วันที่ 1 เมษายน
  • บีโทเฟน (Lidwig van Beethoven) ยอดอัจฉริยะทางดนตรีของโลกถึงแก่กรรม

    บีโทเฟน (Lidwig van Beethoven) ยอดอัจฉริยะทางดนตรีของโลกถึงแก่กรรม

    26 มีนาคม พ.ศ. 2370 บีโทเฟน (Lidwig van Beethoven ค.ศ. 1770-1827) ยอดอัจฉริยะทางดนตรีของโลกถึงแก่กรรม แม้เขาจะสูญเสียประสาทการได้ยิน (หูหนวก) เมื่อเริ่มแต่งซิมโฟนีหมายเลขสอง แต่เขาก็สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อีกมาก ผลงานซิโฟนีทั้งหมดของเขาเป็นผลงานที่มิอาจประเมินค่าได้ ...

    ร. 5 พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟหลวงสายแรก

    ร. 5 พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟหลวงสายแรก

    26 มีนาคม 2439 ร. 5 พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟหลวงสายแรกในพระราชอาณาจักรคือสายนครราชสีมา ซึ่งขณะนั้นสร้างเสร็จตอนหนึ่งระหว่างสถานีกรุงเทพฯ ถึงอยุธยา ถือได้ว่ากิจการรถไฟหลวงของไทยได้ถือกำเนิดตั้งแต่บัดนั้น การรถไฟได้ถือเอาวันที่ 26 มีนาคมเป็น วันสถาปนาการรถไฟของไทย ...

  • วันเกิด ส.ศิวรักษ์ นักคิด-ปัญญาชนสยาม อดีตบรรณาธิการสำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์

    วันเกิด ส.ศิวรักษ์ นักคิด-ปัญญาชนสยาม อดีตบรรณาธิการสำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์

    27 มีนาคม พ.ศ. 2475 วันเกิด ส.ศิวรักษ์ นักคิด-ปัญญาชนสยาม เป็นบรรณาธิการสำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์ ช่วงปี พ.ศ. 2505 - 2512 ทำ สังคมศาสตร์ปริทัศน์ นิตยสารรายเดือน ซึ่งถือเป็นเวทีทางปัญญาและแหล่งรวมปัญญาชนในยุคนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่ง ซึ่งท้าทายการควบคุมความเห็นและไม่สยบยอมกับอภิสิทธิ์ต่าง ๆ แม้จะเป็นของขัตติยราช ปาฐกถาพิเศษ เนื่องใน เนื่องในงานรำลึกทศวรรษพฤษภาประชาธรรม วันที่ 19 พฤษภาคม 2545 ...

  • ประเทศตุรกี เปลี่ยนชื่อกรุง คอนสแตนติโนเปิล อดีตเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์และออตโตมัน เป็น อิสตันบูล

    ประเทศตุรกี เปลี่ยนชื่อกรุง คอนสแตนติโนเปิล อดีตเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์และออตโตมัน เป็น อิสตันบูล

    28 มีนาคม พ.ศ. 2473 เปลี่ยนชื่อกรุง คอนสแตนติโนเปิล อดีตเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์และออตโตมัน เป็น อิสตันบูล อันเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศตุรกี ตั้งอยู่ที่จุดใต้สุดของช่องแคบบอสพอรัส เป็นสะพานเชื่อมระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก เพราะเป็นเมืองเดียวในโลกที่ตั้งอยู่บนสองทวีปคือเอเชียและยุโรป ...

  • ร้อยโทวิลเลียม คัลเลย์ ถูกพิพากษาจากศาลทหารว่ามีความผิดในการร่วมฆาตกรรมหมู่ชาวเวียดนามใต้

    ร้อยโทวิลเลียม คัลเลย์ ถูกพิพากษาจากศาลทหารว่ามีความผิดในการร่วมฆาตกรรมหมู่ชาวเวียดนามใต้

    29 มีนาคม พ.ศ. 2514 ร้อยโทวิลเลียม คัลเลย์ (lieutenant William Calley) ถูกพิพากษาจากศาลทหารว่ามีความผิดในการร่วมฆาตกรรมหมู่ชาวเวียดนามใต้ เกือบ 500 คนที่หมู่บ้านมายลาย (My Lai) ในสงครามเวียดนาม โดยเข้าใจผิดว่าชาวบ้านในหมู่บ้านเป็นพวกเวียดกง หรือทหารของฝ่ายเวียดนามเหนือ ...

  • ภาพ Sunflowers ของ Vincent van Gogh ถูกประมูลขายไปในราคาที่ขณะนั้นถือว่าเป็นภาพที่มีราคาแพงที่สุดในโลก

    ภาพ Sunflowers ของ Vincent van Gogh ถูกประมูลขายไปในราคาที่ขณะนั้นถือว่าเป็นภาพที่มีราคาแพงที่สุดในโลก

    30 มีนาคม พ.ศ. 2530 ภาพ Sunflowers ของ Vincent van Gogh ถูกประมูลขายไปในราคา 22,500,000 ปอนด์ หรือประมาณ 1,350 ล้านบาท ที่สำนักงานประมูลคริสตีส์ (Christie’s) ในขณะนั้นถือว่าเป็นภาพที่มีราคาแพงที่สุดในโลกที่เคยมีมา ...

    วันเกิดฟินเซนต์ ฟานก็อก (2396-2433) จิตรกรแนวโพสท์อิมเพรสชันนิสม์ชาวดัตช์

    วันเกิดฟินเซนต์ ฟานก็อก (2396-2433) จิตรกรแนวโพสท์อิมเพรสชันนิสม์ชาวดัตช์

    30 มีนาคม พ.ศ. 2530 วันเกิด ฟินเซนต์ ฟานก็อก หรือรู้จักในไทยในชื่อ วินเซ้นต์ แวน โก๊ะ (2396-2433) จิตรกรแนวโพสท์อิมเพรสชันนิสม์ชาวดัตช์ หนึ่งในศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 19 ผลงานสำคัญได้แก่ภาพ Sunflowers, Starry Night, Bedroom at Arles ...

