         1.   พันธุกรรม                                           2.   พันธุศาสตร์

         3.   พันธุวิศวกรรม                                    4.   โรคทางพันธุกรรม

82.  ข้อใดไม่ใช่ลักษณะทางพันธุกรรม

              1.  สีผิว                                                  2.   ลักยิ้ม

        3.   ชั้นตา                                                    4.   แผลเป็น

83.  เมื่อมองเซลล์ผ่านกล้องจุลทรรศน์ในขณะที่มีการแบ่งเซลล์ จะพบโครงสร้างใด

         1.   โครมาทิด                                             2.   โครมาทิน

         3.   โครโมโซม                                          4.   เซนโทรเมียร์

 

 

84.  ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับโครโมโซมของมนุษย์

  1. เป็นออโตโซม 22 คู่ และเป็นโครโมโซมเพศ 1 คู่
  2. เป็นออโตโซม 23 คู่ และเป็นโครโมโซมเพศ 1 คู่
  3. เป็นออโตโซม 45 คู่ และเป็นโครโมโซมเพศ 1 คู่
  4. เป็นออโตโซม 46 คู่ และเป็นโครโมโซมเพศ 1 คู่

85.  การที่สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันมีหลายสายพันธุ์ จัดเป็นความหลากหลายทางใด

  1. ความหลากหลายทางกายภาพ
  2. ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์
  3. ความหลากหลายทางพันธุกรรม
  4. ความหลากหลายทางระบบนิเวศ

86.  มนุษย์ยุคปัจจุบันมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าอะไร

  1. Homo sapiens
  2. Homo erectus
  3. Homo sapiens idaltu
  4. Homo neanderthalensis

87.  การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตตามแนวคิดของรอเบิร์ต วิตเทเกอร์ แบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นกี่อาณาจักร

         1.   4 อาณาจักร                                          2.   5 อาณาจักร

         3.   6 อาณาจักร                                          4.   7 อาณาจักร

88.  แพรวาจัดสิ่งมีชีวิตออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

          1)    ฟองน้ำ   แมงกะพรุน   หอย   และหมึก

          2)    ปลาหางนกยูง   โลมา   ไก่   และสุนัข

 

        แพรวาใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์ในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต

         1.   แหล่งที่อยู่                                            2.   แหล่งกำเนิด

         3.   ลักษณะลำตัว                                       4.   กระดูกสันหลัง

89.  ระบบนิเวศประกอบด้วยโครงสร้างใดบ้าง

  1. กลุ่มสิ่งมีชีวิตเพียงอย่างเดียว
  2. กลุ่มสิ่งมีชีวิต และแหล่งที่อยู่
  3. กลุ่มสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม
  4. กลุ่มสิ่งมีชีวิต แหล่งที่อยู่ และสิ่งแวดล้อม

 

90.  สิ่งมีชีวิตในข้อใดแสดงบทบาทต่างจากสิ่งมีชีวิตในข้ออื่น

         1.   มอส                                                      2.   ชวนชม

         3.   เห็ดนางฟ้า                                           4.   สาหร่ายหางกระรอก

91.  “ไลเคน” เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กันแบบใด

      1.   ภาวะแข่งขัน                                       2.   ภาวะล่าเหยื่อ

        3.   ภาวะอิงอาศัย                                      4.   ภาวะพึ่งพากัน



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


Dr-wittaya
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 1.375237 sec.