kruaumaporn Article


กรด-เบส ในดิน




ค่า pH เป็นค่าที่บอกระดับความเป็นกรด-เบสของสาร

            ความเป็นกรด-เบสในดินจะมีผลต่อการดูดซึมแร่ธาตุและการเจริญเติบโตของพืช  พืชหลายชนิดเจริญเติบโตได้โดยช่วง  pH  ที่เหมาะสมเท่านั้น  และนอกจากนั้นความเป็นกรด-เบสในดินยังมีอิทธิพลต่อการย่อยสลายอินทรีย์สารของจุลินทรีย์ในดินอีกด้วย   เราสามารถทดสอบความเป็นกรด – เบส ของดินได้ด้วยการใช้ ยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ หรือใช้ น้ำยาทดสอบ ความเป็นกรด – เบสของดิน          กรด คือ สารที่มีกลิ่นฉุนและรสเปรี้ยวมีค่า  pH ต่ำกว่า  7  เมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ ไฮโดรเจนไอออน   ( H+  )  สามารถ กัดกร่อนโลหะได้ดี  เปลี่ยนสีกระดาษ     ลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง           เบส   คือ  สารที่มีรสฝาดมี  pH  สูงกว่า  7  เมื่อละลายน้ำจะแตกตัวได้ไฮดรอกไซด์ไอออน     (OH-)    และเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงิน          กลาง คือ  สารที่มีค่า  pH  เท่ากับ  7  เช่น  น้ำบริสุทธิ์  เป็นต้น  เมื่อทดสอบกับกระดาษลิตมัสจะไม่เปลี่ยนสี
         สาเหตุที่ทำให้ดินมีสภาพเป็นกรด-เบส   เนื่องจาก  น้ำ  อากาศ  หรือสารอื่นๆ  ที่มีสภาพเป็นกรดหรือเบสผ่านเข้าไปในดิน  และทีสาเหตุดังนี้         1. น้ำในดินมีการรวมตัวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศกลายเป็นกรดคาร์บอนิกอ่อนๆเมื่อได้รับกรดเพื่อขึ้นจากอินทรีย์วัตถุอื่นๆ  ก็จะทำให้ดินมีสภาพเป็น   กรดมากขึ้น          2. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์  (SO2 ) ที่ได้จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงพวกถ่านหินลิกไนต์จากโรงงานอุตสาหกรรม  เมื่อรวมตัวกับน้ำจะกลายเป็นกรดซัลฟุริก  (H2SO4) ซึ่งเป็นผลทำให้ดินบริเวณใกล้เคียงหรือบริเวณที่มีก๊าซนี้ผ่านเข้าไปมีสภาพเป็นกรด          3. ความเป็นเบสของดินเกิดจากในดินมีเกลือบางชนิด  เช่น  แคลเซียมคาร์บอเนต  โซเดียมคาร์บอเนต  แมกนีเซียมคาร์บอเนต  เป็นต้น  ปนอยู่ในดินปริมาณสูง
 .  ความเป็นกรด – เบสของดินจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้          1  ปัจจัยที่ทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น   เช่นการย่อยสลายของอินทรียสารในดิน   การใส่ปุ๋ยเคมี เป็นต้น  ถ้าดินมีสิ่ง    เหล่านี้มากจะทำให้ความเป็นกรดของดินมีค่ามากขึ้น          2 ปัจจัยที่ทำให้ดินเป็นเบสเพิ่มขึ้น เช่นปริมาณแคลเซียมไฮดรอกไซด์ Ca(OH)2  แคลเซียมออกไซด์ (CaO)  หรือแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3)  ที่มีอยู่ในดิน  ถ้าดินมีสารเหล่านี้ในปริมาณมากจะทำให้ความเป็นเบสของดินมีค่าสูงขึ้นด้วย          3 ปริมาณของแร่ธาตุบางชนิดในดิน  เช่น  แคลเซียม  แมกนีเซียม  โพแทสเซียม   และโซเดียม  ซึ่งดินแต่ละชนิด  จะมีปริมาณแร่ธาตุดังกล่าวมากน้อยต่างกันทำให้สมบัติความเป็นกรด – เบสแตกต่างกันไป
    พืชแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ             ปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง คือค่า pH ของดิน  พืชแต่ละชนิดเจริญเติบโตได้ดีในค่า pH ที่เหมาะสมกับพืชนั้นๆดังตารางต่อไปนี้   ตาราง  แสดงค่า  (pH)  ของดินที่เหมาะกับการปลูกพืชบางชนิด


ชนิดของพืช

ค่า(pH)ของดิน

ชนิดของพืช 

ค่า(pH) ของดิน

มันฝรั่ง

4.8 – 6.5

ถั่วเหลือง

6.0 – 7.0

ข้าว

5.0 – 6.5

ทานตะวัน

6.0 – 7.5

ข้าวโพด ข้าวสาลี

5.5 – 7.5

อ้อย 

6.0 – 8.0

ยาสูบ

5.5 – 7.5

ผักกาดหวาน

6.5 – 8.0

มันเทศ

5.8 – 6.0

ข้าวบาร์เลย์ 

6.5 – 8.5











 ค่า pH ของดินที่เหมาะกับพืชจะช่วยให้พืชดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ ในดิน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ดี  เนื่องจาก  แร่ธาตุที่อยู่ในดินมีความสามารถละลายน้ำได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับค่า       pH ของดิน  ดังนั้นจึงต้องมีการปรับปรุงดิน       เพื่อให้ค่า pHที่เหมาะกับการปลูกพืชแต่ละชนิด
               การแก้ไขสภาพความเป็นกรด – เบสของดิน  สามารถทำได้โดยเติมสารบางชนิดลงในดิน  เช่นดินเปรี้ยว  
     ต้องลดความเป็นกรดของดิน  โดยการเติมสารแคลเซียมไฮดรอกไซด์(ปูนขาว)     หรือดินมาร์ล ลงในดิน   
     ส่วนดินที่มีความเป็นเบสมากเนื่องจากดินเค็ม  เพราะมีสารประกอบพวกเกลือโซเดียมคาร์บอเนต (Na
2CO3) หรือ โซเดียมคลอไรด์ (NaCl)  อยู่มาก  ซึ่งสามารถแก้ไข    ได้โดย   เติมแคลเซียมซัลเฟต (CaSO4) หรือผงกำมะถันลงในดิน     ในปริมาณที่พอเหมาะ  ถ้าเติมผงกำมะถัน   ลงในดินมากเกินไปจะทำให้กลายเป็นดินเปรี้ยวได้


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


kruaumaporn
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.029586 sec.