  • วันเกิด ศรีบูรพา หรือในชื่อจริง กุหลาบ สายประดิษฐ์ นักคิด นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ยุคแรกเริ่มของเมืองไทย

    วันเกิด ศรีบูรพา หรือในชื่อจริง กุหลาบ สายประดิษฐ์ นักคิด นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ยุคแรกเริ่มของเมืองไทย

    31 มีนาคม พ.ศ. 2448 วันเกิด ศรีบูรพา หรือในชื่อจริง กุหลาบ สายประดิษฐ์ (พ.ศ. 2448-2517) นักคิด นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ยุคแรกเริ่มของเมืองไทย เจ้าของบทประพันธ์อมตะ แลไปข้างหน้า, จนกว่าเราจะพบกันอีก, ลูกผู้ชาย, สงครามชีวิตและ ข้างหลังภาพ โดยในโอกาสวาระครบ 100 ปีชาติกาล พ.ศ. 2548 ท่านได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลดีเด่นของโลก ในฐานะผู้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศไทยและสร้างสันติภาพทั่วโลก โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ...

    พิธีเปิดหอไอเฟล สัญลักษณ์สำคัญของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

    พิธีเปิดหอไอเฟล สัญลักษณ์สำคัญของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

    31 มีนาคม 2432 พิธีเปิดหอไอเฟล สัญลักษณ์สำคัญของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้แสดงชั่วคราวในงานนิทรรศการปารีสและการฉลองครบรอบร้อยปีแห่งการปฏิวัติฝรั่งเศส ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโดย อเล็กซานเดอร์ กุสตาฟ ไอเฟล วิศวกรชาวฝรั่งเศส เมื่อสร้างเสร็จได้กลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกเป็นเวลากว่า 40 ปี ...

    เหตุระเบิดโรงแรมลี การ์เด้น พลาซ่า โฮเต็ล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

    เหตุระเบิดโรงแรมลี การ์เด้น พลาซ่า โฮเต็ล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

    เมื่อเวลา13.20 น. วันที่ 31 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีการแจ้งเกิดเสียงระเบิดบริเวณภายในศูนย์การค้าโรงแรม ลี การ์เด้น พลาซ่า โฮเต็ล ใจกลางย่านธุรกิจ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าเกิดจากถังก๊าซระเบิด หรือการลอบก่อเหตุร้าย โดยขณะเกิดเหตุทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติและประชาชน ที่กำลังจับจ่ายซื้อสินค้าวิ่งหนีกันชุลมุน ทรัพย์สินมีเสื้อผ้า โทรศัพท์ได้รับความเสียหายจำนวนมาก ขณะที่หน่วยกู้ซีพและพยาบาลได้ฉีดน้ำเพื่อลดควันและกลิ่นก๊าซ เพื่อรีบช่วยเหลือคนเจ็บส่ง รพ.เป็นการด่วน...

  • จัดตั้งกระทรวงศึกษาธิการ (เดิมคือกระทรวงธรรมการ) ทำหน้าที่บริหารงานด้านการศึกษาของชาติเป็นสำคัญ

    จัดตั้งกระทรวงศึกษาธิการ (เดิมคือกระทรวงธรรมการ) ทำหน้าที่บริหารงานด้านการศึกษาของชาติเป็นสำคัญ

    1 เมษายน พ.ศ. 2435 ตั้งกระทรวงศึกษาธิการ (เดิมคือกระทรวงธรรมการ) มีพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เป็นเสนาบดีคนแรก ทำหน้าที่บริหารงานด้านการศึกษาของชาติเป็นสำคัญ ...

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศพระบรมราชโองการให้ถือวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศพระบรมราชโองการให้ถือวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่

    1 เมษายน 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศพระบรมราชโองการให้ถือวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ จากเดิมที่เคยถือวันขึ้นปีใหม่ 2 ครั้ง คือ วันขึ้น 1 ค่ำเดือนห้า ซึ่งเป็นอิทธิพลจากลัทธิพราหมณ์ และวันสงกรานต์ อีกทั้ง ในปีนี้วันที่ 1 เมษายน (รัตนโกสินทร์ศก. 108) ก็ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำเดือนห้าพอดี ...

    เกิด กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย

    เกิด กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย

    01 เมษายน พ.ศ. 2524 เกิด กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย โดยทหารกลุ่ม จปร.7 ก่อกบฏเพื่อยึดอำนาจ พล. อ. เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี คณะผู้ก่อการนำโดย พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา พันเอกมนูญ รูปขจร พันเอกชูพงศ์ มัทวพันธุ์ พันเอกประจักษ์ สว่างจิตร พันเอกชาญบูรณ์ เพ็ญตระกูล พันโทพัลลภ ปิ่นมณี พันเอกสาคร กิจวิริยะ และ พันเอกแสงศักดิ์ มงคละสิริ ทั้งหมดจบจาก โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 7 หรือรุ่นยังเติร์ก โดยจับตัวนายทหารฝ่ายตรงข้ามและออกแถลงการณ์คณะปฏิวัติ ต่างฝ่าย...

  • วันเกิด ฮันส์ คริสเตียน เอ็นเดอร์เซน

    วันเกิด ฮันส์ คริสเตียน เอ็นเดอร์เซน

    2 เมษายน พ.ศ. 2348 วันเกิด ฮันส์ คริสเตียน เอ็นเดอร์เซน (Hans Christian Andersen) นักเขียนชาวเดนมาร์กผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น ราชาแห่งเทพนิยาย เกิดที่เมืองโอเดนเซ (Odense) ประเทศเดนมาร์ก มีผลงานเทพนิยายมากกว่า 160 เรื่อง เขาเป็นหนึ่งในบรรดานักประพันธ์ที่ได้รับการแปลผลงานบ่อยครั้งที่สุดในประวัติศาสตร์วรรณกรรม ผลงานที่ได้รับความนิยมได้แก่ ลูกเป็ดขี้เหร่ (The Ugly Duckling) เงือกน้อย (The Little Mermaid) ฉลองพระองค์ใหม่ของพระราชา (The Emperor’s New Cloth...

