BChai Article


ทำไมภาษาอังกฤษของคนไทยไม่ไปถึงฝันหลัง AEC2015
เป็นคำถามใหญ่มากครับ จริงแล้ว ควรให้ผู้กำหนดนโยบายภาษาของชาติตอบ สิ่งสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ภาษา คือการฝึกฝน (Practice makes perfect.) บูรณาการทั้ง ทักษะ ปัจจุบัน นักภาษาศาสตร์ ได้พยายามเพิ่มทักษะที่ คือ การแปลด้วยซึ่งเป็นทักษะขั้นสูง ในประเทศไทยปัจจุบันไม่มีการผลิตบัณฑิตปริญญาตรีตรีด้านนี้แล้ว แนวทางการพัฒนาภาษา ควรเริ่มที่ 1. การเรียนรู้คำศัพท์และสำนวนเป็นจำนวนมาก (Lexicon Stock) หาโอกาสใช้บ่อยๆ ทั้งผ่านสื่อบุคคลและสื่ออีเลกทรอนิกส์ The more you use them, the better you become. ไม่ต้องกลัวใช้ผิด ผมไป Phoenix, AZ, USA ครั้งแรก ปี 1986 ตอนม.ปลาย ก็เป็นคนป่าเดินพารากอนเลยทีเดียว สื่อสารผ่านภาษาอังกฤษได้จำกัดมาก อาศัยฝึกที่โรงเรียนและที่บ้านจึงค่อยๆ ดีขึ้น ต้องใจเย็นๆ ครับ เราอยู่เมืองไทยก็ฝึกได้จากสารพัดสื่อ ต้องหารูปแบบการฝึกที่ถูกกับจริตของเรา ครูก็ต้องไม่สอนน่าเบื่อชวนให้คิดลบต่อภาษาอังกฤษ 2. ไวยากรณ์และโครงสร้าง ไม่ต้อง 'จัดเยอะ' เอาแค่แนวคิดพื้นฐาน แล้วพัฒนาด้วยการฝึกให้เป็นระบบอัตโนมัติ แน่นอน ต้องใช้เวลา อย่าอายที่พูดผิดไวยากรณ์  ผู้เริ่มฝึก (Beginners) ไม่เก่งขนาดนั้น กล้าๆ แลกไปเลยครับ 3. เมื่อคำศัพท์+ไวยากรณ์ดีขึ้น ก็มีส่วนทำให้อ่านได้ตั้งแต่สากกะเบือยันเรือไวกิ้ง ฝึกทุกวัน อ่านคล่องแน่นอน เช่นเดียวกับ การฟัง การพูด ซึ่งปัจจุบันมีเว็บไซท์ หรือ Youtube สอนการฟัง-การพูดมากมาย ปัญหาส่วนใหญ่มาจากการท้อใจเพราะ เจอครูสอนน่าเบื่อ ผู้เรียนไม่เห็นว่าEnglish is fun. กอปรกับหวังสูงเกิน ยอมแพ้อะไรง่ายๆ และระดับสติปัญญาต่ำ หรือ มีอาการทางสมอง  4. การเขียนและการแปลเป็น ปรมัตถทักษะ เพราะคุณต้องผ่าน ข้อแรกมาพอสมควร แน่นอน มาถึงขั้นนี้คุณต้องมีผู้รู้มาช่วยตรวจภาษาให้คุณ ขืนนั่งเทียนตรวจแก้เอง คงใช้เวลานานมากหลายกัลป์จนสิ้นอสงขัย  5. ทำไมเด็กไทยส่วนใหญ่ “ยังไม่ถึงขั้น” ถามกลับว่า ครูไทยส่วนใหญ่ถึงขั้นแล้วรึยัง ทำไมครูภาษาไม่ลองทดสอบ TOEFL IELTS GRE  หรือ TKT ทุก  ปี ใครสอบไม่ผ่านเกณฑ์ระงับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ปี แฟร์ไหมครับ นักเรียนสอบ O-NET มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 นักศึกษาเจอ U-NET 2557 สร้างเพจล้ม U-NET ผ่านเจาะข่าวเด่น ชงจนสำเร็จ โดยไม่สน TQF. ว่า สมศ.ประเมินคุณภาพสถานศึกษา สทศ.ประเมินคุณภาพผู้เรียนตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ทั้งๆ ที่ U-NET 2014 สอบภาษาอังกฤษวิชาเดียวเท่านั้น รมว.ศธ.ขณะนั้นสั่งถอย ขณะที่มี AEC 2015 รออยู่ปีหน้า สำหรับประเด็นหนังสือและตำราเรียนภาษาอังกฤษ ปี 2556 UNESCO แถลงคนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ บรรทัด และกว่า 90% เป็นข้อความสั้นใน Social Media ส่วนสถาบันสอนภาษา ส่วนใหญ่สอนโดยผู้ที่ไม่ได้จบสายภาษาเกือบทั้งสิ้น มีทั้งวิศวกร นักบัญชี นักข่าว นักการตลาด ดารา ฯลฯ รู้ภาษาอังกฤษ แต่ไม่เข้าใจศาสตร์การสอนภาษา สอนไปตามประสบการณ์ตนเอง เอาผู้เรียนมาเป็น 'สัตว์ทดลอง' ความรู้ กว่าจะชำนาญฆ่าผู้เรียนตายไปเยอะ เพราะ คนรู้ภาษา กับ คนสอนภาษา เป็นคนละเรื่องกัน ในแง่ภาษาศาสตร์สังคม เราพบว่า คนเก่งภาษามักมาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมดี C+ ขึ้นไป โครงสร้างสังคมไทยเป็นปิรมิดฐานกว้างใช่หรือไม่ รวยกระจุกจนกระจาย ความรู้ภาษาก็เป็นไปตามนั้น ชนชั้นกลาง-สูงได้ที่นั่งในมหาวิทยาลัยระบบปิดของรัฐ Top 10 ชนชั้นล่างเอาที่เหลือไปแบ่งกัน งบประมาณปี 2557 มหาวิทยาลัยอันดับต้น ได้หมื่นกว่าล้านบาท มหาวิทยาลัยท้องถิ่นแห่งหนึ่งในภาคอีสานมีนักศึกษามากกว่ามหาวิทยาลัยอันดับต้น ได้ ร้อยล้านบาทเศษ จะปฏิรูปทุนมนุษย์ต้องยอมรับความจริงก่อน สังเกตง่ายๆ ว่าทำไมบางคนเก่งภาษา เช่น ตั๊น กฤดากร พีช พชร เก้า จิรายุ หนูนา บีม กวี เปปเปอร์ UHT จ๋า ณัฐฐาวีรนุช ชาคริต น้องณิชา แพนเค้ก โอปอล ยิบโซ ยิบซี ไก่ ภาษิต นาเดีย นิมิตรวานิช โมเม ณัฐ ศักดาทร นาวิน ตาร์ ป๊อบปี้ K-OTIC นท The Starมาร์ชHormones ฯลฯ ตรองดูดีดีว่าใช่ตามทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคมหรือไม่ การปรับปรุงแก้ไขเฉพาะที่หลักสูตรและการสอนภาษาประการเดียว ไม่มีวันที่ประเทศไทยจะพร้อมปรับตัวให้ทัน AEC 2015 อย่างแน่นอน...เพราะ ภาษากับสังคมสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


BChai
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
ภาษาต่างประเทศ


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.054743 sec.