K-Me Article


กรด-เบส ตอนที่ 1 ทฤษฎีกรด-เบส

กรด-เบส  (Acid-Base)
ตอนที่ 1  ทฤษฎีกรด-เบส  (Acid-Base Theories)
                ทฤษฎีกรด-เบสที่ควรทำความเข้าใจในขั้นนี้มี  3  ทฤษฎี  ได้แก่
1. ทฤษฎีกรด-เบส  ของอาร์รีเนียส (The Arrhenius Theory of acids and bases) ( พ.ศ.2446)  
           
อาร์รีเนียส  กล่าวว่า    กรด  คือสารที่แตกตัวให้  H+ เมื่อเกิดการละลาย 
                (Acids are substances which produce hydrogen ions in solution.)
          เบส  คือสารที่แตกตัวให้  OH- เมื่อเกิดการละลาย
                 (Bases are substances which produce hydroxide ions in solution.)
*  เมื่อ  H+  ทำปฏิกิริยากับ  OH-  เรียกว่าปฏิกิริยาสะเทิน (Neutralisation)  ทำให้ความเป็นกรด-เบสหมดไป  กลายเป็นน้ำ 
    ดังสมการ ;   H+(aq)  +  OH-(aq)  →  H2O(l) 
* ตามทฤษฎีของอาร์รีเนียส  H2O  เป็นสารที่มีสมบัติเป็นกลาง  แต่ในทฤษฎีอื่นจะพบว่า  H2O  อาจเป็นได้ทั้งกรดและแบส

                ทฤษฎีกรดเบสของอาร์รีเนียสมีข้อบกพร่อง(Limitations of the theory) ทำให้อธิบายความเป็นกรดหรือเบสได้ไม่ครอบคลุมทุกสถานการณ์  เช่น  ปฏิกิริยาดังสมการ
                NaOH(aq)  +  HCl(aq)  →  NaCl(aq)  +  H2O(l)
                NH3(aq)  +  HCl(aq)  →  NH4Cl(aq)             
                ทฤษฎีของอาร์รีเนียสใช้อธิบายปฏิกิริยาระหว่าง  NaOH  กับ  HCl  ได้โดยตรง

  ทฤษฎีของอาร์รีเนียสสามารถอธิบายปฏิกิริยาระหว่าง  NaOH  กับ  HCl  ได้โดยตรง  เพราะการละลายของ  NaOH ซึ่งเป็นเบส  มีการแตกตัวให้  OH- ตามที่กล่าวในทฤษฎี  ดังสมการ
                NaOH(s)  →  Na+(aq)  +  OH-(aq)
                ขณะเดียวกันการละลายของ  HCl  ก็มีการแตกตัวให้  H+  จริงดังที่กล่าวไว้ในทฤษีเช่นกัน  ดังสมการ
                HCl(g)  →  H+(aq)  +  Cl-(aq)
                เมื่อทำปฏิกิริยากันจะเป็นดังสมการ
                Na+(aq)  +  OH-(aq) +  H+(aq)  +  Cl-(aq)  →  H2O(l)  +  Na+(aq)  +  Cl-(aq)
                เขียนเฉพาะการรวมตัวระหว่าง  OH-  กับ  H+  จะเป็นดังสมการ
                OH-(aq) +  H+(aq)  →  H2O(l) 
                ***  สำหรับ  Na+  กับ  Cl-  จะไม่รวมตัวกันเป็น  NaCl  ในทันที  เพราะเป็นเกลือของโลหะอัลคาไลน์  ซึ่งมีสมบัติเป็นเกลือที่ละลายน้ำได้ดี  จนกว่าจะระเหยน้ำออกไปจนมีความเข้มข้นถึงจุดอิ่มตัว  จึงจะเริ่มรวมตัวกันแล้วตกผลึก (ลักษณะเดียวกับการทำนาเกลือ)  และถ้าระเหยน้ำออกไปจนหมด  Na+  กับ  Cl-  ทั้งหมดจึงจะรวมตัวกันเป็นผลึก  NaCl