    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต

    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต

    2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคต พระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2330 เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ ในสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 กับเจ้าจอมมารดาเรียม ทรงเสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2367 ก่อนหน้านั้นได้ทรงรับราชการหลายหน้าที่ด้วยกันคือ กำกับราชการกรมท่าและกรมตำรวจ ทรงว่าราชการกรมพระคลังมหาสมบัติ เป็นแม่กองกำกับลูกขุน ณ ศาลหลวงและตุลาการทุกศาล ทรงค้าขายทางสำเภาจีน นำเงินรายได้เข้าท้องพระคลังเป็นจำนวนมาก ห...

    พระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก

    พระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก

    2 เมษายน พ.ศ. 2395 พระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก ตรงกับสมัย พระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยทรงมีพระดำริว่าวันที่พระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกนั้นเป็นมหามงคลสมัย ซึ่งประเทศทั้งปวงที่มีพระเจ้าแผ่นดินย่อมนับถือวันนั้นเป็นวันนักขัตฤกษ์มงคลกาล จึงได้ทรงพระราชดำริจัดการพระราชกุศลพระราชทานชื่อว่า ฉัตรมงคล นี้ขึ้น การพระราชพิธีฉัตรมงคลเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มนั้น มีสวดมนต์เลี้ยงพระ เวียนเทียนส...

  • โยฮันเนส บราห์ม คีตกวีชาวเยอรมันถึงแก่กรรม

    โยฮันเนส บราห์ม คีตกวีชาวเยอรมันถึงแก่กรรม

    3 เมษายน พ.ศ. 2440 โยฮันเนส บราห์ม (Johannes Brahms) คีตกวีชาวเยอรมันยุคโรแมนติก ถึงแก่กรรม บราห์มเกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2376 ที่เมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี เรียนดนตรีกับพ่อมาตั้งแต่เด็ก เริ่มเป็นนักดนตรีอาชีพในผับตั้งแต่อายุ 13 ปี ในปี 2405 เดินทางไปกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ผู้คนเริ่มเห็นฝีมือของเขาและยกย่องให้เป็น “ทายาททางดนตรีของบีโธเฟน” เขาแต่งซิมโฟนีบทแรกสำเร็จในปี 2419 และได้รับการขนานนามว่า “ซิมโฟนีบทที่ 10 ของบีโธเฟน&a...

    วันสถาปนา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก

    วันสถาปนา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก

    3 เมษายน พ.ศ. 2452 วันสถาปนา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก โดย จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ได้ทรงริเริ่มก่อตั้งในขณะที่ทรงรับตำแหน่งเสนาธิการทหารบก เพื่อให้การศึกษาแก่นายทหารที่จะทำหน้าที่ฝ่ายเสนาธิการ ทรงจัดการวางแนวทางหลักสูตรการศึกษาโรงเรียนเสนาธิการ และการคัดเลือกนายทหารที่มีคุณสมบัติอันเหมาะสมเข้ารับการศึกษา นอกจากนี้ยังทรงเรียบเรียงตำรา เรื่อง “พงษาวดารยุทธศิลปะ“ และเอกสารอื่น ๆ ที่ใช้เป็นตำราศ...

    วันเกิด วอชิงตัน เออร์วิง นักเขียนชาวอเมริกัน

    วันเกิด วอชิงตัน เออร์วิง นักเขียนชาวอเมริกัน

    3 เมษายน พ.ศ. 2326 วันเกิด วอชิงตัน เออร์วิง (Washington Irving) นักเขียนชาวอเมริกัน เกิดที่แมนฮัตตัน สหรัฐอเมริกา เรียนจบทางด้านกฎหมาย จากนั้นได้เดินทางไปในยุโรปหลายประเทศ และใช้ชีวิตในยุโรปอยู่หลายปี เขาจึงสามารถพูดได้หลายภาษา เช่น เยอรมัน ดัตช์ สเปน ฝรั่งเศส เคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำสเปนอยู่ช่วงหนึ่ง ในช่วงที่เดินทางท่องเที่ยวแถบยุโยปนี้เองที่กลายเป็นวัตถุดิบให้งานเขียนจำนวนมากของเขา งานหลายชิ้นเขาเขียนต้นฉบับที่ยุโรปแล้วส่งไปพิมพ์ที่อเมริกา เออ...

  • ภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือกออกฉายรอบปฐมทัศน์

    ภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือกออกฉายรอบปฐมทัศน์

    4 เมษายน พ.ศ. 2484 พระเจ้าช้างเผือก หรือ The King of the White Elephant ภาพยนตร์ไทยเสียงภาษาอังกฤษในฟิล์ม ของ บริษัท ปรีดีภาพยนตร์ ออกฉายรอบปฐมทัศน์พร้อมกันถึง 3 ประเทศได้แก่ กรุงเทพฯ นิวยอร์ก และสิงคโปร์ ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างในปี 2483 จากบทประพันธ์ของ ปรีดี พนมยงค์ เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่ได้เค้าโครงมาจากสงครามช้างเผือกและสงครามยุทธหัตถีของพระมหาจักรพรรดิด์ มีเนื้อหาสะท้อนแนวคิดด้านสันติภาพ นำเสนอธรรมะในการปกครองแผ่นดิน คัดค้านกระแสชาตินิยมและต่อต้านสงคราม...

    ฟรานซิส เดรก เดินทางรอบโลกสำเร็จเป็นคนแรก

    ฟรานซิส เดรก เดินทางรอบโลกสำเร็จเป็นคนแรก

    4 เมษายน พ.ศ. 2124 ฟรานซิส เดรก (Sir Francis Drake) เป็นนักเดินเรือชาวอังกฤษคนแรกที่เดินทางรอบโลกสำเร็จ เขาออกจากท่าเรือในอังกฤษด้วยเรือ โกลเดนไฮนด์ (Goldenhinde) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2120 เข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ผ่านช่องแคบแมกเจลัน ผ่านแหลมกูดโฮป เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2123 แล้วผ่านเกาะเปลิวกลับสู่อังกฤษ โดยใช้เวลาถึง 3 ปีในการเดินทางรอบโลก ตอนแรกออกเดินทางพร้อมกับกองเรือของอังกฤษอีก 5 ลำแต่ถูกพายุเสียหายเหลือเพียงเรือโกลเดนไฮน์กลับมาเพียงลำเดียว ปีต่อมา สมเด...

