krusunsanee Article


ค่านิยมของคนไทย
ค่านิยมทางสังคมไทย

    ค่านิยม (Value) หมายถึง สิ่งที่มีคุณค่า น่ายกย่อง เป็นรูปแบบของความคิดที่ติดอยู่ในจิตใจของคน ในสังคม และเป็นแนวทางที่คนยึดถือไว้เพื่อประพฤติปฏิบัติ ค่านิยมแบ่งเป็น 2 ประเภท

     1. ค่านิยมของบุคคล ซึ่งบุคคลจะแสดงออกให้เห็นได้จากการตัดสินใจของตนเองทั้งนี้ย่อมจะแตกต่าง ไปตามความถนัดและความสนใจของแต่ละบุคคล
     2. ค่านิยมของกลุ่มหรือค่านิยมของสังคม ซึ่งชี้ให้เป็นถึงการเลือกสรร การยกย่อง และสิ่งที่บุคคลทั่ว ไปในสังคมปรารถนาว่ามีอะไรบ้าง สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นแนวทางให้บุคคลอื่น ๆ ในสังคมทราบว่าควรปฏิบัติอย่างไรในสถานการณ์หนึ่งสถานการณ์ใด

   ลักษณะของค่านิยม  ค่านิยมมีลักษณะดังนี้
      1. ค่านิยมมีทั้งค่านิยมที่ดี และค่านิยมที่ไม่ดี
      2. เป็นสิ่งที่สามารถปลูกฝังถ่ายทอดได้
      3. สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่ก็ไม่อาจจะทำได้โดยง่ายนัก อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงค่า นิยมอาจจะทำได้ง่ายขึ้น เมื่อบุคคลได้เรียนรู้และมีประสบการณ์เพิ่มขึ้น
      4. เป็นมาตรฐานอย่างหนึ่งในการประเมินความประพฤติของบุคคล


 ความสำคัญของค่านิยม
       1. ค่านิยมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคล
       2. ค่านิยมเป็นสิ่งที่ควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม
       3. ค่านิยมมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ และอุปนิสัยใจคอของคนส่วนมาก เพราะบุคคลในสังคมย่อมได้ รับอิทธิพลจากค่านิยมของสังคม
       4. ค่านิยมจะช่วยให้คนในสังคมมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน ทำให้มีความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ อย่างเดียว กัน ดังนั้นค่านิยมของสังคมจึงจัดว่าเป็นกระบวนการทีเกิดขึ้นเพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยให้แก่สังคม
ที่มาของค่านิยมของสังคมไทย
       1. ได้จากการศาสนาพุทธ ปะปนกับศาสนาพราหมณ์
        2. ได้จากสังคมดั้งเดิม คือระบบศักดินา เช่น ค่านิยมการนับถือเจ้านาย ยศถาบรรดาศักดิ์ เป็นต้น
       3. ได้จากระบบสังคมเกษตรกรรม เช่น ความเฉื่อย ขาดความกระตือรือร้น ยึดตัวบุคคล
       4. ได้จากความเชื่อในอำนาจศักดิ์สิทธิ์โชคลาภ

ค่านิยมของชุนสังคมชนบทในสังคมไทย
       1. ยอมรับเรื่องบุญวาสนา กรรมเก่า โดยไม่โต้แย้ง
        2. เชื่อถือโชคลาภ เพราะมีวิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติ
        3. นิยมเครื่องประดับประเภท ทอง เพชรนิลจินดา
       4. ชอบเสี่ยงโชค
       5. เชิดชูยกย่องผู้คุณความดี
       6. นิยมทำบุญเกินกำลังและพิธีการต่าง ๆ
       7. ไม่นิยมโต้แย้ง ขี้เกรงใจคน เชื่อผู้สั่ง เห็นแก่หน้า
       8. พึ่งพาอาศัยกัน ร่วมมือกัน ช่วยเหลือจุนเจือกัน
       9. สันโดษ เรื่องที่เกี่ยวกับส่วนรวมไม่ค่อยกระตือรือร้น
      10. หวังผลเฉพาะหน้า เช่น สนใจเฉพาะผลผลิตปีนี้ โดยไม่ค่อยสนใจอนาคต

ค่านิยมของสังคมเมืองในสังคมไทย
       1. มีเหตุผล จะไม่เชื่อเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้
       2. มีกำหนดเวลาแต่ละวันชัดเจน เช่น ตื่นนอน ไปทำงาน
       3. มีการแข่งขันสูง ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด
       4. นิยมตะวันตก เช่น การใช้เทคโนโลยี การแต่งกาย การนันทนาการ มีความรับผิดชอบต่อสังคม
       5. ชอบงานฟุ่มเฟือยหรูหรา เช่น ตกแต่งบ้านหรูหรา การเลี้ยงรุ่น เลื่อนยศ วันเกิด ฯลฯ
       6. เห็นแก่ตัว ไม่ค่อยไว้ใจใคร เนื่องจากต้องแข่งขัน และมีสมาชิกในสังคมมาก

ค่านิยมที่ควรปลูกฝังในสังคมไทย
       ค่านิยมที่ดีงามควรปลูกฝังในสังคมไทยมีดังนี้
        1. การจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
        2. ความซื่อสัตย์สุจริต
        3. ความขยันขันแข็งมีมานะอดทน
        4. การยกย่องผู้ที่ทำความดี
        5. ความกตัญญูกตเวที
        6. การเคารพผู้อาวุโส
        7. การไม่ผูกพยาบาท
        8. การนิยมของไทย
        9. การเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวม
       10. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

ค่านิยมที่ควรแก้ไขในสังคมไทย
      ค่านิยมในทางที่ไม่ถูกต้องจะเป็นอุปสรรคในการอยู่ร่วมกันในสังคม ไทย ค่านิยมที่ควรแก้ไขมีดังนี้
         1. การเห็นคุณค่าของเงินตรามากเกินไป
         2. การชอบเสี่ยงโชคและถือโชคลาง
         3. การขาดระเบียบวินัย
         4. การนิยมใช้ของที่มาจากต่างประเทศ
         5. การไม่รู้จักประมาณในการใช้จ่าย
         6. การไม่ชอบเห็นใครดีเด่นกว่าตนเอง

www.mwit.ac.th/~keng/lesson05/14.doc‎

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 1.18 MBs
Upload : 2014-02-07 05:06:06
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


krusunsanee
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน
ภาษาไทย


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.028960 sec.