                แต่ปฏิกิริยาระหว่าง  NH3  กับ  HCl  จะอธิบายด้วยทฤษฎีกรด-เบสของอาร์รีเนียสทั้งหมดไม่ได้  เพราะ  NH3  ซึ่งเป็นเบส  แต่ไม่ได้แตกตัวให้   OH-  โดยตรง  ฉะนั้น  NH3  จึงไม่ใช่เบสตามทฤษฎีของอาร์รีเนียส   ในขณะที่  HCl  เป็นกรดตามทฤษฎีของอาร์รีเนียสเช่นเดิม   ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นดังสมการ
                NH3(aq)  +  HCl(aq)  →   NH4Cl(aq) 
                ถ้าเขียนแสดงในรูปที่แตกตัวเป็นไอออนจะเป็นดังนี้
                NH3(aq)  + H+(aq  +  Cl-(aq)  →  NH4+(aq)  +  Cl-(aq)
                ถ้าแสดงเฉพาะไอออนที่รวมตัวกันจริงจะเป็นดังนี้
                NH3(aq)  +  H+(aq)  →  NH4+(aq)

              จากกรณีดังกล่าวนี้และกรณีอื่น ๆ ทำนองเดียวกันนี้อีกมากมาย  ทำให้ทฤษฎีกรด-เบส  ของอาร์รีเนียส  อธิบายความเป็นกรดหรือเบสของอนุภาคบางอย่างไม่ได้  จึงมีการเสนอทฤษฎีกรด-เบสขึ้นมาใหม่

 

  2.  ทฤษฎีกรด-เบส  ของบรอนสเต็ตและเลาว์รี  (The Bronsted-Lowry Theory of acids and bases) (พ.ศ.2466)

        ทฤษฎีนี้กล่าวว่า   
        กรด  คือสารที่ให้โปรตอน (H+)  แก่สารอื่น ( An acid is a proton (hydrogen ion) donor.)
        เบส  คือสารที่รับโปรตอน (H+)  จากสารอื่น ( A base is a proton (hydrogen ion) acceptor.)

       ความเป็นกรดตามทฤษฎีนี้เกี่ยวข้องกับการให้  H+  ทำนองเดียวกับทฤษฎีของอาร์รีเนียส  แต่ความเป็นเบสไม่ได้กล่าวถึง  OH-  แต่หมายถึงใครก็ได้ที่รับ  H+  ซึ่งพบว่า  OH-  ก็เป็นอนุภาคหนึ่งที่รับ  H+  ได้เช่นกัน  OH-   จึงเป็นเบสชนิดหนึ่งด้วยตามทฤษฎีนี้  ดังรูป

                                  

        บางครั้งจะพบว่า  โมเลกุลหรืออนุภาคของสารบางชนิดมีสมบัติเป็นได้ทั้งกรดและเบส  คือบางครั้งให้  H+  แต่บางครั้งรับ  H+  โมเลกุลของ  H2O  ก็เช่นกัน  เป็นได้ทั้งกรดและเบส  ดังรูป





(คลิ้ก  ชมวีดีทัศน์แสดงลักษณะของกรด-เบสของอาร์รีเนียสและบรอนสเตต-เลาว์รี )
(คลิ้ก  ชมวีดีทัศน์แสดงลักษณะของกรด-เบสของบรอนสเต็ต-เลาว์รีและลิวอิส  )

คู่กรด-เบส (Conjugate acid base pair)
           
กรด-เบส  ตามทฤษฎีกรด-เบสของบรอนสเต็ตและเลาร์รี  จะพบได้มากในปฏิกิริยาระหว่างกรด-เบสที่ผันกลับได้  เราจะพบว่าผลิตภัณฑ์จากกรดของปฏิกิริยาไปข้างหน้า  จะมีสมบัติเป็นเบสของปฏิกิริยาย้อนกลับ  ในขณะที่ผลิตภัณฑ์จากเบสของปฏิกิริยาไปข้างหน้า  จะมีสมบัติเป็นกรดของปฏิกิริยาย้อนกลับ  กำหนดให้กรดของปฏิกิริยาไปข้างหน้ากับเบสของปฏิกิริยาย้อนกลับเป็นคู่กัน  และเบสของปฏิกิริยาไปข้างหน้ากับกรดของปฏิกิริยาย้อนกลับเป็นคู่กัน  ดังรูป



  

(คลิ้ก  ชมวีดีทัศน์แสดงลักษณะของคู่กรด-เบส ) 

   ** กรด  กับคู่เบสของมันจะมีความแรงของกรด-เบสตรงข้ามกัน  ถ้ากรดมีความแรงมาก  คู่เบสจะมีความแรงของเบสน้อย  แต่ถ้ากรดมีความแรงของกรดน้อย  คู่เบสจะมีความแรงของเบสมาก