    วันก่อตั้ง องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO)

    วันก่อตั้ง องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO)

    4 เมษายน พ.ศ. 2492 วันก่อตั้ง องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต (North Atlantic Treaty Organisation - NATO) โดยการรวมตัวกันของประเทศต่าง ๆ 12 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา เบลเยียม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอรเวย์ และโปรตุเกส ร่วมกันลงนามในสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (the North Atlantic Treaty) ก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 ส...

  • วันเกิดโธมัส ฮ็อบส์ นักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษ

    วันเกิดโธมัส ฮ็อบส์ นักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษ

    5 เมษายน พ.ศ. 2131 วันเกิด โธมัส ฮ็อบส์ (Thomas Hobbes) นักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษ ผู้ค้นคิดทฤษฎี สัญญาประชาคม (Social Contract) เกิดที่เมืองวิลท์ไชร์ (Wiltshire) ประเทศอังกฤษ ฮอบส์เป็นผู้คงแก่เรียน เขาแตกฉานในภาษากรีกและละตินตั้งแต่ยังเด็ก เข้าศึกษาด้านวรรณคดีกรีกและโรมันที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด จากนั้นเป็นอาจารย์สอนลูกหลานในตระกูลแคเวนดิช (Cavendish) และใช้ชีวิตเรียบง่ายมาตลอด ฮอบส์มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับ กาลิเลโอ (Galileo Galilei) นิวตัน (Sir Isaac Newton) แล...

    วันเกิด อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์

    วันเกิด อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์

    5 เมษายน พ.ศ. 2450 วันเกิด สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกิดที่บางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรของมหาอำมาตย์ตรี พระยาธรรมสารเวทย์วิเศษ-ภักดีฯ (ทองดี ธรรมศักดิ์) อธิบดีศาลอุทธรณ์ในสมัยนั้น กับ คุณหญิงชื้น ธรรมศักดิ์ เข้าศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ สำเร็จเป็นเนติบัณฑิตจากโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม เมื่อปี 2471 ปีต่อมาได้ทุนเล่าเรียน รพีบุญนิธิ ไปศึกษาวิชากฎหมายที่ The Middle Temple London ประเทศอังกฤษ จากนั้นกลับเมืองไทยมาเป็นผู้พิพากษากระ...

    เครื่องบิน มิก 1 (MIG 1) ลำแรกทะยานขึ้นสู้ท้องฟ้ารัสเซีย

    เครื่องบิน มิก 1 (MIG 1) ลำแรกทะยานขึ้นสู้ท้องฟ้ารัสเซีย

    5 เมษายน พ.ศ. 2483 เครื่องบิน มิก 1 (MIG 1) ลำแรกทะยานขึ้นสู้ท้องฟ้ารัสเซีย เครื่องบินมิกเป็นเครื่องบินรบความเร็วสูงผลิตโดยบริษัท มิโคยัน กูเรวิช (Mikoyan-Gurevich) บริษัทผลิตเครื่องบินในประเทศรัศเสีย ผลิตเพื่อใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ออกแบบโดย นิโคไล นิโคเลวิช โพลิคาร์พอฟ ( Nikolai Nikolaevich Polikarpov) สามรถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 657 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ต่อมาได้มีการปรับปรุงเรื่องการควบคุมบังคับและออกแบบใหม่เป็นรุ่น มิก 3 มิก 5 และมิก 7 ตามลำดับ ปัจจุบันเครื่...

  • รัชกาลที่ 1 เสด็จขึ้นครองราชย์

    รัชกาลที่ 1 เสด็จขึ้นครองราชย์

    6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งธนบุรีมาที่ฝั่งตะวันออก โดยทรงทำพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันที่ 21 เมษายนปีเดียวกัน และทรงพระราชทานนามพระนครแห่งนี้ว่า กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ ซึ่งเป็นชื่อเ...

    การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกยุคใหม่ครั้งแรก

    การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกยุคใหม่ครั้งแรก

    6 เมษายน พ.ศ. 2439 การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกยุคใหม่ (Olympic Games) เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกที่ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ โดยมีนักกีฬาคนสำคัญของฝรั่งเศสชื่อ บารอน ปิแอร์ เดอ คูเบอร์แตง (Baron Pierre de Coubertin) เป็นผู้ริเริ่มและชักชวนหลายประเทศตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ซึ่งจัดขึ้น 4 ปีต่อ 1 ครั้ง โดยให้ประเทศสมาชิกหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกิดขึ้นเมื่อกว่า 1,200 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคแรก ๆ นักกีฬาจะต้องเปลือยกายเข้าแข่งขัน เพื่อประกวดความ...

    วันเกิด ฮาโรลด์ เอ็ดเกอร์ตัน นักประดิษฐ์อเมริกัน

    วันเกิด ฮาโรลด์ เอ็ดเกอร์ตัน นักประดิษฐ์อเมริกัน

    6 เมษายน พ.ศ. 2447 วันเกิด ฮาโรลด์ ยูจีน เอ็ดเกอร์ตัน (Harold Eugene Edgerton) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์ถ่ายภาพความเร็วสูงหรือ สโตรโบสโคป (stroboscope) เกิดที่รัฐเนบราสกา สหรัฐอเมริกา เขาเริ่มฉายแววนักประดิษฐ์ตั้งแต่เด็ก ๆ เขาจบปริญญาโทจากคณะวิศวกรรมไฟฟ้าจาก Massachusetts Institute of Technology : MIT และเข้าเป็นอาจารย์ที่นี่ ระหว่างที่เขากำลังทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดยการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าไปในปริมา...