  **  เบส  กับคู่กรดของมันเป็นทำนองเดียวกัน  คือถ้าเบสมีความแรงมาก  คู่กรดจะมีความแรงของกรดน้อย  ถ้าเบสมีความแรงน้อยคู่กรดของมันจะมีความแรงของกรดมาก

            3.  ทฤษฎีกรด-เบสของลิวอิส (The Lewis Theory of acids and bases) ( พ. ศ.2481)

                                ลิวอิสกล่าวว่า  กรด  คือสารหรืออนุภาคที่รับคู่อิเล้กตรอนจากสารหรืออนุภาคอื่น (An acid is an electron pair acceptor.)
                                                   เบส  คือสารหรืออนุภาคที่ให้คู่อิเล็กตรอนแก่สารอื่น  (A base is an electron pair donor.)
                       
            ทฤษฎีกรด-เบสนี้ไม่กล่าวถึง H+  และ  OH-  แต่ให้ดูที่การให้หรือรับคู่อิเล็กตรอนเป็นสำคัญ  ซึ่งจะพบว่า  H+ เป็นอนุภาคที่รับคู่อิเล็กตรอนได้  ฉะนั้น  H+  จึงเป็นกรดตามทฤษฏีของลิวอิสด้วย  สำหรับ  OH-  ก็เช่นกัน  สามารถให้คู่อิเล็กตรอนแก่อนุภาคอื่นได้  ฉะนั้น  OH- จึงเป็นเบสตามทฤษฎีของลิวอิสเช่นกัน






การจำแนกประเภทของกรด-เบส 

        สามารถจำแนกกรด-เบสได้หลายแบบ  ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้เกณฑ์ใดในการจำแนก   เมื่อใช้เกณฑ์อย่างหนึ่งก็จะจำแนกได้รูปแบบหนึ่ง ดังนี้  

1.  จำแนกตามแหล่งกำเนิด

1.1  กรดอินทรีย์  คือกรดที่มีหมู่  carboxyl  อยู่ในโมเลกุล  (-COOH)  กรดอินทรีย์เป็นกรดอ่อนทุกชนิด

1.2  กรดอนินทรีย์  คือกรดที่ไม่มีหมู่  carboxyl  อยู่ในโมเลกุล      จำแนกออกเป็น  2  ประเภทคือ 

              1.2.1 กรดธาตุคู่ (binary acid)  หรือกรดไฮโดร (Hydro acid) คือกรดที่ประกอบด้วยธาตุเพียง 2 ธาตุในโมเลกุล  คือไฮโดรเจน (H)  และอโลหะอีกธาตุหนึ่ง (ยกเว้น O)  ได้แก่  HF  HCl  HBr  HI  H2S  

               1.2.2 กรดออกซี่ (oxyacid) คือกรดที่ประกอบด้วยธาตุจำนวน 3 ธาตุ  คือ H + อโลหะ + O  เช่น  HNO3  H2SO4  H2CO3 

การเรียกชื่อ 

กรดธาตุคู่ให้เริ่มด้วยคำว่า  ไฮโดร (Hydro ) แล้วลงท้ายด้วยชื่อของอโลหะที่เปลี่ยนเสียงคำท้ายเป็น  อิก  เช่น

 

กรด

ชื่อ

HF

Hydro fluoric

HCl

Hydro Chloric

HBr

Hydro Bromic

HI

Hydro Iodic

H2S

Hydro sulfuric

HCN

Hydro cyanic

 

           กรดออกซี่ (Oxyacid)  ให้เรียกชื่อโดยใช้ชื่อของอโลหะที่อยู่ระหว่าง H กับ O ซึ่งเปลี่ยนเสียงคำท้ายเป็น  อิก เช่น  H2CO3 เรียกว่ากรดคาร์บอนิก  แต่ถ้าอโลหะชนิดเดียวกันแต่อยู่ในโลเลกุลของกรดต่างชนิด  เฃ่น  HNO2  HNO3  การเรียกชื่อให้ดูที่จำนวนอะตอมของ  O  ให้ใช้เสียง “อัส”  กับชนิดที่มี  O  น้อย  ใช้เสียง “อิก”  กับชนิดที่มี  O  มาก 
                NHO2  เรียกว่า  กรดไนตรัส
                HNO3  เรียกว่า  กรดไนตริก

 

กรด

ชื่อ

HNO2

nitrus acid

HNO3

nitric acid

H2SO3

sulfurus acid

H2SO4

sulfuric acid

H3PO3

phosphorus acid

H3PO4

phosphoric acid

H2CO3

carbonic acid

HClO

hypochlorous acid

HClO2

chlorous acid

HClO3

chloric acid

HClO4

perchloric acid

 

***  กรดกัดทอง (aqua  regea)  เป็นส่วนผสมระหว่างกรด HCl  และกรด HNO3  ในอัตราส่วน  3:1

 

     2.  จำแนกกรดโดยดูจากจำนวนครั้งในการแตกตัวให้ H+  จำแนกออกเป็น  2  ประเภท  คือ

                2.1 กรดโมโนโปรติก (monoprotic) คือกรดที่แตกตัวให้  H+ เพียง 1 ครั้ง เช่น  HCl  HBr  HI  HNO3

                2.2 กรดโพลิโปรติก  (poly protic) คือกรดที่แตกตัวให้  H+ มากกว่า 1 ครั้ง  เช่น  H2SO4  H3CO3  H2S…

       3.  จำแนกกรดโดยดูจากความแรงของกรด หรือความสามารถในการแตกตัวของกรด จำแนกออกเป็น  2  ประเภทคือ

              3.1  กรดแก่  (strong acid)  คือกรดที่เมื่อเกิดการละลายแล้วจะแตกตัวเป็นไอออนได้ 100 %  มี  7  ชนิด  และมีลำดับความแรงดังนี้   HClO4>HI>HBr>HCl>H2SO4>HNO3>HClO3

               3.2  กรดอ่อน (weak acid) คือกรดที่มีความแรงของกรดน้อย  เมื่อเกิดการละลายจะมีการแตกตัวเพียงเล็กน้อย  และเกิดภาวะสมดุล  กรดอ่อนมีอยู่เป็นจำนวนมาก  ได้แก่  กรดอินทรีย์ทุกชนิด  รวมทั้งกรดอนินทรีย์ที่ไม่ใช่กรดแก่  เช่น H2CO3  H2SO3

***สำหรับกรด H2SO4  นั้นเป็นกรดแก่เมื่อแตกตัวครั้งที่ 1 คือแตกตัว 100 % ดังนี้

                                H2SO4  →  H+ + HSO4-

      แต่เมื่อแตกตัวครั้งที่ 2  จะมีสมบัติเป็นกรดอ่อน   ดังนี้

                                HSO4-     ↔        H+  +  SO42-   ;  Ka = 1.20 x 10-2

 

                สำหรับกรณีของเบสไม่มีการจำแนกว่าเป็นอินทรีย์หรืออนินทรีย์  แต่มีการจำแนกออกเป็นเบสอ่อนและเบสแก่ทำนองเดียวกับการจำแนกกรด   เบสแก่  เมื่อเกิดการละลายจะแตกตัว  100 %  เบสแก่มี  8  ชนิดและมีลำดับความแรงดังนี้

                KOH > Ba(OH)2 > CsOH > NaOH > Sr(OH)2 > Ca(OH)2 > LiOH > RbOH

เบสอ่อน  คือเบสที่มีความแรงน้อย  เมื่อละลายจะแตกตัวเพียงเล็กน้อยแล้วเกิดภาวะสมดุลทำนองเดียวกับกรดอ่อน  เช่น  NH3   หรือ NH4OH 

 

ไอออนสำคัญในสารละลายกรดหรือเบส

การที่กรดชนิดต่าง ๆ  มีสมบัติโดยรวมเป็นทำนองเดียวกัน เป็นเพราะในสารละลายของกรดแต่ละชนิด  มีอนุภาคชนิดเดียวกันละลายอยู่คือ H+  หรือ  H3O+  เช่น

        HCl  →  H+ + Cl-

หรือ HCl + H2O  →  H3O+ + Cl-

        H2SO4  → H+ + HSO4-

หรือ H2SO4 + H2O →  H3O+ + HSO4-

        HNO3  →  H+ + NO3-

หรือ HNO3 + H2O  →  H3O+ + NO3-

        CH3COOH  →  H+ + CH3COO-

หรือ CH3COOH + H2O  →  H3O+ + CH3COO-

        สำหรับกรณีของเบส  ต่างก็จะมี OH- ละลายอยู่เช่นกันดังตัวอย่าง

        NaOH  →  Na+  +  OH-

        KOH  →  K+  +  OH-

        Ca(OH)2  →  Ca2+  +  2OH-

        NH4OH  →  NH4+  OH- 

 