  • วันเกิด บิลลี ฮอลิเดย์ นักร้องเพลงแจ๊ซ

    วันเกิด บิลลี ฮอลิเดย์ นักร้องเพลงแจ๊ซ

    7 เมษายน พ.ศ. 2458 วันเกิด บิลลี ฮอลิเดย์ หรือ เลดี เดย์ (Billie Holiday or Lady Day) นักร้องที่เป็นตำนานหนึ่งในโลกของแจ๊ซ เกิดที่เมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา เดิมชื่อว่า อิเลนอรา แฮร์ริส (Eleanora Harris) ชีวิตของเธอมีสีสันหวือหวา สลับซับซ้อนสมกับเป็นหนึ่งในตำนานอมตะของแจ๊ซ เธอเติบโตมาท่ามกลางความอัตคัดขัดสน แม่ท้องตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น พ่อทิ้งครอบครัวไปตั้งแต่เธอยังเล็ก ตอนอายุ 11 เธอถูกข่มขืน จากนั้นชีวิตวัยรุ่นของเธอก็มืดหม่นอยู่ในซองโสเภณี หลังจากได้ฟังเสี...

    วันเกิด วิลเลียม เวิร์ดสเวิร์ธ กวีชาวอังกฤษ

    วันเกิด วิลเลียม เวิร์ดสเวิร์ธ กวีชาวอังกฤษ

    7 เมษายน พ.ศ. 2313 วันเกิด วิลเลียม เวิร์ดสเวิร์ธ (William Wordsworth) กวีแนวโรแมนติกผู้ยิ่งใหญ่ชาวอังกฤษ เกิดที่เมืองคัมเบอร์แลนด์ (Cumberland) ประเทศอังกฤษ เข้าเรียนที่วิทยาลัยเซนต์จอห์น มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (St John’s College, Cambridge) ระหว่างนั้นได้เข้าร่วมการปฏิวัติฝรั่งเศส เมื่อเรียนจบจึงเดินทางไปท่องเที่ยวฝรั่งเศสและอิตาลี ผลงานบทกวีเล่มแรกคือ An Evening Walk และ Descriptive Sketches ตีพิมพ์ในปี 2336 บทกวีของเขามักได้แรงบันดาลใจจากความงดงามของ...

    รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก

    รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก

    7 เมษายน พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี เพื่อทอดพระเนตรการปกครองของอารยะประเทศ รวมเวลา 7 เดือน พระองค์ได้ทรงเห็นบ้านเมืองที่มีการพัฒนาแล้ว รวมไปถึงระบบการคมนาคมขนส่ง ถนนหนทางที่สวยงามสะดวกสะบาย หลังจากเสด็จกลับจากถึงสยาม จึงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้ทันสมัยเทียมเท่าต่างประเทศ ...

  • รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้สร้าง เสาชิงช้า

    รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้สร้าง เสาชิงช้า

    8 เมษายน พ.ศ. 2327 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ พระครูสิทธิชัย (กระต่าย) สร้าง เสาชิงช้า บริเวณหน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม เสาชิงช้าทำด้วยไม้สักทาสีแดงชาดสูงประมาณ 21 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางฐานกลมประมาณ 10.5 เมตร ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2492 เสาชิงช้าใช้ใน พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง...

    กรมยุทธนาธิการ ถูกจัดตั้งขึ้น

    กรมยุทธนาธิการ ถูกจัดตั้งขึ้น

    8 เมษายน พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ จัดตั้ง กรมยุทธนาธิการ ขึ้น โดยรวมกิจการ ทหารบก และ ทหารเรือ ไว้ด้วยกันเพื่อจัดกำลังทหารให้ทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ มีประสิทธิภาพ และให้หน่วยทหารต่าง ๆ ในกรมทหารมหาดเล็ก ไปขึ้นตรงกับกรมยุทธนาธิการ โดยมี สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ เป็นเสนาบดีและต่อมาได้ยกฐานะเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ เมื่อ 1 เมษายน 2433 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงกลาโหม (Ministry ...

    ปาโบล ปิกัสโซ ศิลปินเอกของโลกถึงแก่กรรม

    ปาโบล ปิกัสโซ ศิลปินเอกของโลกถึงแก่กรรม

    8 เมษายน พ.ศ. 2516 ปาโบล ปิกัสโซ (Pablo Ruiz Picasso) ศิลปินเอกของโลกชาวสเปน ถึงแก่กรรม ปิกัสโซเกิดที่เมืองมาลากา (Malaga) ประเทศสเปน เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2424 พ่อเป็นอาจารย์สอนศิลปะในมหาวิทยาลัย เขาเริ่มฉายแววศิลปินอัจฉริยะตั้งแต่เด็ก ด้วยการเปล่งเสียงคำแรกที่พูดได้คือ ‘piz (คำย่อของ Lapiz) ซึ่งแปลว่า ดินสอ จากนั้นพ่อของเขาก็เริ่มสอนศิลปะให้ ปี 2443 เขาเดินทางไปปารีส เมืองหลวงของศิลปะในสมัยนั้น ปีแรก ๆ เขาต้องทำงานหนักและอยู่อย่างลำบาก หลายครั้งต้องเ...

  • กรมทหารอากาศ ยกฐานะเป็น กองทัพอากาศ

    กรมทหารอากาศ ยกฐานะเป็น กองทัพอากาศ

    9 เมษายน พ.ศ. 2480 กรมทหารอากาศ ยกฐานะขึ้นเป็น กองทัพอากาศ ขึ้นกับ กระทรวงกลาโหม โดยมี นาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรก กิจการบินของไทยเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ในปี 2454 เมื่อ ชารลส์ แวน เด็น บอร์น (Charles Van Den Born) นักบินชาวเบลเยียมได้นำเครื่องบินมาแสดงในประเทศไทยเป็นครั้งแรกที่สนามม้าสระปทุม จากนั้นกระทรวงกลาโหมได้ตั้ง แผนกการบิน ขึ้นในกองทัพบก พร้อมทั้งได้คัดเลือกนายทหารบก 3 คนไปศึกษาวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส ปี 2457 แผน...