แบบฝึกหัด

1. Summarize the three main acid-base theories in the table below. (จงเติมสมบัติของกรด-เบสอย่างย่อ ๆ ของแต่ละ
    ทฤษฎีลงในตาราง)

 

ACID

BASE

Arrhenius

H+ or H3O+ producer in aqueous solution

OH producer in aqueous solution

Brønsted-Lowry

proton (H+) donor

proton (H+) acceptor

Lewis

electron-pair acceptor

electron-pair donor

 

Use the following chemical equations to answer question 2. (ใช้สมการเคมีนี้ตอบคำถามข้อ 2 )

HCl + H2O → H3O+ + Cl                                 NH3 + H2O ↔ NH4+ + OH

2.  According to Arrhenius, HCl would be classified as a(n)       acid                      and NH3 would be classified as
    a(n)      base             .  Explain why. (ตามทฤษฎีของอาร์รีเนียสแล้ว HCl  NH3  เป็นกรดหรือเบส  จงอธิบาย)

HCl produces hydronium ions (H3O+) in water.  NH­3­ produces hydroxide ions (OH) in water.

 

 

 

 

For problems 3 – 5, label the acid (A), base (B), conjugate acid (CA), and conjugate base (CB) in each of the following reactions.  Show the transfer of the proton (H+) by drawing an arrow. (จากคำถามข้อ  3-5  ให้สังเกตทิศทางของลูกศรซึ่งเป็นทิศทางของการถ่ายเทโปรตอน  จงแสดงความเป็นคู่กรด-เบส  ระหว่างกรด (A)  และเบส (B)  ว่าเป็นคู่กับ  CA  และ  CB อย่างไร

 

For problems 6 – 9, give the conjugate base for each Brønsted-Lowry acid.

(สำหรับคำถามข้อ  6-9  จงแสดงคู่เบสของกรดแต่ละชนิดตามทฤษฎีของ  Brønsted-Lowry )


6. HI                                       

8.  NH4+                                               

7. H2CO3                            

9.  HNO3                              

 


For problems 10 – 13, give the conjugate acid for each Brønsted-Lowry base.

(สำหรับคำถามข้อ  10-13  จงแสดงคู่กรดของเบสแต่ละชนิดตามทฤษฎีของ  Brønsted-Lowry )


10. CN                                                       

11.  O2–                                                          

12.  CH3COO                               

13.  NH3                                                      

 

Use the following diagram to answer question 14.  (จงใช้แผนภาพต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 14)


 

14.  The Lewis acid in the above equation is(สารที่เป็นกรดตามทฤษฎีของลิงอิสคือ)                                                
       The Lewis base is(สารที่เป็นเบสตามทฤษฎีของลิวอิสคือ)                                                                                         .  Explain why.
      (จงอธิบายด้วยว่าเป็นเพราะเหตุใด)

 

 

15. Classify these as an Arrhenius acid or Arrhenius base.
   (จงจำแนกว่าสารที่กำหนดให้ต่อไปนี้เป็นกรดหรือเบสตามทฤษฎีของอาร์รีเนียส)

  1. Ca(OH)2 _______________________

 

  1. HNO3 _______________________

 

  1. HC2H3O2 _____________________

 

  1. H2SO4 _______________________

 

  1. KOH _______________________

 

  1. HCl _____________________

16. Complete the equations for the Ionization of these Arrhenius acids or bases in water:
      (จงทำสมการแสดงการละลายน้ำของกรดหรือเบสของอาร์รีเนียสให้สมบูรณ์๗

                                ex:           HBr + H2O → H3O+ + Br-

                                ex:           KOH → K+ + OH-

  1. HNO3 + H2O →

 

 

  1. NaOH →

 

 

  1. HCl + H2O ↔

 

 

  1. Ca(OH)2

 

 

17.Identify the Bronsted-Lowry acid (loses an H+ ion), base (gains an H+ ion), conjugate acid, and the
     conjugate base in each of the following.  (จงระบุอนุภาคที่เป็นคู่กรด-เบสของกันและกัน  ตามทฤษฎีของบรอนส
     เต็ตและเลาว์รี  ในแต่ละปฏิกิริยาต่อไปนี้)

                a. HNO3 + H2O ↔  H3O+ + NO3-

 

                b. NH3 + H2O ↔ NH4+ + OH-

 

                c. H2SO4 + OH-↔ HSO4- + H2O

 

                d. C2H3O2 + H2O ↔ OH- + HC2H3O2

 

                e. H2PO4- OH-↔ HPO4-2 + H2O

 

                f. H2PO4- + H3O+ ↔ H3PO4 + H2O

                g. HCO3 + H2O ↔ H3O+  + CO32-

 

                h. HCO3 + H2O ↔ H2CO3 + OH-

 

18  .What is the conjugate acid of the following: (particle made by adding an H+ ion) 
      (คู่กรดของสารที่กำหนดในแต่ละข้อคือสารใด)

                a. C2H3O2-_________

 

                b. CO32-  _________

 

                c. Cl-  _________

 

                d. HCO3- _________

 

                 e.  H2PO4- _________

 

19. What is the conjugate base of the following: (particle made by removing an H+ ion)
      (คู่เบสของสารที่กำหนดในแต่ละข้อคือสารใด)

                a. NH4+ _________

 

                b. H2CO3 _________

 

                c. H2O _________

 

                d. HCO3- _________

 

                 e.  H2PO4- _________

 

20.Using your knowledge of the Brønsted-Lowry theory of acids and bases, write equations for the following
     acid-base reactions and indicate each conjugate acid-base pair:
     (จงเขียนสมการแสดงปฏิกิริยาระหว่างกรด-เบสต่อไปนี้ให้สมบูรณ์  ตามทฤษฎีของบรอนสเต็ตและเลาว์รี  และระบุด้วย
     ว่าอนุภาคใดเป็นคู่กรด-เบสซึ่งกันและกัน)

        a. HNO3 + OH-

 

         b. CH3NH2 + H2O ↔

 

         c. OH- + HPO42-

 

21.  In the following reactions, identify the Lewis acid and the Lewis base.
        (จากปฏิกิริยาต่อไปนี้จงระบุว่าอนุภาคใดเป็นกรดและเบส  ตามทฤษฎีของลิวอิส)

                a. Ag+ + 2NH3  ↔  Ag(NH3)2+

 

                b. B(OH)3 + H2O ↔ B(OH)4 + H+

 

22.  How do Lewis acids and bases compare to the Arrhenius and Bronsted-Lowry definitions of an acid and a
        base?  (นิยามของกรด เบส ตามทฤษฎีของลิวอิส  เมื่อเปรียบเทียบกับของอาร์รีเนียสและของบรอนสเต็ต-เลาว์รีแล้ว
        เป็นอย่างไร)

 

 

23.  The compound NaOH is a base by all three of the theories we discussed in class.  However, each of the
        three theories describes what a base is in different terms.  Use your knowledge of these three theories to
        describe NaOH as an Arrhenius base, a Brønsted-Lowry base, and a Lewis base.
        (  NaOH  มีสมบัติเป็นเบสตามทฤษฎีกรด เบส  ทั้ง  3  ทฤษฎี  ทั้งที่แต่ละทฤษฎีมีนิยามของคำว่าเบสต่างกัน  จง
         อธิบายว่า  NaOH  เป็นเบสตามแต่ละทฤษฎีด้วยเหตุผลใด)

 

 

 

24.  Write the names for the following acids and bases:

                a)            KOH _______________________________________

                b)            HSe _______________________________________

                c)            HC2H3O2 (vinegar)_______________________________

                d)            Fe(OH)2 ____________________________________

                e)            HCN ____________________________________

                 f)             HCO3 _____________________________________

                g)            LiOH ______________________________________

                h)            RbOH ___________________________________

                i)              HClO3 ______________________________________

25.  Write the formulas for the following chemical compounds.

                a)            calcium hydroxide __________________________________

                b)            hydrofluoric acid ___________________________________

                c)            hydroiodic acid ____________________________________

                d)            phosphoric acid ___________________________________

                e)            barium hydroxide __________________________________

                 f)             sodium hydroxide __________________________________

                g)            sodium hypochlorite (bleach) _________________________

                h)            perchloric acid ____________________________________







 



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 9.50 KBs
Upload : 2013-07-28 07:18:14
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


K-Me
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 1.130743 sec.