    เครื่องบิน โบอิง 737 ออกบินครั้งแรก

    เครื่องบิน โบอิง 737 ออกบินครั้งแรก

    9 เมษายน พ.ศ. 2510 เครื่องบิน โบอิง 737 (Boeing 737) เริ่มออกบินเป็นครั้งแรก โบอิง 737 ผลิตโดย บริษัท Boeing Commercial Airplanes ประเทศสหรัฐอเมริกา ปีต่อมาก็เริ่มออกให้บริการโดยสายการบิน Lufthansa ประเทศเยอรมนี โบอิง 737 จัดเป็นเครื่องบินลำตัวแคบ (Narrow-body aircraft) คือมีที่นั่งแถวละ 6 คน ใช้เครื่องยนต์ไอพ่น (Jet engine) 2 เครื่อง รุ่นแรกจุผู้โดยสารได้ 118 คน ลำตัวยาว 28.6 ม. ปีกยาว 28.3 ม. สูง 11.3 ม. นักหนัก 28.120 กก. เพดานบินสูงสุดที่ 35,000 ฟุต ทำความเร...

    ไทยโทรทัศน์เปลี่ยนเป็นองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย

    ไทยโทรทัศน์เปลี่ยนเป็นองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย

    9 เมษายน พ.ศ. 2520 บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เปลี่ยนฐานะเป็น องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ทั้งนี้ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2495 บริหาร สถานีวิทยุโทรทัศน์ ไทยทีวี ช่อง 4 (บางขุนพรหม) เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย แพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2498 ภายหลังรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้ออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2520 เพื่อดำเนินกิจกา...

  • เดอะ บีทเทิลส์ แถลงข่าววงแตกอย่างเป็นทางการ

    เดอะ บีทเทิลส์ แถลงข่าววงแตกอย่างเป็นทางการ

    10 เมษายน พ.ศ. 2513 พอล แม็คคาร์ทนีย์ (Paul McCartney) ออกแถลงข่าวว่า เดอะ บีทเทิลส์วงแตก อย่างเป็นทางการ เดอะ บีทเทิลส์ (The Beatles) เริ่มโด่งดังไปทั่วโลกในยุคต้นคริสตศตวรรษ 60 จากนั้นดนตรีของพวกเขาก็เริ่มเปลี่ยนไปตามอิทธิพลของเสรีภาพในยุค บุปผาชน ช่วงหลังพวกเขาก็เริ่มทดลองแนวทางดนตรีใหม่ ๆ ซึ่งปรากฏในผลงานชุด Sgt Pepper’s Lonely Hearts Club Band เมื่อปี 2510 จากนั้นเดอะ บีทเทิลส์ก็เริ่มเข้าสู่ยุคเสื่อมเมื่อ สมาชิกในวงเริ่มมีความขัดแย้งกันโดยเฉพาะเลน...

    เรือไททานิค ออกเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์

    เรือไททานิค ออกเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์

    10 เมษายน พ.ศ. 2455 ไททานิค (RMS Titanic) ออกเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์จากท่าเรือเซาแทมป์ตัน ประเทศอังกฤษ มุ่งหน้าสู่เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ไททาทิคเป็นเรือเดินสมุทรของบริษัท The White Star Line (Oceanic Steam Navigation Company) มีความยาว 269 เมตร กว้าง 28 เมตร มีระวางความจุ 46,328 ตัน ลำเรือสูงจากระดับน้ำ 18 เมตร ขับเคลื่อนด้วยใบพัด 3 ใบจากเครื่องจักรไอน้ำจากความร้อนของถ่านหิน กำลัง 50,000 แรงม้า (hp) สามารถทำความเร็วได้ 23 น็อท หรือ 43 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีปล...

    มกุฎราชกุมารอะกิฮิโตะ ทรงอภิเษกสมรส

    มกุฎราชกุมารอะกิฮิโตะ ทรงอภิเษกสมรส

    10 เมษายน พ.ศ. 2502 มกุฎราชกุมารอะกิฮิโตะ (Prince Akihito) ทรงอภิเษกสมรสกับ นางสาวมิชิโกะ โชะดะ (Michiko Shoda) นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่พระราชวงศ์แต่งงานกับสามัญชน ภายหลังนางสาวมิชิโกะได้รับโปรดเกล้าฯ ขึ้นเป็น เจ้าหญิงมิชิโกะ เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ (Emperor Hirohito) พระบิดาเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2532 เจ้าฟ้าชายอะกิฮิโตะ ก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 125 ของญี่ปุ่น พระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ (His Imper...

  • พิธีเปิดการเดินรถไฟสายแรกของสยาม

    พิธีเปิดการเดินรถไฟสายแรกของสยาม

    11 เมษายน พ.ศ. 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงทำพิธีเปิดการเดินรถไฟสายแรกของสยาม คือ รถไฟสายปากน้ำ จากกรุงเทพฯ - สมุทรปราการ ระยะทาง 21 กิโลเมตร โดยรัฐบาลได้อนุมัติสัมปทานก่อสร้างและดำเนินกิจการโดย บริษัทรถไฟปากน้ำ ของชาวเดนมาร์ก มีสัญญาสัมปทาน 50 ปี เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2434 แล้วเสร็จในปี 2436 ค่ารถไฟในสมัยนั้น ไปกลับ 1 บาท มี 10 สถานี สถานีละ 1 เฟื้อง สถานีต้นทางคือสถานีหัวลำโพง รถจะหยุดรับส่งคนโดยส...

    ยานอะพอลโล 13 ออกเดินทางไปดวงจันทร์

    ยานอะพอลโล 13 ออกเดินทางไปดวงจันทร์

    11 เมษายน พ.ศ. 2513 ยานอะพอลโล 13 (Apollo 13) ขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา เดินทางไปปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์ โดยมีลูกเรือ 3 คนได้แก่ เจมส์ โลเวลล์ (James A Lovell) จอห์น สวิกเกิร์ต (John L Swigert) และ เฟรด ไฮส์ (Fred W Haise) อีกสองวันต่อมา ก่อนที่จะเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์ พวกเขาต้องเผชิญสถานการณ์เฉียดตายในอวกาศ เมื่อถังออกซิเจนในยานบัญชาการเกิดระเบิด ทำให้ไม่สามารถนำยานอวกาศลงดวงจันทร์ได้ตามแผน พวกเขาต้องประคองยานที่อยู่ในสภาพเสียหายโคจรรอบดวงจันทร์เป็นเวลากว...

    นายพล ดักลาส แม็คอาร์เธอร์ ถูกปลดจากตำแหน่ง

    นายพล ดักลาส แม็คอาร์เธอร์ ถูกปลดจากตำแหน่ง

    11 เมษายน พ.ศ. 2494 นายพล ดักลาส แม็คอาร์เธอร์ (Douglas MacArthur) แม่ทัพสหรัฐอเมริกาผู้บัญชาการกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลี ถูกสั่งปลดออกจากตำแหน่ง โดย ประธานาธิบดี แฮรี ทรูแมน (Harry S. Truman) เนื่องจากฝ่าฝืนนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ และสหประชาชาติ โดยประกาศว่าจะบุกประเทศจีน และจะทิ้งระเบิดปรมาณูในประเทศจีน เพื่อตัดกำลังไม่ให้ส่งมาช่วยเกาหลีเหนือ (ซึ่งสนับสนุนโดยคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะจีนและสหภาพโซเวียต ส่วนเกาหลีใต้สนับสนุนโดยฝ่ายประชาธิปไตย) แต่ประธานาธิบดีทรู...

  • วันสถาปนาเมืองเชียงใหม่

    วันสถาปนาเมืองเชียงใหม่

    12 เมษายน พ.ศ. 1839 วันสถาปนาเมือง เชียงใหม่ โดย พ่อขุนเม็งราย พ่อขุนรามคำแหง และ พ่อขุนงำเมือง ทรงร่วมกันก่อสร้างเมืองใหม่ขึ้น ณ ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง บริเวณเชิงดอยสุเทพ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางแห่งอาณาจักรล้านนา จากนั้นได้ทรงขนานนามว่า นพบุรีศรีนครพิงค์ เชียงใหม่ ในอดีตเชียงใหม่มีฐานะเป็นนครรัฐอิสระ ปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย จนถึงปี 2101 ตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาและพม่าอยู่หลายครั้ง จนกระทั่ง เจ้ากาวิละ และ พระยาจ่าบ้าน ขับไล่พม่าออกไปได้สำเร็จ รัชกาลที่ ...

    นายปรีดี พนมยงค์ ถูกบังคับให้ออกจากประเทศ

    นายปรีดี พนมยงค์ ถูกบังคับให้ออกจากประเทศ

    12 เมษายน พ.ศ. 2476 นายปรีดี พนมยงค์ ถูกบังคับให้เดินทางออกจากประเทศไทยในข้อกล่าวหาว่าเป็น คอมมิวนิสต์ หลังจากที่เป็นหนึ่งในคณะราษฎรทำการอภิวัฒน์การปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นายปรีดีได้รับเลือกเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้รับมอบหมายให้ร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจ ซึ่งนายปรีดีได้ร่างเค้าโครงฯ แบบสหกรณ์เต็มรูปแบบ แต่ไม่ทำลายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชน โดยให้รัฐซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมด้วยพันธบัตร และยังได้วางหลักการประกันสังคม คือให้การประกันแก่ราษฎรตั้งแต่...

    แฟรงคลิน รูสเวลต์ เสียชีวิต

    แฟรงคลิน รูสเวลต์ เสียชีวิต

    12 เมษายน พ.ศ. 2488 แฟรงคลิน รูสเวลต์ (Franklin Delano Roosevelt) ประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง รูสเวลต์เกิดเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2445 ในครอบครัวชนชั้นผู้ดีที่กรุงนิวยอร์ก มีญาติเป็นประธานาธิบดีคนที่ 26 ของอเมริกาคือ Theodore Roosevelt ซึ่งกลายเป็นแรงบันดาลใจที่ส่งให้เขาได้เป็นประธานาธิบดีในเวลาต่อมา รูสเวลต์เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมีนาคม 2476 ไปจนถึงเดือนเมษายน 2488 นับเป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด และเป็นประธานาธิบดี...

  • วันเกิด โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)

    วันเกิด โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)

    13 เมษายน พ.ศ. 2286 วันเกิด โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) ประธานาธิบดีคนที่ 3 แห่งสหรัฐอเมริกา เกิดที่รัฐเวอร์จิเนีย สนใจวิชาคณิตศาสตร์และปรัชญาเป็นพิเศษ โดยเฉพาะของ จอห์น ล็อค (John Locke) ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) และไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) จากนั้นก็เรียนต่อกฎหมาย จบแล้วทำงานเป็นทนายความ ต่อมาได้รับเลือกให้ได้เข้าเป็นสมาชิกของสภานิติบัญญัติของรัฐเวอร์จิเนีย ในช่วงนั้นประเทศสหรัฐอเมริกามีความขัดแย้งกับประเทศอังกฤษ เขาได้เขียนบทความเกี่ยวกับเร...

    การประชุมสมัชชาโลกว่าด้วยผู้สูงอายุ

    การประชุมสมัชชาโลกว่าด้วยผู้สูงอายุ

    13 เมษายน พ.ศ. 2525 การประชุมสมัชชาโลกว่าด้วยผู้สูงอายุ (World Assembly on Aging) ถูกจัดขึ้น ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นสำคัญเกี่ยวกับผู้สูงอายุไว้ 3 ประการ คือ ด้านมนุษยธรรม ด้านการพัฒนา และด้านการศึกษา และได้กำหนดให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเป็นผู้สูงอายุ (Elderly) ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก จากนั้นคณะรัฐมนตรีได้ลงมติ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคมปีเดียวกัน อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายน ของทุกปีเป็น วันผู้สูงอายุแห่งชาติ ...

    รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองมหาสวัสดิ์ขึ้น

    รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองมหาสวัสดิ์ขึ้น

    13 เมษายน พ.ศ. 2402 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุด คลองมหาสวัสดิ์ ขึ้น เพื่อเชื่อมระหว่างแม่น้ำนครชัยศรีกับแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับใช้เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ และเป็นเส้นทางคมนาคม โดยให้ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำบุนนาค) และ พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ เป็นแม่กองจ้างชาวจีนขุด เริ่มลงมือเมื่อวันที่ 13 กันยายนปีเดียวกัน เสร็จเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม รวมเป็นเงินค่าแรงทั้งสิ้น 1,101 ชั่ง 10 ตำลึง คลองมหาสวั...

  • โรงงานผลิตรถยนต์ วอลโว่ ก่อตั้งขึ้น

    โรงงานผลิตรถยนต์ วอลโว่ ก่อตั้งขึ้น

    14 เมษายน พ.ศ. 2470 โรงงานผลิตรถยนต์ วอลโว่ (Volvo) ก่อตั้งขึ้นที่เมืองกูเตนเบิร์ก ประเทศสวีเดน โดย แอสซาร์ การ์เบรียลส์สัน (Assar Gabrielsson) และ กุสตาฟ ลาร์สัน (Gustav Larson) ได้จดทะเบียนบริษัท AB Volvo ในปี 2454 โดยแยกตัวจากิจการผลิตลูกปืน (Bearing) ญี่ห้อ SKF บริษัทวอลโว่เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2469 แล้วจึงเริ่มสร้างโรงงานในวันที่ 14 เมษายน 2470 พร้อมกับเปิดตัวรถยนต์วอลโว่รุ่นแรก Volvo OV 4 อย่างเป็นทางการ วอลโว่ผลิตทั้งรถยนต์ รถบรรทุก รถบัส...

  • วันเกิด ลีโอนาร์โด ดา วินชี

    วันเกิด ลีโอนาร์โด ดา วินชี

    วันเกิด ลีโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) (พ.ศ. 1995-2062) ชาวอิตาลี ผู้ได้รับฉายาว่า ผู้รอบรู้จักรวาล (universal man) เพราะเป็นผู้ที่มีความชำนาญหลายด้าน เป็นทั้งจิตรกรเอก ประติมากร นักประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์ รอบรู้เรื่องกายวิภาคศาสตร์ สถาปัตยกรรม ดาราศาสตร์ พฤกษศาสตร์ เจ้าของภาพที่ยิ่งใหญ่ของโลกชื่อ อาหารเย็นมื้อสุดท้าย (The Last Supper) และ โมนาลิซ่า ...

  • โผน กิ่งเพชร ได้เป็นแชมป์โลกคนแรกของไทย

    โผน กิ่งเพชร ได้เป็นแชมป์โลกคนแรกของไทย

    16 เมษายน 2503 โผน กิ่งเพชร (มานะ สีดอกบวบ) ชนะคะแนนในการชกชิงแชมป์มวยสากลระดับโลกรุ่นฟลายเวท จาก ปาสคาล เปเรซ แชมป์โลกชาวอาร์เจนตินา ณ เวทีมวยลุมพินี ชัยชนะครั้งนี้ทำให้โผน กิ่งเพชร กลายเป็นแชมป์โลกคนแรกในประวัติศาสตร์วงการมวยของไทย ...

  • เหม เวชกร ถึงแก่กรรม

    เหม เวชกร ถึงแก่กรรม

    17 เมษายน 2497 เหม เวชกร ถึงแก่กรรม ในสมัยที่นิยายราคาเล่มละ 10 สตางค์ เหม เวชกรเป็นจิตรกรของยุคนั้น ตลอดระยะเวลาสี่สิบกว่าปีของชีวิตช่างเขียน เหมผลิตผลงานหลายมื่นชิ้น มีตั้งแต่ภาพปก ภาพประกอบ นิยายภาพ หนังสืออ่านเล่น หนังสือเรียน ไปจนถึงรูปพระพุทธประวัติที่พิมพ์ให้เช่าใส่กรอบติดตามวัด ในสายตาของ ศิลปิน เขาเป็นได้เพียงช่างเขียน งานตลาด แต่สำหรับสาธารณชนแล้ว เขาคือผู้กำหัวใจของความงาม อย่างไทย ไว้ได้อย่างเหนียวแน่น สามทศวรรษหลังมรณกรรมของเหม ภาพประกอบเล็...

  • การลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring treaty)

    การลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring treaty)

    18 เมษายน พ.ศ. 2398 มีการลงนามใน สนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring treaty) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาทางการค้าระหว่างประเทศสยามกับอังกฤษ ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 4 โดย เซอร์ จอห์น เบาว์ริง (Sir. John Bowring) ได้เชิญพระราชสาสน์ของ สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการเข้ามาทำสนธิสัญญาทางไมตรี คณะของเบาว์ริงเดินทางมาถึงปากน้ำเจ้าพระยาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2398 ในสมัยนั้นชาวตะวันตกได้เข้ามาทำการค้าและล่าอาณานิคมกับประเทศแถบตะวันออกมากขึ...

    อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาย

    อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาย

    18 เมษายน พ.ศ. 2498 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 20 เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาย ที่เมืองพรินซ์ตัน รัฐนิวเจอร์ซี สหรัฐอเมริกา ไอน์สไตน์เป็นชาวยิวเกิดที่เมืองอูล์ม (Ulm) ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2422 ตอน 5 ขวบเขาได้รับเข็มทิศเป็นของขวัญจากพ่อ ซึ่งจุดประกายให้เขาสนใจความลับในธรรมชาติ อายุ 17 ปีย้ายไปสวิสเซอร์แลนด์ จบโรงเรียนโปลีเทคนิคประจำเมืองซูริก อายุ 26 ปีเขาเสนอผลงาน 3 เรื่องที่ส่งผลสะเทือนต่อวงการฟิสิกส์ ได้...

วันนี้ในอดีตปีอื่นๆ